"กขป.เขต ๑๒ ชูธงลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙"

  • photo  , 1000x1093 pixel , 187,877 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 412,371 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 235,104 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 225,624 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,282 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 83,035 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 101,207 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 141,988 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 79,448 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 143,726 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 156,592 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 77,861 bytes.
  • photo  , 1600x900 pixel , 153,394 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 150,841 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 145,502 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 160,447 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 63,455 bytes.
  • photo  , 1080x608 pixel , 67,712 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 187,986 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 195,901 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 199,582 bytes.

"กขป.เขต ๑๒ ชูธงลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙"

กิจกรรม Side Event “Kickoff กขป.เขต ๑๒ พลเมืองตื่นรู้ สานพลังรับมือโควิด-๑๙ ด้วยมาตรการ ๔ ต.๒ป.”  มีขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐-๑๓.๐๐ น. ผ่านระบบประชุมทางไกล ระบบ Zoom Meeting และonsite ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานงาน กขป.เขต ๑๒ มูลนิธิชุมชนสงขลา  มีผู้เข้าร่วมจำนวน ๕๕ คน ประกอบด้วย กขป. เครือข่ายสสจ.  หอการค้า  ผู้นำศาสนา  อปท.  ภาคประชาสังคม  และถ่ายทอดสดผ่านเพจเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

โดยมี นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ประธานกขป.เขต ๑๒ กล่าวเปิดการประชุมและชี้ให้เห็นบทบาทของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และแนวคิดการขับเคลื่อนของเขต ๑๒ ที่มุ่งเป้าพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ภายใต้แนวทาง "เรียนรู้ เติมเต็ม ต่อยอด ขยายผล"

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ระบุว่าSide Eventเป็นกิจกรรมคู่ขนานของภาคประชาสังคมและเครือข่ายต่างๆ ได้ประโยชน์และหนุนเสริมซึ่งกันและกันกับกิจกรรมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๔  เดิมใช้จุดแข็งและหนุนเสริมซึ่งกันและกัน

นางพัฒฑิกรณ์ ทองคำ และผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๑๒ นพ.สุเทพ เพชรมาก กล่าวว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด เขตุ ๑๒ มีความพิเศษจนต้องมี ศบค. ส่วนหน้าด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการระบาดในพื้นที่ มีผู้ได้รับผลกระทบชัดเจนได้แก่ กลุ่มเปราะบาง โรงงาน  เรือนจำ ยังพบปัญหาในส่วน ๔ จังหวัดชายแดนใต้ในการเข้าถึงวัคซีน(ยังไม่ฉีดวัคซีนที่มีลงไปบริการ) อัตราป่วย และอัตราตายในพื้นที่สูงกว่าระดับประเทศ พบโรค/ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค วัคซีน คุณภาพระบบบริการ

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผอ.ธีระพร ศรีรัตน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กล่าวว่าการคาดการณ์การระบาดยาวนานกว่าการพยากรณ์ จึงใช้เวลานานในการฟื้นเศรษฐกิจ ผลกระทบในพื้นที่ และแต่ละ Sector มีความแตกต่างกัน ภาคใต้รุนแรงที่สุด เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจมีความแตกต่างกัน พื้นที่ที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ การท่องเที่ยวกับต่างชาติ ที่มีสัดส่วน ๑๖% ของGDP พื้นที่ภาคเกษตร เช่น พัทลุงกระทบ และไม่รุนแรงมาก ราคาผลผลิตเกษตร ปาล์ม ราคาสูงขึ้นเป็นผลกระทบเชิงบวก ภาคการผลิต อุตสาหกรรม : อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ไม่สามารถส่งออกได้ ส่วนอุตสาหกรรมถุงมือยาง ดีขึ้น ในการรับมือภาครัฐใช้มาตรการทางการคลังและการเงินเข้าช่วย เยียวยา มาตรการสนับสนุนการบริโภค สนับสนุนการท่องเที่ยว ส่วนที่จะทำต่อไปคือนโยบายทางการเงิน : การแก้ไข/ช่วยเหลือ ปัญหาชำระหนี้ เพิ่มสภาพคล่อง Soft Loan และสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู : ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย มีโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนให้คำแนะนำ สภาพเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ไตรมาส ๔ น่าจะดีขึ้น หากไม่มีปัจจัยนอกเหนือการควบคุม เช่น โอไมครอน ที่น่ากังวลก็คือหนี้ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และวินัยทางการเงิน

ในด้านผลกระทบด้านสังคม นางจณิสตา จุลสุวรรณ์ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ กล่าวว่าภาคใต้มีกำลังแรงงาน กลุ่มวัยแรงงานสัดส่วนสูง ภาวะพึ่งพิงต่ำ เรามีปัญหาคุณภาพการทำงานของกลุ่มวัยแรงงาน หนี้สิน ว่างงาน หลังเกิดโควิดแรงงานส่วนหนึ่งกลับมาบ้านเกิด พบสัดส่วนคนจน มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเนื่องจากนโยบายลงทะเบียนคนจน ผลกระทบด้านสังคมพบว่าอัตราความเหลื่อมล้ำ ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ สูงกว่าพื้นที่อื่น การศึกษา : รูปแบบการเรียนเปลี่ยน เพิ่มช่องว่างของความเหลื่อมล้ำมากขึ้นจากการปรับระบบ เช่น อุปกรณ์การเรียน  COVID-๑๙ ดูเหมือนจะซ้ำเติม เพิ่มความเหลื่อมล้ำสำหรับชีวิตคนจน นอกจากนั้นยังพบอัตราฆ่าตัวตาย ผกผันกับเศรษฐกิจ กล่าวคือคนรวยทำร้ายตัวเองมากกว่า ขณะที่ความปลอดภัยในชีวิต ๓ จชต. เหตุการณ์ความไม่สงบลดลง และชี้ว่าเราควรส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือนให้เข้มแข็งโดยเฉพาะภาคเกษตร พร้อมพัฒนาคุณภาพแรงงาน UP/Re/New Skills ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ เพิ่มโครงการแก้ปัญหาความยากจน ด้านการศึกษายกระดับคุณภาพการศึกษา เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพโดยเท่าเทียมกัน

ในส่วนมาตรการรับมือโควิดของกขป.เขต ๑๒ นพ.สุวัฒน์ ริริยพงษ์สุกิจ ประธานกขป.เขต ๑๒ เน้น ๔ ต.ได้แก่ ตรวจเร็วด้วย ATK ตีวงรอบคัดกรองหาผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง ตอบสนองเร็วด้วยยาทั้งแผนไทยและสากล ตามด้วยวัคซีนให้ครอบคลุม และ ๒ ป.คือปิดเป็นจุด ปิดเฉพาะชุมชนที่มีการแพร่ระบาด และเปิดเมืองอย่างสมดุล ให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ สังคมได้รับการดูแล

พร้อมกันนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาการรับมือการแพร่ระบาดโควิด-๑๙ใน ๓ ตัวอย่าง

• บทบาทชุมชนมีส่วนร่วมรับมือโควิด “แผนชุมชนรับมือโควิดพื้นที่เกาะหลีเป๊ะ” โดยครูแสงโสม หาญทะเล รร.เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล

• บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ยะลากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับมือโควิด” โดยคุณอนุชิต กาญจนานุชิต  รองนายกเทศมนตรีนครยะลา

• บทบาทภาคเอกชนและประชาสังคม “Hatyai sandbox Plus” โดยดร.สมพร สิริโปราณานนท์ รองประธานกขป.เขต ๑๒ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา

จากนั้นที่ประชุมได้ร่วมเสนอความเห็น โดยมีแนวทางสำคัญเพิ่มเติมดังนี้

๑.การจัดทำระบบฐานข้อมูล และPlatform ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ในสังคม ทั้งข้อมูลเชิงลึกจากภาคประชาสังคม ชุมชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

๒.สร้างหรือพัฒนากลไกระดับพื้นที่เสริมเติมจากกลไกเดิม เช่น กรณีจังหวัดปัตตานี ร่วมกับอบจ./สมัชชาสุขภาพจังหวัด กรณีสตูลร่วมกับจังหวัดและกลุ่มรักจังสตูลและสมัชชาสุขภาพจังหวัด กรณีจังหวัดสงขลาร่วมกับ ๑๕ ภาคีบริหารจัดการและสมัชชาสุขภาพจังหวัด หรือระดับเมือง/อำเภอ ระดับตำบล ที่เกิดจากการสนับสนุนทางนโยบายที่ชัดเจน ของแต่ละภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคชุมชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความรอบรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน สร้างความรอบรู้ เรื่องความมั่นคงทางอาหาร ค้นหาทุกข์ สาเหตุหนี้สิน จากการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อน กระทบต่ออาชีพหลัก ยางพารา

๓.สนับสนุนกลยุทธ์หรือรูปแบบ มีวิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในการทำงานร่วมกัน

๔.พัฒนานวัตกรรมจากต้นทุน ความรู้ ทุนที่มีในการเตรียมรับกับการแก้ปัญหาในอนาคต เสริมหนุนประเด็นสำคัญของเขต ๑๒


ลิงค์ชมย้อนหลัง

Relate topics