เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้

  • photo  , 1583x1033 pixel , 182,183 bytes.
  • photo  , 1543x1061 pixel , 116,038 bytes.
  • photo  , 1540x1062 pixel , 119,868 bytes.
  • photo  , 1607x1018 pixel , 121,221 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 123,304 bytes.
  • photo  , 1562x1048 pixel , 128,902 bytes.

เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้

ระหว่างวันที่ 5 – 6 เมษายน 2568 มีการประชุม “ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาคใต้  ทบทวนย้อนหลังและมองภาพอนาคต 20 ปี งานสร้างสุขภาคใต้” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตตรัง โดยมีภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม จาก 14 จังหวัดภาคใต้ เข้าร่วมประชุม

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีนายสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักนโยบายสาธารณะภาคใต้ (สช.ต.) พร้อมทีมเข้าร่วมประชุม  ซึ่ง“งานสร้างสุขภาคใต้” จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 โดยมีเป้าหมายเพื่อโชว์ แชร์ เชื่อม ภาคีเครือข่าย ที่นำผลงานมานำเสนอ แลกเปลี่ยนความรู้และสานพลังความร่วมมือ 13 ปีที่ผ่านมางานสร้างสุขภาคใต้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน

โดยงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้ธีมงาน “ภาคใต้แห่งความสุข” เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ภาคใต้ สำหรับการสร้างงาน กำหนดเป้าหมาย และสร้างความเป็นเจ้าของร่วม อุดมการณ์ร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืน  โดยมี 4 ประเด็น ได้แก่

1.ความมั่นคงทางอาหาร

2.ความมั่นคงทางสุขภาพ

3.ความมั่นคงทางมนุษย์ และ

4.ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งการประชุมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาคใต้ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้ร่วมคิด ร่วมทบทวนตัวชี้วัด กำหนดค่าเป้าหมาย กระบวนการทำงาน กำหนดแนวทาง วิธีการสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ร่วมให้ข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การพัฒนา โดยมีข้อค้นพบว่า

1.กลไกนโยบาย ประกอบด้วย กลไกระดับชาติและระดับพื้นที่ มีระบบข้อมูล และการสื่อสาร

2.กระบวนการขับเคลื่อนงานของภาคใต้  มีการใช้องค์ความรู้/นวัตกรรมในการขับเคลื่อนงาน มีการสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย บูรณาการการทำงานของ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนมีการสื่อสารสาธารณะ กระบวนการเชิงนโยบาย/เชิงพื้นที่ และการสร้างพื้นที่นำร่อง

3.ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การทำงานทั้งระดับปัจเจก ชุมชน กลุ่ม/เครือข่าย โดยมีกระบวนการแหล่งทุนจากระดับพื้นที่ และส่วนกลาง

ด้าน ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ได้เน้นย้ำถึงการร่วมทุนของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อยกระดับการทำงานเชิงประเด็น ขยายการทำงานระบบสุขภาพของพื้นที่

ขณะที่ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะกรรมการบริหาร สช. ได้กล่าวถึงความสำคัญของการถอดบทเรียน เพื่อยกระดับการทำงานให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

และสำหรับแนวทางการเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 14 นี้ จะมีการจัดนิทรรศการมาแสดงความสำเร็จของประเด็นนโยบายสาธารณะ อีกทั้งมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของภาคีเครือข่าย ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างข้อเสนอนโยบาย ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัด จัดงานสร้างสุขภาคใต้ และกำกับติดตามประเมินผลต่อไป ...

รอติดตาม

รายงาน สช.ต.

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics