Node Flagship จังหวัดตรัง จังหวะก้าวการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

  • photo  , 945x709 pixel , 179,441 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 95,322 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 196,076 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 123,477 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 92,398 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 66,630 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,060 bytes.
  • photo  , 1000x1334 pixel , 228,427 bytes.

การทำงานกับภาคียุทธศาสตร์  สู่ การสร้างความร่วมมือแบบภาคีหุ้นส่วน

ภารกิจ และโจทย์สำคัญภายใต้การขับเคลื่อนหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship)

2 วัน หนึ่ง คืน กับเวทีปฐมนิเทศและทำความเข้าใจการดำเนินงาน “หน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node flagship)” ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

หนึ่งในแผนงานเชิงรุกในการขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ของ สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. สำนัก 6) ทีม node ตรัง เป็นหนึ่งใน 11 ทีมระดับจังหวัดที่ได้เข้าขบวนการทำงานภายใต้แผนงานนี้ โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานของจังหวัดตรัง ได้แก่  1) ประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 2) ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร “ข้าว”

สำหรับทีมตรังเข้าร่วมเวทีครั้งนี้นำโดยพี่บุ๋ม นางสาวสุวณี ณพัทลุง PM Node Flagship  มีพี่อนันต์ อัครสุวรรณกุล อนันต์ อัครสุวรรณกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในฐานะภาคียุทธศาสตร์สำคัญ น้าเนียร Nancy Manakla ตัวแทนพี่เลี้ยงประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย พี่เอี้ยง Samran Samathi ตัวแทนพี่เลี้ยงประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าว และผมในฐานะผู้ประสานงานประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้ โจทย์ชวนเรียนรู้สำคัญ  3 ช่วง

ช่วงที่ 1 กลไกและความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์ โดยให้แต่ละ node ได้ทบทวนข้อมูล

1.ภาคียุทธศาสตร์สำคัญ

2.กลไกการทำงานที่ node จะขับเคลื่อนร่วมกับภาคี

3.การประเมินภาคียุทธศาสตร์เพื่อยกระดับการทำงานภาคีแบบหุ้นส่วน

โจทย์ช่วงที่ 2 แผนและวิธีการทำงานร่วมกันระหว่าง node และภาคียุทธศาสตร์ คือการ ทบทวนช่องว่างการดำเนินงานกับภาคียุทธศาสตร์

โจทย์ช่วงที่ 3 ความเชื่อมโยงการทำงานกับภาคียุทธศาสตร์กับการเกิดผลลัพธ์โครงการย่อยและโมเดลพื้นที่ต้นแบบ สำหรับทีมตรัง ภายหลังการวิเคราะภาคีสำคัญในประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัยแล้ว และปรึกษาร่วมกัน เห็นว่าช่องว่างสำคัญการทำงาน node กับการทำงานภาคียุทธศาสตร์ที่ผ่านมา อย่างน้อยมี 2 ประเด็นสำคัญ  คือ

1)การเชื่อมโยงบูรณาการแผนงานโครงการร่วมกับภาคี  คือ แม้ทาง node มีกระบวนการให้ภาคีเห็นเป้าหมายการทำงาน มีกระบวนการให้ภาคียุทธศาสตร์เข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญของงาน node ตั้งแต่การเข้าร่วมพิจารณาโครงการย่อย  เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) การลงติดตามเสริมพลัง การสรุปบทเรียน พบว่า มีภาคีวิชาการทั้ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี และศูนย์ UDC  ของ ม.อ. ตรัง ทีไปถึงการแชร์ทรัพยากร  การร่วมกันพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ แต่ในขณะที่ภาคียุทธศาสตร์ อาทิ สสจ. หรือ อบจ. ยังไปไม่ถึงการเชื่อมทรัพยากร การบูรณาการแผนงานโครงการที่จะมาสนับสนุนในพื้นที่โครงการย่อย

2)ประเด็นระบบฐานข้อมูลร่วมกัน  คือ แม้ครั้งที่ผ่านมาจะมีการจัดทำข้อมูลสำรวจพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย แต่เป้นฐานข้อมูลที่ทาง node ใช้ติดตามการทำงานพื้นที่ แต่ยังไปไม่ถึงงานข้อมูลที่จะเห็นกลุ่มเป้าหมายร่วมกันกับภาคียุทธศาสตร์

ก้าวต่อไปของทีมตรังจากการหารือเบื้องต้น

สำหรับกลไกการทำงานกับภาคียุทธศาสตร์ จะมีทั้งการขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะทำงานแผนพัฒนาจังหวัดด้านสังคม ที่มีภาคียุทธศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่ในคณะทำงานชุดนี้อยู่แล้ว เพื่อจะให้คล่องตัวในการทำจะก็จะให้มีการตั้งอนุกรรมการประเด็นในการขับเคลื่อน

การมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกันของภาคียุทธศาสตร์ด้านสังคม ที่มีแผนงานโครงการของจังหวัดรองรับอยู่ และมีความต้องการของข้อมูล อบจ. ในการใช้งานข้อมูล  ครั้งนี้ก็จะมีการพัฒนาตัวงานข้อมูลร่วมกันเพื่อนตอบโจทย์ความต้องการหน่วยงานด้านสังคมทั้ง สสจ. พมจ.  อบจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึง node flagship

การหารือร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ การนำแผนงานโครงการที่รับผิดชอบมากางหารือเพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกันในการลงไปสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ปฏิบัติการโครงการในปีนี้  และการออกแบบการพัฒนาศักยภาพ การติดตาม หนุนเสริมโครงการย่อย เข้มข้น หัวบวมกันไปพอสมควรสำหรับรอบนี้

หลากหลายรูปแบบการทำงานของ Node flagship จังหวัดต่าง ๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อคำถามชวนคิด ชวนเค้นต่าง ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ

หลังจากนี้ทีมตรังต้องกลับมาปรึกษากับภาคีอีกครั้ง เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนการทำงานและ kick off อย่างเป็นทางการในจังหวัดตรังบ้านเรา
ชวนติดตามนะครับ

ก้าว Node Flagship จังหวัดตรัง ก้าวการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

เชภาดร  จันทร์หอม  บันทึกเรื่องราว

Relate topics