"เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"

  • photo  , 1706x960 pixel , 97,557 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 87,824 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 94,384 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 81,909 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 88,298 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 77,478 bytes.

"เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"

ประชุมแกนนำเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา กำหนดแนวทางดำเนินการปี 65 ประชุมผ่าน zoom ในช่วงโอไมครอนกำลังพีค

1.สถานการณ์การเคลื่อนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ PGS ในระดับชาติมีแนวคิดใช้สภาเกษตรระดับชาติสร้างมาตรฐานกลาง ขณะที่กัญชาที่เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ หรือกระท่อมที่ปลูกในสวนยางก็ต้องการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รองรับ แต่มาตรฐานระดับชาติที่เป็นสากลนั้นค่อนข้างทำได้ยาก กำลังมีแนวคิดลดความเข้มข้นบางอย่างลง ขณะที่เกษตรกรรุ่นใหม่หันไปให้ความสำคัญกับการตลาดมากกว่ามาตรฐาน

2.ประสบการณ์การตรวจแปลงและรับรอง SGS-PGS ที่ผ่านมา ได้หยุดไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด การตรวจแปลงรอบใหม่จะลงในช่วงปลายเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยระหว่างนี้

2.1 ทบทวนกติกา/ธรรมนูญของ SGS ให้ชัดเจนมากขึ้นในส่วนของแนวกันชน หรือการลดความเข้มข้นในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่ซึ่งใช้ขี้หมู หารือเรื่องผลผลิตอื่นที่จะเพิ่มเข้ามา อาทิ สินค้าแปรรูป ยางพารา กัญชา(สวนสสจ.มาร่วมหารือด้วย)

2.2 กำหนดผังแปลงให้ชัดเจนพร้อมแนวกันชน ซึ่งสามารถลงรายละเอียดโดยใช้แอพฯที่กระทรวงเกษตรมีอยู่ หรือสร้างขึ้นไว้ในแอพฯกรีนสมาย ให้ระบุรายละเอียดพร้อมภาพถ่ายเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพและใช้ในกรณีมีข้อเสนอให้ปรับปรุง มีภาพในมุมเดียวกันเปรียบเทียบ

2.3 การตรวจแปลงรอบใหม่ จะให้เกษตรกรลงข้อมูลในแอพฯกรีนสมายล่วงหน้า การลงไปตรวจแปลงรอบนี้จะเพิ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทีมงานมากขึ้น พร้อมกับการหารือกับเกษตรกรถึงศักยภาพในการผลิต พร้อมข้อมูลตลาดล่วงหน้าเพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตร่วมกัน หรือขยายกำลังการผลิต วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ไปด้วยกัน

3.เชื่อมโยงการตลาดเพิ่มกับโรงแรม ร้านอาหาร มีตลาด online เป็นตลาดล่วงหน้าให้ตลาดรถเขียวสามารถรับส่งผลผลิตถึงมือผู้บริโภคที่ชัดเจน หรือมีตู้แช่วางผลผลิตกระจายในแต่ละจุด บวกกับตลาดส่งตรงในกรณีที่มีผลผลิตแต่ละช่วงเวลาผ่านไรเดอร์ OneChat (ประสานงานอีกครั้ง) ผลผลิตที่ตลาดคนเมืองต้องการ ผักกาดขาว หัวไชเท้า กะหล่ำปลี มะระ บวบเหลี่ยม

ทั้งนี้ในภาพระดับจังหวัด ได้ร่วมกับสหกรณ์เกษตรในแต่ละอำเภอเป็นคนกลางประสานเกษตรกรแต่ละเครือข่ายมาหารือส่งเสริมการผลิตและการตลาดร่วมกัน พร้อมผลักดันการเชื่อมโยงบูรณาการระดับจังหวัดต่อไป

4.ทิศทางอนาคต ควรส่งเสริมพืชผักอัตลักษณ์ควบคูกันไปด้วย พัฒนาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม น้ำปั่น ต่อยอดสมุนไพรเป็นยา กำหนดโซนการปลูกพืชแต่ละชนิดตามศักยภาพที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีโครงการ Success เมืองควนลัง เมืองพะตงที่จะดำเนินการในลักษณะภูมินิเวศนี้ และลดต้นทุนการผลิตที่จะมีมากขึ้นจากผลกระทบสงคราวรัสเซีย-ยูเครน

5.นัดครั้งต่อไป พฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 09.30-15.00 น. ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา ทบทวนมาตรฐาน SGS-PGS

Relate topics