ประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)และคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ระดับเขต

  • photo  , 1440x900 pixel , 140,083 bytes.
  • photo  , 1440x900 pixel , 172,835 bytes.
  • photo  , 1000x625 pixel , 121,921 bytes.
  • photo  , 1440x900 pixel , 136,351 bytes.
  • photo  , 1440x900 pixel , 141,460 bytes.
  • photo  , 1440x900 pixel , 115,943 bytes.

วันที่(17 มีนาคม 2565) สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา จัดประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ ระดับเขต ครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting

ศพก. และเกษตรแปลงใหญ่ ถือเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดระยะเวลา 6-7 ปี ที่มีการดำเนินงานมา ได้เกิดผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในทุกมิติและมีแนวโน้มการพัฒนาของเกษตรกรที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่(Young Smart Farmer : YSF)

ในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยศพก.เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถการขยายผลองค์ความรู้ นวัตกรรม และผลงานวิจัย ไปสู่เกษตรกรแปลงใหญ่ได้ศพก.หลัก จำนวน 151 ศพก. และ ศพก. เครือข่าย จำนวน 2,176 เครือข่าย

แปลงใหญ่ที่ได้รับการรับรองแล้ว จำนวน 1,209 แปลง รวมพื้นที่ 680,799 ไร่ เกษตรกร 64,661 ราย

เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาเป็น Young Smart Farmer แล้ว จำนวน 3,026 คน ขับเคลื่อนโดยศูนย์บ่มเพาะเกษตรเกษตรกรุ่นใหม่ (ศบพ.) จำนวน 14 ศูนย์ และ ศูนย์เครือข่าย จำนวน 119 ศูนย์ ซึ่งทั้ง 3 เครือข่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเกษตรของภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

การทำงานร่วมกัน 3 เครือข่าย มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตร และนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด วิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และทันต่อบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งแนวทางในการขับเคลื่อนภาคเกษตรภายใต้หลักตลาดนำการผลิต จะให้ความสำคัญตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของตลาด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงกับการวางแผนการผลิต และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร การตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดจนส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ  YSF Songkhla

Relate topics