ประชุมคณะทำงานหน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรังประจำเดือนเมษายน 2567

  • photo  , 1000x563 pixel , 154,015 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 120,473 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 141,807 bytes.
  • photo  , 720x540 pixel , 63,224 bytes.
  • photo  , 720x540 pixel , 74,645 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 111,432 bytes.

ประชุมคณะทำงานหน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรังประจำเดือนเมษายน 2567

วันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ณ บ้านควนฟอเรสตา ร้านเล็ก ๆ ในป่าลึกลับ  ครั้งนี้เปลี่ยนบรรยากาศพื้นที่พูดคุยจากห้องประชุมมาเป็นบรรยากาศแบบบ้านสวนในร่มไม้

ผู้เข้าร่วมประชุมทยอยกันมาถึงที่ประชุม ทั้งทีมหน่วยจัดการ ผู้จัดการ Node Flagship ผู้ประสานงาน พี่เลี้ยงและทีมวิชาการของ Node Flagship ทั้งประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง  พี่ ๆ จากหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ และแกนนำคณะทำงานที่ดำเนินการโครงการกับ node flagship ในปีที่ผ่านมา ทั้งจาก น้าสมบูรณ์ ต.บางด้วน และ น้องบอล จาก ทต.คลองปาง ในโมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ท่านพระครูเมธากร และท่านมหารัตนากร จากโมเดลวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และ พี่ดวงใจ จาก ต.ปะเหลียน พี่สุพรรณพิษจากต.โคกสะบ้า ในโมเดลข้าวตรังมั่นคง  ทยอยกันมาถึงที่ประชุม รวม ถึง ดร.ศิริพร และน้องแมว ทีมประเมินภายนอกของทาง สสส.สำนัก 6

หลังจากพี่ๆและตัวแทนภาคียุทธศาสตร์ ทยอยกันมาพร้อม กระบวนการประชุมก็ได้เริ่มขึ้น วาระหารือสำคัญครั้งนี้คือ การปรึกษาเพื่อปรับตัวโมเดลการทำงานในประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้งโมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย โมเดลวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง โมเดลข้าวตรังมั่นคง เพื่อเป็นตัวแบบการพัฒนาที่สำคัญที่จะใช้ในการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดในงานเฟสนี้ และร่วมสร้างปฏิบัติการในระดับชุมชนท้องถิ่นให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัด

ก่อนแยกวงกลุ่มย่อยในแต่ละประเด็นเพื่อพูดคุย ทาง ดร.ศิริพร เพ็งจันทร์ หรือ อ.ปู ตัวแทนทีมประเมินก็มีมุมมองข้อสังเกตจากการอ่านตัว proposal โครงการของตรังที่ผ่านมา รวมถึงการได้พูดคุยกับทาง สสส.สำนัก 6 มาร่วมแลกเปลี่ยน โดยประเด็นความชัดเจนความเชื่อมโยงระหว่างตัวโมเดลทั้ง 3 โมเดล กับตัวชี้วัดระดับจังหวัดที่อยากให้ทีมตรังมองให้ชัดเพราะจะเป็นตัวสำคัญในการชวนภาคียุทธศาสตร์มาเป็นหุ้นส่วนการทำงานร่วมกันคือประเด็นข้อห่วงใยสำคัญ

หลังจากนั้นแยกเป็นกลุ่มย่อยกันตามโมเดลทั้ง 3 โมเดล  ใช้ระยะเวลากันประมาณเกือบ 2 ชั่วโมงในกลุ่มย่อยในการหารือร่วมกัน ทั้งชวนกันดูต้นไม้ปัญหาของประเด็น และบันไดผลลัพธ์โมเดล ก่อนที่จะมานำเสนอเพื่อเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มใหญ่


สำหรับโมเดลวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย มีการวางรูปแบบการทำงานในครั้งนี้ว่ากลไกคณะทำงานวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยระดับอำเภอ จะช่วยกันเลือกตำบลคณะสงฆ์มาทำงาน 1 อำเภอ 1 ตำบลคณะสงฆ์ และใน 1 คณะสงฆ์ก็เลือกคณะสงฆ์ละ 3 วัด สำหรับบันไดผลลัพธ์ยังคง 5 ผลลัพธ์สำคัญ คือ การมีกลไกคณะทำงานเข้มแข็ง มีระบบสนับสนุนวัดรองรับสังคมสูงวัยทั้งระดับอำเภอ/ตำบล การมีสภาพแวดล้อมวัดรองรับสังคมสูงวัย การมีสุขภาวะพระสงฆ์ และผู้สูงวัยดีขึ้น และการมีนโยบายแผนงานโครงการรองรับวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ในขณะที่โมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ที่ประชุมเห็นร่วมกันในการทำงานครั้งนี้ให้มีจุดเน้นก่อนเป็นผู้สูงอายุ ที่ประกอบด้วยวัยทำงาน และวัยเด็กเยาวชน รวมร้อยละ 60  วัยผู้สูงอายุ ร้อยละ 40 กลุ่มเป้าหมาย 120-200 คน ตามขนาดของตำบล โดยมีการทำงานให้ครอบคลุม 4 มิติ ที่สอดคล้องกับต้นไม้ปัญหาของพื้นที่ มีบันไดผลลัพธ์สำคัญ ได้แก่ การมีคณะทำงานสามภาคีเข้มแข็ง การมีระบบสนับสนุนรองรับสังคมสูงวัย การปรับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย การมีแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในตำบล และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สำหรับตัวชี้วัดสำคัญต้องไปดูตัวชี้วัดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับตัวชี้วัดระดับจังหวัดมากขึ้น ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนซักถาม ทีมโมเดลวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และทีมโมเดลข้าวตรังมั่นคง

นัดหมายการหารือต่อในการนัดพื้นที่เป้าหมายที่สนใจมาพัฒนาโครงการ สำหรับโมเดลสามภาคีสานพลังขอนัดหารือภาคียุทธศาสตร์อีกครั้งก่อนประชาสัมพันธ์และนัดหมายตำบลที่สนใจเข้าร่วมกันพัฒนาโครงการต่อไป

ยังคงก้าวกันต่อ  ตรังเมืองแห่งความสุขคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

#ตรังเมืองแห่งความสุขคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

#สำนักสร้างสรรค์โอกาส

#สสส

#NodeFlagshipTrang

เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics