กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสื่อเสียงสุขภาวะภายใต้โครงการนักสื่อเสียงจังหวัดพังงา

  • photo  , 1000x750 pixel , 124,272 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 210,988 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 99,014 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 114,754 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,156 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 96,922 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,091 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 109,521 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 141,608 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 192,365 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 149,958 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 132,891 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 147,691 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,115 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 157,504 bytes.

วันที่ 13 มีนาคม 68  ณ โรงแรมเอราวัณ โคกกลอย ตำบลตะกั่วทุ่ง อำเภอโคกกลอย จังหวัดพังงา

โครงการนักสื่อเสียงจังหวัดพังงาจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสื่อเสียงสุขภาวะ จังหวัดพังงา เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสื่อเสียงในการสื่อสารสุขภาวะให้กับประชาชนในพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วมในการสื่อสารขับเคลื่อนระบบนิเวศสื่อสุขภาวะในพื้นที่

โดยมีเครือข่ายนักสื่อเสียงสุขภาวะที่เข้าร่วม จำนวน 27 คน

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักสื่อเสียง ประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

1)บทบาทสำคัญของนักสื่อเสียงสุขภาวะในพื้นที่

2)สถานการณ์สุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดพังงา

3)ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง การรู้เท่าทันสื่อ และการใช้เทคนิคการสื่อสาร Story telling

4)ความรู้สุขภาวะที่จะร่วมสื่อสาร “กินให้หรอย ถอยให้เป็น เน้นใช้เทคนิค 3 อ. คือ อาหาร อารมณ์ และออกกำลังกาย

5)ร่วมออกแบบการสื่อสารสุขภาวะร่วมกัน “นักสื่อเสียงจะร่วมสื่อสารสุขภาวะอย่างไร”

จากการทำกิจกรรม เกิดการสะท้อนปัจจัยสำคัญในการสร้างเครือข่ายนักสื่อเสียงเพื่อขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้เครือข่ายนักสื่อเสียงสุขภาวะ “มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในปัญหาและพัฒนาโครงการร่วมกัน” จะทำให้เกิดการสร้างความเข้าใจร่วมและความตระหนักรู้ในความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ส่งผลต่อความต่อเนื่องและสร้างความร่วมมือในระดับหน่วยงาน ภาคี เครือข่ายกันมากขึ้น

2.ทีมบริหารและคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้ความสำคัญกับ บทบาทหน้าที่ของนักสื่อเสียงต่อการขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ อย่างชัดเจน ทำให้ทุกคนรู้ เข้าใจ และสามารถแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานร่วมกันภายใต้ต้นทุน/ทรัพยากรที่มีของแต่ละคนได้

3.ทีมบริหารโครงการและคณะทำงานโครงการ มีการค้นหาข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจบทบาทและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่น และภาคเอกชนในพื้นที่ ที่สามารถช่วยหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานสุขภาวะร่วมกับโครงการได้ ทำให้เห็นทิศทาง แนวทาง ตลอดจนแผนงานที่จะทำร่วมกันได้

4.ชุดความรู้ ข้อมูลสุขภาวะ จะต้องสื่อสารให้ง่าย เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเข้าใจร่วมกัน ฉะนั้น ในฐานะนักสื่อเสียง ที่จะร่วมสื่อสารเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการสื่อสารข้อมูลความรู้สุขภาพให้กับคนในชุมชน ได้รู้จัก เข้าใจ ป้องกัน เท่าทันสถานการณ์สุขภาพ

5.นักสื่อเสียงสุขภาวะ ร่วมวางแผนการสื่อสารสร้างการรับรู้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย และความสามารถของนักสื่อเสียงในการสื่อสาร คือ นักสื่อเสียงสุขภาวะจังหวัดพังงา เน้นการสื่อสารสุขภาวะผ่านการจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ชุมชน โรงเรียน และ การสื่อเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของความรู้สุขภาพ การเล่าเรื่องบทเรียน ประสบการณ์ดูแลสุขภาพ หรือ Best Practice ในพื้นที่

จากนี้ทีมโครงการนักสื่อเสียงจังหวัดพังงา จะเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะในพื้นที่อะไรต่อ ฝากติดตาม

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ นักสื่อเสียงสุขภาวะ - คนไทยหัวใจฟู

Relate topics