“พัฒนาหลักสูตรวิชาการในห้องเรียนลงสู่พื้นที่การปฎิบัติจริงในชุมชน”
“วิชาการในห้องเรียนลงสู่พื้นที่การปฎิบัติจริงในชุมชน”
คุณกรวิชช์ มาระเสนา ปธ.ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดสงขลา ร่วมปรึกษาหารือ อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการ สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ วิชาเอกการจัดการการประกอบการทางสังคม วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ม.ทักษิณ
ประเด็นการสร้างการตลาดในเขารูปช้าง “Farmer Station To Table” (ตะกร้าผักสถานีเกษตรกร สงขลา)
และ ”Farmer Station Co - Farmming Space” (ผักสองวัยชุมชน)
เพื่อสร้างนักศึกษาให้เป็นนักการตลาด มืออาชีพ และสร้างการเข้าถึงแปลงปลูกให้กับชุมชน
เป็นการแปลงทฤษฎีในห้องเรียนสู่การปฎิบัติ ร่วมออกแบบโครงการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกให้การเรียนรู้เป็นการร่วมคิดและลงมือทำจากแปลงผักสู่ผู้บริโภค From Farmer Station To Table สร้างผู้ประกอบการทางสังคมปลูกกินและแบ่งปันจากเกษตรกรวัยเก๋า สู่ผู้บริโภคโดยเยาวชนคนรุ่นใหม่วัยโก๋ ผักสองวัยชุมชน เชื่อมสายใยแห่งการแบ่งปัน Farmer Station Co - Farming Spaceแบ่งแปลงปลูกผักในเมือง
ให้ผู้บริโภคร่วมประสบการณ์การเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่เตรียมแปลงเพาะกล้ารดน้ำพรวนดินจนใด้กิน ร่วมสร้างผู้ประกอบการทางสังคม สร้างประสบการณ์เชิงปฏิบัติ คิดสร้างสรรค์เท่าทันการเปลี่ยนแปลงFarmer Station × SE MAN TSU
ขอบคุณข้อมูลจาก Facebook Korawit Marasena
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”