การประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสในภาวะเปราะบางกลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับตำบลภายใต้โครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน ครอบครัวจังหวัดยะลา
การประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสในภาวะเปราะบาง
กลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับตำบล ภายใต้การดำเนินงานของโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบเพื่อสุขภาวะเด็ก เยาวชน ครอบครัวจังหวัดยะลา สนับสนุนโดย สสส. ได้ดำเนินโครงการใน 3 ตำบลในจังหวัดยะลา ประกอบด้วย ตำบลปุโรง ตำบลบาโงยซิแน และเทศบาลตำบลท่าสาป
จัดประชุมเพื่อช่วยเหลือเคสที่อยู่ในภาวะเปราะบางใน 3 ตำบลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ประกอบด้วย อบต. รพ.สต. โรงเรียน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา นำโดยกลไกในพื้นที่ได้นำข้อมูลจากการเก็บเด็กอายุ 0-18 ปี มาจำแนกเป็นเขียวเหลืองแดงแล้วจึงได้นำข้อมูลเด็กที่อยู่ในกลุ่มสีแดงมาประชุมเพื่อร่วมกันออกแบบแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้นอกจากฐานข้อมูลแล้วเคสอีกบางส่วนได้รับข้อมูลจากการร้องเรียนของผู้ปกครองในพื้นที่ผ่านกลไกซึ่งทั้งหมดได้เข้าสู่การประชุมเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นจนไปถึงระยะยาว
โดยการประชุมในครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 14 case แบ่งเป็น ตำบลปุโรง 6 เคส ตำบลบาโงยซิแน 7 case และเทศบาลตำบลท่าสาปจำนวน 1 case ในบางเคสที่มีความเปราะบางสูงจะถูกนำเรื่องส่งต่อให้กับ พมจ.ยะลาเพื่อให้ความช่วยเหลือตามกระบวนการต่อไป
#องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน
ขอบคูณข้อมูลจากเพจ กลุ่มลูกเหรียง
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”