ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม กขป.เขต12
ประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่ายประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม กขป.เขต12
วันที่ 17 เมษายน 2567 ภาคเช้า กขป.เขต12จัดประชุมอนุกรรมการและภาคีเครือข่าย ร่วมนำเสนอแผนงานโครงการปี2567รับฟังผลการดำเนินงานปี2566 และให้ข้อเสนอแนะรวมถึงสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยมีกขป.และเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐ ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ ประชาสังคมเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานงานและผ่านระบบประชุมทางไกล
มีผลสรุปสำคัญดังนี้
1.แผนงานปี 2567 ของหน่วยงานต่างๆ
-พชอ. ลดผลกระทบจากโควิด รวมถึงการดูแลกลุ่มเปราะบางต่างๆผ่านกลไก พชต. และuc-care ผลักดันวาระร่วมระดับอำเภอ ดูแลกลุ่มเปราะบางโดยใช้ข้อมูล TPmap รวมถึงกองทุน LTC และกองทุนสุขภาพตำบล โดยมหาดไทยดูแลด้านรายได้/อาชีพ สธ.ดูแลในด้านสุขภาพ/การปรับสภาพบ้าน มีตัวอย่างดีๆ เช่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จัดตั้งชมรมคนมือบน ระดมทุน ดูแลผู้ป่วยจิตเวช NCD ผู้ป่วย IMC ร่วมสร้างบ้านได้ 100%
งานระดับเขต เน้นการดูแลกลุ่มชาติพันธ์ในพื้นที่ ให้สามารถลงทะเบียนทำบัตรประชาชน ให้เข้าถึงสิทธิพื้นฐาน มีสสจ.สตูลรับผิดชอบ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การแพทย์และสาธารณสุข ที่รพ.สตูล ร่วมกับรพ.สต.เกาะหลีเป๊ะ ดูแลความปลอดภัยทางทะเล
-พมจ.สงขลา จัดทำโครงการหุ้นส่วนทางสังคม ร่วมกับปลัดกระทรวงและสสส. สร้างวาระร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย มีการปรับสภาพบ้าน สวัสดิการ และเน้นการสร้างสุขภาวะให้กับทุกคนในครอบครัว มีกลไกศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมระดับตำบล สำรวจและเก็บข้อมูลผ่านสมุดพกประจำครอบครัว ในด้านสังคมร่วมกับสสว.11 รายงานสถานการณ์ทางสังคม คัดกรองกลุ่มเปราะบางจาก 4.1 คนที่ลงทะเบียนสวัสดิการคนจน เป็นระดับเขียว ส้ม และแดง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเปราะบางที่แท้จริง และร่วมกับจังหวัดจัดตั้งศูนย์แก้ปัญหาความยากจนฯ ศจ.พจ.ร่วมลดความเหลื่อมล้ำ
-สสว.11 สนับสนุนทางวิชาการให้กับพมจ.ทุกจังหวัดในเขต ได้ทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมแล้วเสร็จพร้อมเผยแพร่ ผลการติดตามการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย การเข้าถึงสิทธิ์ของคนพิการพบว่ายังมีปัญหาการเดินทางและการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ต้องการระบบข้อมูลกลางที่จะใช้แก้ปัญหาร่วมกัน และต้องการให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับปัญหาเด็กปฐมวัย ที่พบปัญหาพัฒนาล่าช้า ทำให้เจอภาวะการเป็นโรคออทิสติกเทียม และครอบครัวแหว่งกลาง ขณะเดียวกันกลไก ศพด.กว่า 500 แห่งไม่เข้าสู่่ระบบการรายงานการติดตามงาน ขณะที่นโยบายยาบ้า 5 เม็ดมีส่วนทำให้เยาวชนเข้าถึงยาเสพติดได้มากขึ้น
-ศธ.ภาค มีความพยายามจัดตั้งกลไกระดับจังหวัดขึ้นมาดูแลเด็กปฐมวัย อยู่ในช่วงการผลักดันทางกฏหมาย และพบปัญหาขาดแคลนครูปฐมวัย ต้องการให้มหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรนี้มากขึ้น
-สมาคมอาสาสร้างสุข ร่วมกับศึกษาธิการจังหวัดสงขลาจัดตั้งสภาการศึกษา ที่มีกลไกสหวิชาชีพมาร่วมหารือเชิงนโยบาย ปี 67 มีแผนร่วมกับเครือข่ายระดมทุนและช่วยปรับสภาพบ้าน การทำงานยังพบการช่วยเหลือซ้ำซ้อน ต้องการพัฒนากลไกระดับพื้นที่ มีทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยมบ้าน และทำงานบนฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
-มัสยิดบ้านเหนือ ดูแลเด็กที่มีบัตรประชาชนหมายเลขศูนย์นำหน้าอยู่ 200 คนจากจำนวนเด็กที่มัสยิดและโรงเรียนดูแลอยู่ 800 คน ทั้งในเรื่องที่พัก อาหาร การศึกษา เสื้อผ้า หนังสือเรียน เด็กต้องการมีบัตรประชาชนคนไทย ส่วนปัญหาสำคัญที่อยากให้แก้ คือปัญหาครอบครัวแตกแยกและยาเสพติด
-คณะนิติศาสตร์ ม.ทักษิณ ร่วมแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิ์ ในส่วนบัตรประชาชนนั้นสามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่มคือ สิทธิพื้นฐานในฐานะพลเมือง สิทธิตามสัญชาติ และสิทธิตามดินแดน
-สปสช.เขต 12 ชี้แจงในส่วนของผู้ถือบัตรหมายเลขศูนย์นำหน้า สามารถซื้อบัตรสุขภาพเพื่อเข้าถึงบริการ ปัจจุบันได้ร่วมกับรพ.หาดใหญ่บริการตรวจ DNA พิสูจน์สิทธิ์ ในส่วนการบริการโดยเฉพาะกองทุนสุขภาพตำบล/สถานศึกษา โดยร่วมกับรพ.หรือรพ.สต. มีการส่งเสริมการตรวจวัดสายตาและตัดแว่นในกลุ่มเด็ก 3-12 ปี รวมถึงกระตุ้นให้เข้าถึงการใช้บริการกองทุน LTC
-กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อบริการคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลัน อยู่ในช่วงการแก้ไขทางเทคนิคและพร้อมขยายผลร่วมกับกองทุนฯในเขต 12 เห็นด้วยที่จะดูแลเด็กปฐมวัย กองทุนฯเน้นการบริการทันตกรรม การทำงานกับศพด. 4D ปัจจุบันได้จัดทำศูนย์ซ่อมสร้างสุขเป็นแห่งที่ 4 มีการพัฒนาโปรแกรมบ้านสร้างสุขแบบ online ดูแลการปรับสภาพบ้านให้สอดคล้องกับความพิการ ปีนี้จะดำเนินการปรับสภาพบ้าน 148 หลัง พร้อมกับบ้านยืมคืน(น็อคดาวน์) นอกจากนั้นยังดำเนินการธนาคารยืมคืนกายอุปกรณ์ 17 แห่ง (เตียง รถเข็น ที่นอนลม) มีการจัดตั้งศูนย์สร้างสุขชุมชนฟื้นฟูสมรรถภาพเชิงรุกให้กับพื้นที่ ดำเนินการไปแล้ว 16 แห่ง มีการดำเนินการธนาคารพันเตียง พัฒนาที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไตและผ้าอ้อมซักได้อยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน
-กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดปัตตานี จัดทำศุนย์ซ่อมกายอุปกรณ์ การปรับสภาพบ้านร่วมกับพมจ. และพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง
-ประชาสังคมสตูล(กัลยทรรศน์ ติ้งหวัง) ร่วมกับสสส.แก้ปัญหาให้กับกลุ่มสตรีมุสลิม ในด้านที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาพ อาชีพ กำลังขยายผลไป 5 จว.ชายแดนใต้ ต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายมัสยิด ร่วมกับผู้นำศาสนาร่วมแก้ปัญหาสตรีที่พบปัญหายาเสพติด จิตเวชมากขึ้น
-node โควิดภาคใต้ 6 จว.ใต้ล่าง ร่วมกับสสส. พอช. สนับสนุนโครงการลดผลกระทบจากโควิดในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ จำนวน 30 โครงการ
-สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา/สตูล จัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดและอปท.นำร่อง ในส่วนจังหวัดสงขลาดำเนินการ 5 แห่ง และจัดทำแผนระดับชุมชนโดยใช้ระบบกลุ่ม iMed@home คัดกรองสุขภาวะ 4 มิติให้กับกลุ่มเป้าหมาย
-สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา ร่วมกับม.ราชภัฎ พชอ.เมือง มูลนิธิซะกาต นำข้อมูล TPmap ลงไปแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย
2.แนวทางดำเนินการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2.1 ระดับองค์กร/เครือข่าย ร่วมมือกันดำเนินงานภายใต้ภารกิจ งบประมาณ เป้าหมายร่วมเดียวกัน ในลักษณะเสริมหนุนกันและกัน บนฐานรองรับการรับมือสังคมเปราะบางที่ต้องลดผลกระทบทั้งด้านการศึกษา การปรับสภาพบ้าน การเข้าถึงสิทธิ์ อาชีพและรายได้ ยาเสพติด โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็กปฐมวัย คนพิการ/ผู้สูงอายุ สตรี
2.2 ระดับเขต ควรมีเป้าหมายร่วม/ตัวชี้วัดร่วม(เข้าถึงบริการตามสิทธิพื้นฐาน)เพื่อหวังผลการดำเนินงาน บนฐานนิยามความเข้าใจที่ตรงกันและมีกลุ่มเป้าหมายที่วัดผลได้
2.3 มี sandbox การขับเคลื่อนหลายระดับ เช่น ระดับจังหวัดที่มีกองทุนฟื้นฟูฯ/พมจ.เป็นแกนหลัก ระดับอำเภอที่มีพชอ.เป็นแกนหลัก และระดับตำบลที่มีกองทุนตำบล/ศุนย์ช่วยเหลือทางสังคม/สภาองค์กรชุมชน หรือระดับองค์กร เช่น มัสยิดบ้านเหนือ ร่วมกันระหว่างม.ทักษิณ สปสช. มูลนิธิฯ แก้ปัญหาเด็กในการดูแล
จุดเน้นคือมีกลไกสหวิชาชีพ มีข้อมูลกลาง มีแผน/นโยบายรองรับ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”