บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี

  • photo  , 1000x750 pixel , 72,333 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 201,976 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 121,290 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 105,217 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,663 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 135,834 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,677 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 139,049 bytes.
  • photo  , 1280x844 pixel , 120,155 bytes.
  • photo  , 1280x835 pixel , 176,962 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 125,865 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,394 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 119,081 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 99,146 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 142,564 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 154,041 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 210,510 bytes.

บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี

วันที่ 23 เมษายน 2568 ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี นำทีมนักวิจัยโครงการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมจังหวัดปัตตานี (โครงการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน) ร่วมประชุม Kick off โครงการแก้จนคนเมือง ซึ่งร่วมมือกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) นำโดย นางสุภาวดี ศรัญญุตานนท์ หัวหน้างานปฏิบัติการชุมชน และ นางสาวอรุณ ไชยเต็ม เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชนอาวุโส สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคใต้ และ  ผ่านการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนระดับตำบล โดยกำหนดพื้นที่นำร่อง 6 ตำบล ในเขตเมืองปัตตานี คือ ตำบลรูสะมิแล กะมิยอ  ตะลุโบะ ปูยุด บานา และ สะบารัง

พื้นที่แรกของการวางแผนดำเนินงานร่วมกัน คือ ตำบลรูสะมิแล โดยมีภาคีที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ปลัดเทศบาลเมืองรูสะมิแล พัฒนากรตำบลรูสะมิแลและตำบลบาราโหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล ตัวแทนจากศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปัตตานี ตัวแทนจากสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) จังหวัดปัตตานี ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ตัวแทนกองร้อยและหน่วยเฉพาะกิจ ปัตตานี ตัวแทนบัณฑิตแรงงาน ประธานและสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ นางสุกัญญา สุขสุพันธ์ ที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงโครงการวิจัยแก้จนฯ ม.อ.ปัตตานี

ในการประชุม นางแวซัมเซีย นิอิสมัย ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.รูสะมิแล ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนตำบลรูสะมิแล ทั้งด้านการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในด้านที่อยู่อาศัยและการส่งเสริมอาชีพ ต่อมา ดร.ไอร์นี แอดะสง ผอ.ศูนย์แก้จนฯ ม.อ.ปัตตานีให้ข้อมูลผลการเก็บรวบรวมข้อมูลครัวเรือนยากจนตำบลรูสะมิแลตามฐานข้อมูล TPMAP จำนวน 14 ครัวเรือน โดยแสดงให้เห็นทั้ง 5 มิติ คือ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนทางสังคม จากนั้นจึงเปิดให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาพื้นที่ การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพที่มีอยู่แล้วในชุมชน ได้แก่ กลุ่มตัดเย็บเสื้อสตรี กลุ่มแปรรูปปลาเค็ม และกลุ่มแปรรูปไข่เค็ม ให้มีคุณภาพและมีรายได้ที่มั่นคง ทั้งนี้ นายไพรัตน์ จีรเสถียร ให้ข้อมูลผลลัพธ์โครงการส่งเสริมอาชีพที่เคยดำเนินการในตำบลรูสะมิแลและวิเคราะห์ทางเลือกอาชีพ ได้แก่ การแปรรูปอาหารทะเล การซ่อมแซมเสื้อผ้า และ การยกระดับชุมชนท่องเที่ยว ด้าน นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา เสนอ 3 แนวทางการทำงานแก้ไขปัญหาความยากจน คือ 1. ต้องเข้าใจบริบทชุมชน 2. ในช่วงแรกเริ่มจากงานที่ไม่ซับซ้อน และเน้นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก 3. การส่งเสริมอาชีพต้องควบคู่กับการสร้างทัศนคติในการทำงานที่อดทน ทุ่มเท และพอเพียง

ในช่วงบ่าย ทีมปฏิบัติการทั้งนักวิจัย ม.อ.ปัตตานี พอข. และสภาองค์กรชุมชนฯ ลงพื้นที่ครัวเรือนยากจนตามฐานข้อมูล TPMAP เพื่อทดลองใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวมาออกแบบโมเดลแก้จนที่เหมาะสมกับครัวเรือนต่อไป รวมทั้งนำเข้าข้อมูลไปยังระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ หรือ Decision Support System (DSS) เพื่อให้ภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาและกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์ประสานงานการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนฯ

Relate topics