ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต12

  • photo  , 1477x1108 pixel , 154,349 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 143,969 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 108,753 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 86,396 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 108,416 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 112,414 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 134,150 bytes.

ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กขป.เขต12

วันที่ 17 เมษายน 2567 ภาคบ่าย กขป.เขต12จัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่าย ร่วมนำเสนอแผนงานโครงการปี2567รับฟังผลการดำเนินงานปี2566 และให้ข้อเสนอแนะรวมถึงสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน  โดยมีกขป.และเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐ ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ ประชาสังคมเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานงานและผ่านระบบประชุมทางไกล

มีผลสรุปสำคัญดังนี้

1.แผนงานโครงการประจำปี 2567

-เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ทำแผนปี 67

1)การคุ้มครองสิทธิเกษตรกร การส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ได้แก่ ทุเรียนพื้นบ้าน กองส่งเสริมกาารเกษตรอบจ.สงขลาสนับสนุนงบประมาณ 7 แสนบาทดำเนินการในการประกวด การพัฒนาหลักสูตรอบรมเกษตรและเพิ่มมูลค่า

2)จดทะเบียนพันธุ์พืช 3 จว.(สงขลา สตูล พัทลุง+ยะลา) โดยเฉพาะทุเรียนพื้นบ้าน

3)ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร เชิดชูสวนสมรมเข้าสู่มรดกโลก

4)การส่งเสริมตลาดสีเขียว ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการ 2 แห่งในสงขลา คือ ตลาดคอหงส์และบ้านพรุ

5)จัดสมัชชาสวนยางยั่งยืนระดับจังหวัด ในสงขลาและยะลา

-สถาบันทักษิณคดีศึกษา จัดงานข้าวภาคใต้

-Node flagship สสส.ยะลา ร่วมกับเกษตรกร สภาเกษตรกร ศอบต.และสมัชชาสุขภาพจังหวัด สนับสนุนโครงการให้กับเกษตรกร 21 โครงการ ขยายผลต้นแบบ 2 โมเดล(ผลิตโดยสภาเกษตรกรและวิสาหกิจ)เน้นการผลิตผักปลอดภัย เพิ่มพื้นที่ปลูก และมาตรฐาน GAP สร้างรายได้ด้วยการส่งเข้าตลาด 5 ร. พร้อมกับผลักดันเข้าภาคียุทธศาสตร์คือ จังหวัดและพัฒนาชุมชน ศอบต.ในการสร้างตลาดชุมชน

-สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา

1)ส่งเสริมสวนยางยั่งยืน แก้ปัญหาการเผาในสวนยางที่มี 1 แสนกว่าไร่ ปีนี้จะสร้างตัวแบบที่ตำบลปริก สงขลาในการสร้างรายได้ในสวนยาง

2)ตลาดเขียว ทางเกษตรจังหวัดทุกแห่งเปิดตลาดให้กับเกษตรกรนำผลผลิตมาจำหน่าย และร่วมกับกองส่งเสริมการเกษตรอบจ.สงขลาเปิดตลาดสีเขียว 16 อำเภอ พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและพัฒนามาตรฐาน

3)เกษตรอัตลักษณ์ ทุกจังหวัดจะมีพืชอัตลักษณ์ของตน อาทิ สงขลามีขนุนไร้เมล็ด กาแฟ ทุเรียน ที่กำลังจะผลักดันเข้าสู่การทำ GI ปัตตานีมีเกลือหวาน กำลังผลักดันเข้าสู่มรดกเกษตรโลก

4)การรับรองมาตรฐาน GAP

-Node สสส.ขนาดเล็ก จังหวัดปัตตานี ส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในโรงเรียน สร้างครัวโรงเรือนไปสู่ครัวบ้าน สร้างนักวิจัยผักผลิตเมนูอาหารกลางวันให้เกิดการบริโภคผักในชุมชน การผลิตเครื่องแกง การแปรรูปอาหารทะเล และผลักดันในระดับยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด พบการปรับตัวของเกษตรกรหลังยุคโควิด ผู้บริโภคเน้นการสั่ง online มากขึ้น และปีนี้เกษตรกรพบปัญหาอากาศร้อน แล้ง ขาดน้ำอย่างรุนแรง

-งานสร้างสุขภาคใต้ สนส.ม.อ. ร่วมกับสสส.ได้มีการทำแผนของประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พบพื้นที่ปฏิบัติการดีๆในภาคใต้จำนวนมาก แต่มีลักษณะเชิงปัจเจก ไม่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกันได้และยากต่อการขยายผล ต้องการกลไกในการบริหารจัดการในภาพรวม ในการทำแผนได้นำมาวิเคราะห์กับห่วงโซ่อาหาร พบว่าภาคใต้มีปัญหาการผลิต 5 เรื่อง ได้แก่ ข้าว ผัก ไข่ ปศุสัตว์(โค/แพะ) ประมง ผลิตไม่เพียงพอ ภาคเอกชนมีการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ มีแนวโน้มจะพบปัญหาความมั่นคงทางอาหารในอนาคต การแก้ปัญหาจำเป็นต้องดำเนินการทั้งการเพิ่มผลผลิตและสร้างสุขภาวะให้กับเกษตรกร(ปลูกผัก/สวนยาง เกษตรกรใข้สารเคมี ประมงพบสารตะกั่ว)

-ศูนย์อนามัยที่ 12 พบปัญหาภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะแม่และเด็ก มีพัฒนาการล่าช้าในเด็กมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

-ศูนย์เมล็ดพันธ์ุข้าวปัตตานี พบปัญหานาร้าง ผลผลิตไม่เพียงพอ เกษตรกรขาดปัจจัยการผลิต

2.แนวทางดำเนินการ และข้อเสนอแนะสำคัญ

1)เป้าร่วมของการดำเนินงาน คน พื้นที่ ผลผลิต ทางสสก.ที่ 5 จะเป็นโซ่ข้อกลางสำคัญในการเชื่อมร้อยร่วมกับเครือข่าย Mapping ข้อมูล ประสานการทำงานร่วมกัน พร้อมผลักดันเข้าสู่ระบบของหน่วยงานรับผิดชอบ มีเป้าหมายเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารปลอดภัย/สุขภาพ ส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ที่ปรับตัวง่ายต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มมูลค่าการผลิต

ทั้งนี้ปัญหาท้าทาย คือ การขาดปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำเค็มรุกน้ำจืด และศัตรูพืช

2)ความร่วมมือระหว่างองค์กร อาทิ การพัฒนาผักผงของNode สสส.ยะลาร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 12 ลดปัญหาโภชนาการแม่และเด็ก สมาคมอาสาสร้างสุขเปิดศูนย์การเรียนยุวชนสร้างสุข ต้องการครูอาสาในด้านเกษตรมาสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กขาดโอกาส

3)ผลักดันเชิงนโยบาย ด้วยยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ และตัวอย่างรูปธรรม ในการแก้ปัญหาใช้แนวคิดเกษตรนิเวศเพื่อรับมือภาวะโลกเดือด ใช้ระบบนิเวศที่หลากหลายแตกต่าง ส่งเสริมพืชอัตลักษณ์ประจำถิ่นมากขึ้น เสริมด้วยงานวิชาการเพื่อยกระดับและสะท้อนปัญหา ศักยภาพ สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สำคัญ(เครื่องจักร น้ำ ปุ๋ย) มีการเชื่อมโยงด้วยข้อมูลและกลไก การแปรรูปผลผลิต การพัฒนามาตรฐานและการตลาดที่ผสมผสานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม การขายตรง

-พืชประจำถิ่นที่ควรส่งเสริม อาทิ กล้วยพื้นบ้าน ทุเรียน ข้าวเล็บนกแดง ข่า โสม จิงจูฉ่าย เป็นต้น

-ผลักดันเข้าสู่มรดกโลก ส่งเสริมสวนสมรม สวนดุซง สวนโบราณ รักษาพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ

Relate topics