"กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"

  • photo  , 1706x960 pixel , 137,186 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 157,032 bytes.
  • photo  , 1000x1414 pixel , 293,659 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 337,136 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 309,203 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 392,276 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 374,108 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 435,492 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 297,522 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 422,494 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 463,221 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 383,795 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 413,870 bytes.

"กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"

วันที่ 10 เมษายน 2568 ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายและความร่วมมือ มีผู้เข้าร่วมคน 30 คน ประกอบด้วย กขป.เขต 12 ศูนย์อนามัยที่ 12 เขตสุขภาพที่ 12 อบจ.ปัตตานี สสจ.ยะลา/สตูล/นราธิวาส/ตรัง สนส.ม.อ. สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี/ยะลา/สตูล/สงขลา ผ่านระบบประชุมทางไกล

ที่ประชุมร่วมเติมเต็มร่าง system map สุขภาวะแม่และเด็ก และนำเสนอพื้นที่รูปธรรมที่มีกิจกรรมหรือแนวทางในการแก้ปัญหาสำคัญประกอบด้วย

1)อบจ.ปัตตานี นำเสนอแนวทางความร่วมมือระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานร่วมใช้กลไก มหัศจรรย์ 1000 วัน/2500 วันในการแก้ปัญหาโภชนาการร่วมกับศูนย์เด็กเล็ก แผนงานร่วมทุนฯสสส. คัดกรองภาวะโภชนาการและพัฒนาการ ให้ความรู้ผู้ปกครอง ปรับพฤติกรรมการบริโภต และการส่งเสริมการฉีดวัคซีนที่ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เพิ่มวัคซีนฮาลาล และใช้ระเบียบอปท.ในการใช้เงินชดเชยรายได้ให้กับกลุ่มแม่ที่ยากจนเพื่อมาฉีดวัคซีน ดำเนินการใน 6 อำเภอเป้าหมาย

2)ศูนย์อนามัยที่ 12 ดำเนินการตามนโยบายแก้ปัญหาแม่และเด็กเสียชีวิตจากการคลอด One Province One Labor room โดยทำเชิงรุกไปถึง One AMC (กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง)ในการให้คำปรึกษา มีการใช้ยาลดการตกเลือดในพื้นที่จังหวัดสตูล มีเครื่องอัลตราซาวด์โมบาย ตรวจหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงการป้องกันภาวะซีดในเด็กเชิงรุก อย่างไรก็ดี ยังพบปัญหาการไม่ฝากครรภ์ในกลุ่มมารดาที่ไปทำงานประเทศมาเลเซีย หรือกลุ่มติดยาเสพติด ซึ่งยังมีภาวะแทรกซ้อนเสียชีวิต

ทั้งนี้มีจุดคานงัดสำคัญ ได้แก่

1)กลไกขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1000 วัน/2500 วัน และภาคประชาสังคม

2)การเพิ่มโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย

3)ความรู้ เทคโนโลยีและนวตกรรม 4)ระบบบริการเชิงรุก

ที่ประชุมร่วมเสนอแนะเชิงนโยบายและความร่วมมือสำคัญดังนี้

1.พัฒนากลไกขับเคลื่อน มหัศจรรย์ 1000 วัน/2500 วัน เพื่อคัดกรอง แก้ปัญหาทุพโภชนาการ ซีด ขาดวัคซีน โดยร่วมกับสสจ./ท้องถิ่นจังหวัด/อบจ./สสส./สปสช./ศธ.และพมจ.

2.กองทุนสุขภาพตำบล/อปท. เพิ่มการสนับสนุนกิจกรรมโภชนาการ พัฒนาการเด็กปฐมวัย การตั้งครรภ์ในวัยใส

3.Capacity Buiding ครูใน ศพด.ปรับเครื่องมือในการประเมินการตรวจพัฒนาการ DSPM โดยศูนย์อนามัยที่ 12 สถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง(ม.อ./วิทยาลัยพยาบาล) ร่วมกับอปท.

4.สปสช.เขต 12 /กองทุนสุขภาพตำบล แก้ปัญหาการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ติดยาเสพติด ให้สามารถตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน เพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ยาเสริมธาตุเหล็กสำหรับหญิงหลังคลอด แก้ไขยาตกเลือดให้อยู่ในบัญชีหลัก

5.ขยายผลปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหา เด็กซีด ไม่ฉีดวัคซีน ภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัยล่าช้า ในพื้นที่ 3 จว. โดยอบจ./แผนงานร่วมทุนฯสสส. สปสช. ศอบต. สถาบันการศึกษาในพื้นที่ศูนย์อนามัยที่ 12

6.ใช้ระเบียบการชดเชยรายได้ของอปท.ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากจนในการเข้าถึงบริการ โดยอปท. และร่วมกับองค์กรชุมชนจัดตั้งกองทุนกลางเพื่อช่วยเหลือดูแลแม่และเด็กที่มีฐานะยากจน

7.พัฒนากลไกภาคประขาสังคมร่วมดำเนินงานสุขภาวะแม่และเด็กในพื้นที่เขต 12 โดยเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด สถาบันการศึกษาในพื้นที่

#เรียนรู้เติมเต็มต่อยอดขยายผล

#กขป.เขต 12

Relate topics