สองฐานสร้างสุขที่ยั่งยืน บทเรียนจากการจัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12

  • photo  , 1000x563 pixel , 117,129 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 137,419 bytes.
  • photo  , 719x960 pixel , 60,415 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 54,705 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 52,063 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 57,207 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,245 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 56,100 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,943 bytes.

สองฐานสร้างสุขที่ยั่งยืน

เขียนโดย บัณฑิต มั่นคง  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

2 วันที่ผ่านมาได้มีโอกาสร่วมสรุปบทเรียนการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12 มีการทบทวนเป้าหมาย กระบวนการและผลลัพธ์สำคัญที่ได้วางร่วมกันไว้ รวมถึงได้ช่วยกันลองเสนอแนวทางใหม่ๆ ที่เท่าทันกับสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน

2 คำถามสำคัญในวงคือ

1)งานที่วางเป้าแล้วทำได้ดี กับ  2)จะยกระดับงานใหม่ให้ท้าทายทั่วถึงเท่าทันได้อย่างไร

โดยมีหัวข้อที่ร่วมกันสรุปบทเรียน ได้แก่ การพิจารณาระเบียบวาระในการประชุม (ปีที่ผ่านมามี 4 เรื่องได้แก่ แร่ไยหิน มะเร็ง การใช้ยาและเพศสภาวะ)  การจัดกลุ่มเครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เวทีกลาง ห้องเสวนา บูธนิทรรศการ พาทัวร์)  การนำเสนอและแลกเปลี่ยนผลการขับเคลื่อนมติสมัชชาที่ผ่านมา

2 ข้อเสนอแนะที่คิดว่าสำคัญ ได้แก่

1)การลดรูปแบบและขั้นตอนการจัดให้เรียบง่าย แต่คงความสำคัญกับกระบวนการทางวิชาการ มีมุมสานพลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคส่วนต่างๆ และ

2)การพัฒนาและยกระดับกลุ่มเครือข่ายสมาชิกสมัชชาที่หลากหลาย เน้นเครือข่ายใหม่ๆ หนุนกระบวนการ วิชาการ เครื่องมือ กับกลไกหุ้นส่วนการพัฒนาในระดับพื้นที่

ท้ายสุดได้เห็นอีก 2 ฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างสุขที่ยั่งยืน คือ

1)ฐานราก นั่นคือต้องกลับไปสร้างสุขภาวะจากฐานชุมชนท้องถิ่น จึงจะเป็นความยั่งยืนที่แท้จริง และ

2)ถิ่นฐานบ้านเกิด  ได้ลงไปเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เกษตรฯ ตำบลแหลมบัว นครชัยศรี เห็นคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ละทิ้งความฝันในเมืองใหญ่กลับไปสู่รากเหง้า สร้างความมั่นคงทางอาหารจากผืนดินถิ่นกำเนิด

Relate topics