ประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่เป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO) ด้านอาหารครั้งที่ 1/2567

  • photo  , 1000x750 pixel , 133,754 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 119,329 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,506 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,361 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 101,373 bytes.

วันที่ 1 พฤษภาคม 2567

นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา มอบหมาย นางสาวปาริชาด สอนสุภาพกรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลา ฝ่าย Creative Tourism และการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่เป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO) ด้านอาหารครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โดยมี นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม เพื่อรับทราบการยกเลิกคำสั่งและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่เป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO) ด้านอาหาร  พร้อมทั้งรับทราบผลการดำเนินงาน และแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่เป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านอาหาร ของหน่วยงานต่าง ๆ

ทั้งนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านอาหารระยะ 4 ปี (พ.ศ.2569 - 2572) ตามที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมทบทวนกิจกรรม/โครงการเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567- 2569 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันวิเคราะห์หลักเกณฑ์ของยูเนสโกด้านอาหาร เพื่อประกอบการจัดทำโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ หลักเกณฑ์ UNESCO ด้านอาหาร (Gastronomy)

1)ศาสตร์การทำอาหารได้รับการพัฒนาอย่างดีและแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะในพื้นที่เมืองและ/หรือภูมิภาค

2)ความมีชีวิตชีวาของชุมชนผ่านการประกอบอาหาร เต็มไปด้วยร้านอาหารและ/หรือผู้ปรุงอาหารแบบดั้งเดิม

3)ส่วนผสมที่ใช้ในการปรุงอาหารยังเป็นแบบดั้งเดิม

4)ความรู้ในท้องถิ่น กระบวนการทำอาหารแบบดั้งเดิม และวิธีการปรุงอาหาร รอดพ้น จากความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม/เทคโนโลยี

5)ยังคงมีตลาดอาหารแบบดั้งเดิมและอุตสาหกรรมอาหารแบบดั้งเดิม

6)เป็นเจ้าภาพจัดงาน การให้รางวัล และการประกวดเทศกาลอาหารดั้งเดิม และกระบวนการสร้างการรับรู้อย่างมีเป้าหมายที่ตระหนักรู้ในวงกว้างอื่น ๆ

7)เคารพต่อสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มีกระบวนการปลูกฝังความชื่นชม/ตระหนักถึงคุณค่าต่อสาธารณชน ส่งเสริมโภชนาการในสถาบันการศึกษา การรวบรวมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสอนทำอาหาร

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ หอการค้า จังหวัดสงขลา

Relate topics