แอพพลิเคชั่น iMed@home
"แอพพลิเคชั่น iMed@home" เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
ทีมกลางเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ นัดเครือข่ายศปจ. ๗ จังหวัด อบจ./กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ พชอ. ในพื้นที่เขต ๑๒ ที่ทำงานด้านการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม มาวางระบบการทำงานและทำความเข้าใจระบบข้อมูลกลางร่วมกัน
๑.การสมัครสมาชิก การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของ ADMIN ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล การใช้เข้าถึงและใช้ข้อมูลใน www.ข้อมูลชุมชน.com ได้แก่ การบริหารข้อมูลขององค์กร ข้อมูลคนพิการ คนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู mapping ภาคี สวนผักคนเมือง งานเกษตรและอาหาร และแอพพลิเคชั่น iMed@home ที่ประกอบด้วยการนำข้อมูลเข้า การประมวลผล และระบบเยี่ยมบ้าน
๒.ระบบเยี่ยมบ้านพัฒนาใหม่ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงที่อิสระมากขึ้น โดยเปิดช่องทางให้จิตอาสาที่ไม่ได้อยู่ในระบบสามารถเข้าใช้ และสามารถจัดทำกลุ่มของตนเองในทุกระดับ จัดระบบสมาชิกกลุ่มและกลุ่มเปราะบางที่กลุ่มดูแล เพื่อทำให้เกิดระบบย่อย เพิ่มจากระบบในตำบล อำเภอ จังหวัด ในลักษณะข้ามพื้นที่ ข้ามกลุ่่ม
๓.การทำงานร่วมกัน ระดับจังหวัดจะทำหน้าที่ประสาน กลั่นกรอง username จากพื้นที่ตำบล อำเภอ ส่งต่อมายังทีมกลางเพื่ออนุมัติสิทธิ์ โดยแต่ละพื้นที่ที่ต้องการใช้สามารถนำข้อมูลเข้าระบบได้แก่ ข้อมูลคนพิการ คนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยรอการฟื้นฟู โดยดาวน์โหลดแบบสอบถามได้ที่หน้าหลักของเว็บไซต์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ ชุมชน เอกชนที่เกี่ยวข้อง(๒๐-๓๐ คน) หากทีมงานในพื้นที่ตำบลสนใจจะใช้ข้อมูลก็ให้สมัครสมาชิก ส่งข้อมูลให้ทีมจังหวัดส่ง username และสิทธิ์ในพื้นที่ตำบลที่ต้องการมาให้ทีมกลางของเขตอนุมัติ จากนั้นก็นำไปสู่การขยายผลใช้ระบบเยี่ยมบ้านเพื่อให้การช่วยเหลือดูแล(จิตอาสาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง๕๐-๑๐๐ คนต่อตำบล) ระบบเยี่ยมบ้านจะทำให้สามารถดูประวัติการให้ความช่วยเหลือดูแลระดับบุคคลจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลดความซ้ำซ้อน และวัดผลที่เกิดขึ้นได้ในระยะยาว ทีมกลางกำลังพัฒนาระบบวัดผลที่สามารถบอกถึงพัฒนาการของบุคคลเป้าหมายในด้านต่างๆ อาทิ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย ความยากจน ฯลฯ หรือความต้องการใหม่ๆ ทำให้งานข้อมูลเป็นปัจจุบันในลักษณะภาคีความร่วมมือช่วยกันทำ
๔.ทีมงานได้เรียนรู้และฝึกปฎิบัติ ส่วนใหญ่อยู่ในระยะเพิ่งทำความเข้าใจ เริ่มเห็นแนวทางในภาพรวมที่จะต้องบูรณาการกับเครือข่ายต่างๆ เห็นความเชื่อมโยงข้อมูลโดยใช้บุคคลเป็นฐาน แต่ต้องการทักษะความชำนาญ ความคล่องตัวในการใช้ไม่ว่าจะผ่านเว็[ไซต์หรือผ่านแอพพลิเคชั่น จะเป็นฐานการทำงานต่อไปในอนาคต
Relate topics
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา กรมการแพทย์ เข้าร่วมประชุมการดำเนินงาน “มินิธัญญารักษ์” เริ่มต้นที่โรงพยาบาลระโนด สงขลา
- "พัฒนาระบบขนส่งบริการผู้ป่วย IMC"
- กยท. ร่วมกับ อบจสงขลาและาคีเครือข่ายร่วมบูรณาการส่งเสริมอาชีพชาวสวนยางอย่างยั่งยืน
- เมาะซูกับภารกิจปลูกผัก สัญลักษณ์แห่งการเติบโตเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง
- "สังเคราะห์ความเห็น เตรียมจัดเวที สานพลัง เชื่อมโยง พัฒนา สร้างคุณค่า การท่องเที่ยวกระบี่ที่ยั่งยืน"
- เดินหน้าโมเดลอำเภอเหนือคลองบูรณาการ พัฒนาทางสังคมแบบองค์รวมฯเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตำบลห้วยยูง
- ภาคประชาสังคม จ.กระบี่ ร่วมกับ ขสย. ภาคใต้ ร่วมวางแผนขับเคลื่อนการจัดการปัจจัยเสี่ยงบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กเยาวชนอย่างมีส่วนร่วม
- ประชุมคณะทำงานชุดเล็กประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง (บุหรี่ไฟฟ้า) เขต 12
- เวทีสานพลังเครือข่ายสื่อ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่สุขภาวะที่ดีของคนใต้
- ขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ร่วมถักทอกับภาคี ขยับสู่การขับเคลื่อนพื้นที่ภาคใต้แห่งความสุข