ทิศทางและแนวทางศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร

  • photo  , 1000x740 pixel , 135,128 bytes.
  • photo  , 496x702 pixel , 129,409 bytes.

ทิศทางและแนวทางศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร

จากวงปรึกษาหารือเมื่อปี  64 แต่ก็ยังไม่ได้ขับเคลื่อนมากนักด้วยข้อจำกัดทางทรัพยากร และสถานการณ์โควิท-19

โดยปี 65 นี้ก็ยังคงดำเนินไปตามแนวทางที่วางไว้คือ

1)การพัฒนายกระดับระบบ/กลไกขับเคลื่อนใน 3 ระดับ

1.1 กลไกศูนย์ฯ ระดับจังหวัดให้มีขีดความสามารถสนับสนุนศูนยระดับอำเภอ-ผู้ประสานระดับตำบลได้(กรรมการ กปท.)  ทั้ง 3 ระดับควรมีระบบ 3 เรื่องสำคัญ คือ

1.ฐานข้อมูลสารเทศที่ไว้ใช้งานที่เป็นปัจจุบัน

2.มีอาสาสมัครที่รู้ เข้าใจ (ความรอบรู้ทางสุขภาพ ตามผัง พลเมืองสุขภาพ) หลักประกันสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค

3.มีระบบสื่อสารและเฝ้าระวังทางสุขภ่พและคุ้มครองผู้บริโภค  และมีผลลัพธคือ การผ่านการประเมินองค์กรขั้นพื้นฐานและขั้นสูง ตามเกณฑ์การประเมินซึ่งได้ดำเนินการให้ห้วงต้นปี  ที่ผ่าน  และผลที่ควรเกิดคือการขึ้นทะเบียนกับ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ในปี 66  นี้

2)แนวทางหรือยุทธวิธีสำคัญ  มี 3 ประการ

2.1 การขับเคลื่อนภารกิจ งานหลักประกันสุขภาพ และเชื่อมต่อกับ 3 กองทุน สปสช คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น - กองทุน ltc -  กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ(รอการจัดตั้งของชุมพร)

2.2 การพัฒนากลไกเฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคระดับพื้นที่ และเลือกจุดเน้นประเด็นสำคัญมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเรียนรู้ เช่น  อาหารปลอดภัย (ผู้ผลิตปลอดโรค  ผู้บริโภคปลอดภัย)  การเท่าทันสื่อสินค้าออนไลน์  เป็นต้น

2.3  การสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานและระบบสุขภาพชุมชน  ผ่านกลไกอาสาสมัคร และกลไกจัดการสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น

2.4 การเพิ่มพูนขีดความสามารถ จาก 2.1-2.3 ข้างต้นนั้นปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาดคือ การเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบผสมผสานกันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  ทั้ง  onsite  และ Online  ด้วยมุ่งมาดปราถณาให้ผู้นำแกนสุขภาพเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในแต่ละด้านได้  ตามกรอบพลเมืองผู้รอบรู้ทางสุขภาพ (รับรู้เข้าถึงข้อมูล  เลือกนำใช้ได้ โต้ตอบแลกเปลี่ยนได้  ตัดสินที่ถูกต้อง ประยุกต์-ปรับเปลี่ยนใช้ความรู้ จนมีความรู้ใหม่  มีความรู้และถ่ายทอดได้)

3)การประสานความร่วมมือ คน-เงิน-งาน กับทุกภาคส่วนในพื้นที่และสังคม  ซึ่งในที่นี้  หลายพื้นที่/บางอำเภอ  ก็ได้รับการสนับสนุนจาก  กปท. อยู่แล้ว    บางพื้นที่ก็ กำลังจะได้รับสนับสนุนจาก Node flagship สสส.ชุมพร  และงานพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภค  สคบ  - สอบ (สภาองค์กรของผู้บริโภค)  เป็นต้น


ที่กล่าวมาคือการสรุป ทบทวนในสิ่งที่ทำมาร่วมกัน  และสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป  ในวันที่ 12  พฤษภาคม 65  รร.ศรียาภัย  อ.เมือง  ชุมพร  ทีจะมีเวทีทบทวนข้อมูล ชุดความรู้การดำเนินหลักประกันสุขภาพโดยเฉพาะ งาน กองทุนสุขภาพท้องถิ่น  ทั้งคนเก่า-คนใหม่(ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกาล และงาน)  และผู้ประสานงานตำบล/ท้องถิ่น  จะเป็นกลไกสำคัญ  ที่จะไปตอบโจทย์ข้อที่ 1

พลเมืองผู้รอบรู้ทางสุขภาพ  คือความเข้มแข็งของ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอต่างๆ

#ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร

#สมาคมประชาสังคมชุมพร

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ  สมาคมประชาสังคมชุมพร

Relate topics