"ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 ครั้งที่ 1/2567"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,200 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 190,464 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,176 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 156,585 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 141,443 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 120,812 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 119,034 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,746 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 109,008 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,532 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,545 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 149,655 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 157,670 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 143,954 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 178,420 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 78,537 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 85,788 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 69,180 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 70,911 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 81,391 bytes.
  • photo  , 1280x720 pixel , 80,735 bytes.

"ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 ครั้งที่ 1/2567"

วันที่  24 เมษายน 2567 คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 จัดประชุมเพื่อรับทราบความก้าวหน้าและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะต่อแผนงานปี 2567

โดยมีนพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ เป็นประธานการประชุม มีกขป. 27 คน เลขานุการ 3 คน เครือข่ายและadmin 13 คน รวม 42 คน

ณ ห้องประชุมนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (ห้อง 1201) สปสช.เขต 12 อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

มีข้อสรุปสาระสำคัญดังนี้

1.กขป.กับภาระงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีความร่วมมือกับการถ่ายโอนรพ.สต.จังหวัดสงขลา และการจัดกิจกรรม “เมือง(ไม่)รู้ร้อนรู้หนาวภาคใต้”

2.รายงานผลการประเมินการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนในภาพรวมทั้ง 13 เขตหลังทำงานครบ 2 ปีโดยทีมประเมินจากส่วนกลาง

3.วาระเพื่อพิจารณา มี 2 เรื่องสำคัญ คือ

1)การสรุปบทเรียนการดำเนินงานโควิด-19 โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา

2)แผนการดำเนินงาน ปี 2567และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กขป.เขต 12 ต่อการขับเคลื่อนงาน 4 ประเด็นที่ทีมอนุกรรมการได้ดำเนินการ


1.ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง มีจุดเน้นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผู้เสพย์อายุน้อยลงเรื่อยๆ และความร่วมมือในพื้นที่ โครงการปี 67 โดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ ต้องการให้ลงไปประเมินพื้นที่ต้นแบบที่อำเภอตากใบ นอกจากนั้นยังมีโครงการของศูนย์อาสาสมัครม.อ. แผนงานร่วมทุนอบจ.ปัตตานี/สงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข ศูนย์สร้างสรรค์สื่อ เฉพาะกองทุนสุขภาพตำบลมีโครงการทั้งสิ้น 285 โครงการ เน้นรณรงค์ ให้ความรู้ป้องกันปัญหายาเสพติด บุหรี่

2.ประเด็นแม่และเด็ก จุดเน้นแก้ปัญหาพัฒนาการไม่สมวัย สุขภาพจิต ตั้งครรภ์ไม่พร้อม อัตราการเสียชีวิตปี 65 พื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้อยู่ที่ 36 คนต่อประชากร 1 แสนคน ปี 66 จำนวนลดลงเหลือ 23 คน(ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21 คน) โครงการสำคัญ

-สปสช.เขต 12 ปี 67 จะมีการปรับแนวทางสนับสนุนงบประมาณ จัดทำเป็น sandbox เฉพาะพื้นที่ 3 จว.ดำเนินการผ่าน MCH Board ลดอุปสรรคการเข้าถึงบริการ โดยปรับงบบริการต่อหัวและงบ PPA ระดับจังหวัดและCUPให้ผู้ปวยลงทะเบียนใช้บริการที่หน่วยบริการใดจะได้รับการบริการต่อเนื่องจนสิ่้นสุดครบวงจร รวมถึงพัฒนาอสม.ที่เป็นหมอคนที่ 1 ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ และสนับสนุนกิจกรรมผ่านกองทุนสุขภาพระดับตำบล กรรมการจะยกทีมลงเยี่ยมเสริมพลังให้กำลังใจ MCH Board พัฒนาระบบบริการ 1 จว. 1 ห้องคลอดที่มีระบบ Telemedicine จากรพ.จังหวัดไปยังรพ.ชุมชน พร้อมปรับระบบส่งต่อ, ศอบต.ร่วมกับยูนิเซฟดำเนินการ 5 ตำบลนำร่อง ให้เด็กสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการสมวัย วัคซีน ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ส่งต่อให้พมจ./สสจ.และอปท.ออกข้อบัญญัติดูแลระยะยาว

-อบจ.ปัตตานี เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาสุขภาพของพื้นที่ สนับสนุน 35 โครงการ โดยมีบางแห่งเป็นพื้นที่ sandbox ตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน-2500 วัน plus มีการ MOUกับผู้นำศาสนา สร้างช่องทางสื่อสาร ระบบส่งต่อ การขึ้นทะเบียนข้อมูลกลุ่มเด็ก ทำงานร่วมกับพชต.และพชอ.

-สนส.ม.อ. แก้ปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมร่วมกับสสส. กสศ. อบจ.และพชอ.ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จำนวน 33 แห่ง และ13องค์กรที่มีการลงนาม MOU ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมตาม 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา บริการสุขภาพ สวัสดิการ ชุมชน วิชาการ/ความรู้/นวตกรรม

-กองทุนสุขภาพตำบล 787โครงการ เน้นสุขภาพชองปาก การฝากครรภ์คุณภาพ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

3.สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม เน้นความร่วมมือในการทำงานของกองทุนฟื้นฟูมรรถภาพ 7 จังหวัด การดูแลสุขภาวะกลุ่มสตรี ครัวเรือน และที่อยู่ที่อาศัย

-พชอ.ลดผลกระทบจากโควิด รวมถึงการดูแลกลุ่มเปราะบางต่างๆผ่านกลไก พชต. และuc-care ผลักดันวาระร่วมระดับอำเภอ ดูแลกลุ่มเปราะบางโดยใช้ข้อมูล TPmap รวมถึงกองทุน LTC และกองทุนสุขภาพตำบล โดยมหาดไทยดูแลด้านรายได้/อาชีพ สธ.ดูแลในด้านสุขภาพ/การปรับสภาพบ้าน

มีตัวอย่างดีๆ เช่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จัดตั้งชมรมคนมือบน ระดมทุน ดูแลผู้ป่วยจิตเวช NCD ผู้ป่วย IMC ร่วมสร้างบ้านได้ 100%

งานระดับเขต เน้นการดูแลกลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่ ให้สามารถลงทะเบียนทำบัตรประชาชน ให้เข้าถึงสิทธิพื้นฐาน มีสสจ.สตูลรับผิดชอบ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การแพทย์และสาธารณสุข ที่รพ.สตูล ร่วมกับรพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ ดูแลความปลอดภัยทางทะเล

-พมจ.สงขลา จัดทำโครงการหุ้นส่วนทางสังคม ร่วมกับปลัดกระทรวงและสสส. สร้างวาระร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย มีการปรับสภาพบ้าน สวัสดิการ และเน้นการสร้างสุขภาวะให้กับทุกคนในครอบครัว มีกลไกศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมระดับตำบล สำรวจและเก็บข้อมูลผ่านสมุดพกประจำครอบครัว

-Node โควิด สสส.ภาคใต้ node โควิด6 จว.ใต้ล่าง ร่วมกับสสส. พอช. สนับสนุนโครงการลดผลกระทบจากโควิดในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ จำนวน 30 โครงการ

-สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา/ตรัง จัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดและอปท.นำร่อง ในส่วนจังหวัดสงขลาดำเนินการ 5 แห่ง และจัดทำแผนระดับชุมชนโดยใช้ระบบกลุ่ม iMed@home คัดกรองสุขภาวะ 4 มิติให้กับกลุ่มเป้าหมาย มีต้นแบบที่รพ.สต.ควนโส ชุมชนแหลมสนอ่อน

สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา ร่วมกับม.ราชภัฎ พชอ.เมือง มูลนิธิซะกาต นำข้อมูล TPmap ลงไปแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย

-กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อบริการคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน อยู่ในช่วงการแก้ไขทางเทคนิคและพร้อมขยายผลร่วมกับกองทุนฯในเขต 12 กองทุนฯเน้นการบริการทันตกรรม การทำงานกับศพด. 4D ปัจจุบันได้จัดทำศูนย์ซ่อมสร้างสุขเป็นแห่งที่ 4 มีการพัฒนาโปรแกรมบ้านสร้างสุขแบบ online ดูแลการปรับสภาพบ้านให้สอดคล้องกับความพิการ ปีนี้จะดำเนินการปรับสภาพบ้าน 148 หลัง พร้อมกับบ้านยืมคืน(น็อคดาวน์) นอกจากนั้นยังดำเนินการธนาคารยืมคืนกายอุปกรณ์ 17 แห่ง (เตียง รถเข็น ที่นอนลม) มีการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชนฟื้นฟูสมรรถภาพเชิงรุกให้กับพื้นที่ ดำเนินการไปแล้ว 16 แห่ง มีการดำเนินการธนาคารพันเตียง พัฒนาที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตและผ้าอ้อมซักได้อยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน และร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนา center ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาระบบขนส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ การพัฒนามาตรฐานผู้ดูแลผู้ป่วย และร่วมกับรพ.สต.ถ่ายโอนในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ

-มัสยิดบ้านเหนือ ดูแลเด็กที่มีบัตรประชาชนหมายเลขศูนย์นำหน้าอยู่ 200 คนจากจำนวนเด็กที่มัสยิดและโรงเรียนดูแลอยู่ 800 คน ทั้งในเรื่องที่พัก อาหาร การศึกษา เสื้อผ้า หนังสือเรียน

-กองทุนสุขภาพตำบล มี 787 โครงการ เน้นการเข้าถึงผ้าอ้อมสำเร็จรูป การตัดแว่นตา การดูแลผู้สูงอายุ

4.เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เน้นการใช้เกษตรนิเวศพัฒนาคุณภาพชีวิตและรับมือภาวะโลกเดือดและการเคลื่อนสวนสมรมไปสู่มรดกเกษตรโลก

-เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ทำแผนปี 67

1)การคุ้มครองสิทธิเกษตรกร การส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ได้แก่ ทุเรียนพื้นบ้าน กองส่งเสริมกาารเกษตรอบจ.สงขลาสนับสนุนงบประมาณ 7 แสนบาทดำเนินการในการประกวด การพัฒนาหลักสูตรอบรมเกษตรและเพิ่มมูลค่า

2)จดทะเบียนพันธุ์พืช 3 จว.(สงขลา สตูล พัทลุง+ยะลา) โดยเฉพาะทุเรียนพื้นบ้าน

3)ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร เชิดชูสวนสมรมเข้าสู่มรดกโลก

4)การส่งเสริมตลาดสีเขียว ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการ 2 แห่งในสงขลา คือ ตลาดคอหงส์และบ้านพรุ

5)จัดสมัชชาสวนยางยั่งยืนระดับจังหวัด ในสงขลาและยะลา

-สถาบันทักษิณคดีศึกษา จัดงานข้าวภาคใต้

-สนง.ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา

1)ส่งเสริมสวนยางยั่งยืน แก้ปัญหาการเผาในสวนยางที่มี 1 แสนกว่าไร่ ปีนี้จะสร้างตัวแบบที่ตำบลปริก สงขลาในการสร้างรายได้ในสวนยาง

2)ตลาดเขียว ทางเกษตรจังหวัดทุกแห่งเปิดตลาดให้กับเกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่าย และร่วมกับกองส่งเสริมการเกษตรอบจ.สงขลาเปิดตลาดสีเขียว 16 อำเภอ พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและพัฒนามาตรฐาน

3)เกษตรอัตลักษณ์ ทุกจังหวัดจะมีพืชอัตลักษณ์ของตน อาทิ สงขลามีขนุนไร้เมล็ด กาแฟ ทุเรียน ที่กำลังจะผลักดันเข้าสู่การทำ GI ปัตตานีมีเกลือหวาน กำลังผลักดันเข้าสู่มรดกเกษตรโลก

4)การรับรองมาตรฐาน GAP

-Node flagship สสส.ยะลา ร่วมกับเกษตรกร สภาเกษตรกร ศอบต.และสมัชชาสุขภาพจังหวัด สนับสนุนโครงการให้กับเกษตรกร 21 โครงการ ขยายผลต้นแบบ 2 โมเดล(ผลิตโดยสภาเกษตรกรและวิสาหกิจ)เน้นการผลิตผักปลอดภัย เพิ่มพื้นที่ปลูก และมาตรฐาน GAP สร้างรายได้ด้วยการส่งเข้าตลาด 5 ร. พร้อมกับผลักดันเข้าภาคียุทธศาสตร์คือ จังหวัดและพัฒนาชุมชน ศอบต.ในการสร้างตลาดชุมชน

-Node เล็ก สสส.ปัตตานี ส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในโรงเรียน สร้างครัวโรงเรือนไปสู่ครัวบ้าน สร้างนักวิจัยผักผลิตเมนูอาหารกลางวันให้เกิดการบริโภคผักในชุมชน การผลิตเครื่องแกง การแปรรูปอาหารทะเล และผลักดันในระดับยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด

-กองทุนสุขภาพตำบล 115 โครงการ เน้นโครงการอาหารปลอดภัย

โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้

1.การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในเชิงการเคลื่อนไหวและสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กขป.และม.ทักษิณร่วมกันแถลงข่าวเปิดประเด็นต่อสาธารณะ

2.การเสนอเชิงนโยบาย ผลักดันไปยังระดับจังหวัดทั้งในส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยเข้าพบผู้บริหารหรือนำเสนอในโอกาสการประชุมประจำเดือน

3.พัฒนาระบบสนับสนุนการขับเคลื่อน ได้แก่ ฐานข้อมูลกลางนำเสนอข้อมูลแผนงานโครงการของแต่ละหน่วยงาน www.AHsouth.com (ประสานคลังจังหวัดและเครือข่าย) การสร้างชุดความรู้กลาง-ปัญหา-ศักยภาพ-ช่องว่างสำคัญ-กลไก/กิจกรรม/กระบวนการพัฒนาโครงการต้นแบบเสนอแนะให้กับกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสุขภาพตำบล การพัฒนาคน

4.กลุ่มเป้าหมายร่วม ได้แก่ แม่และเด็ก สตรี

5.การขับเคลื่อนร่วม ได้แก่ การแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าของเด็ก บุหรี่ไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย

6.อนุกรรมการทั้ง 4 ประเด็น สรุปประมวลข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประกอบรายละเอียดที่จำเป็น ให้ข้อเสนอระยะสั้น ระยะยาว ส่งต่อผลักดันให้กับหน่วยงาน องค์กรที่รับผิดชอบ และทีมเลขา แกนประเด็นร่วมกับทีมวิชาการพัฒนาตัวชี้วัดกลาง

Relate topics