เวทีกลั่นกรองและพิจารณาโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร : ข้าวตรัง

  • photo  , 1000x564 pixel , 94,948 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 160,050 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 118,387 bytes.
  • photo  , 1536x2048 pixel , 172,136 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 141,927 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 88,677 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 149,600 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 94,948 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 203,498 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 91,253 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 203,540 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 97,256 bytes.
  • photo  , 1536x2048 pixel , 172,136 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 104,039 bytes.

เวทีกลั่นกรองและพิจารณาโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร :ข้าวตรัง

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565    ณ ห้องประชุม 116 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

มีชุมชนร่วมฟื้นคืนชีวิตวิถีนาทั้งข้าวนา และข้าวไร่  11 พื้นที่ ได้แก่

1)ต.บางดี

2)ต.แหลมสอม

3)ต.ปะเหลียน

4)ต.บางสัก

5)ต.เขาไพร

6)ต.นาพละ

7)ต.นาข้าวเสีย

8)ต.โคกสะบ้า

9)ต.อ่าวตง

10)ต.นาหมื่นศรี

กระบวนการให้ตัวแทนคณะทำงานทั้ง 11 พื้นที่เป้าหมาย บอกเล่าความคิด ความฝัน และสิ่งที่อยากเห็นต่อจากนี้อีก 1 ปี

โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากคุณหมอสุภัทร ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. แล้ว ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่จังหวัด
ประกอบด้วย คุณทวี สัตยาไชย ผู้ทรงคุณวุฒิ Node Flagship ตรัง  คุณประพันธ์ วรรณบวร ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน  คุณณินท์ญาดา รองเดช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง  คุณพิพัฒน์ จุติอมรเลิศ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตรัง
และพี่เลี้ยงพื้นที่ ได้แก่  นักวิชาการจากสำนักเกษตร ทั้งจาก อ.ปะเหลียน อ.นาโยง และ อ.ห้วยยอด

มีบางพื้นที่ที่ได้รับคำชื่นชมในกระบวนการออกแบบโครงการที่ชัด อาทิ ต.บางดี และ ต.โคกสะบ้า

ข้อเสนอแนะสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้สมบูรณ์

-แต่ละพื้นที่ต้องเลือกจุดเน้นสำคัญที่ต้องทำให้ได้ภายใต้รายละเอียดตัวชี้วัดบันไดผลลัพธ์ที่มีหลายข้อ

-เพิ่มการสื่อสารออนไลน์ การเก็บภาพ การทำ VDO

-ไม่เน้นสนับสนุนปัจจัยในการผลิตรายบุคคล แต่เห็นด้วยกับการสนับสนุนเชิงแปลงสาธิตกลาง

-ความท้าทายในการสร้างกองทุนกลางจากผลผลิตกำไรจากการทำนาเพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำงาน

-กิจกรรมศึกษาดูงาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมและประโยชน์สูงสุด

-การเพิ่มข้อมูลภาคีที่เข้ามามีส่วนร่วม และเชื่อมโยงภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ อปท เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการทำงาน

หลังจากนี้ให้เวลาอีก 3 วันในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการฉบับสมบูรณ์ร่วมกับพี่เลี้ยง และส่งให้ทางหน่วยจัดการฯ Node Flagship ตรัง


ความคิด ความฝัน และสิ่งที่อยากทำ?

จะฟื้นฟูความรู้สึกของผู้คนต่อการทำนาอย่างไร?

จบ 1 ปีอยากเห็นอะไรเป็นที่โดดเด่น?

ข้อคำถามสำคัญของ คุณหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ Supat Hasuwannakit  ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ต่อตัวแทนคณะทำงานผู้นำเสนอโครงการความมั่นคงทางอาหาร :ข้าวตรัง จากทุกพื้นที่ในเวทีกลั่นกรองและพิจารณาโครงการฯ


"เราไม่ได้ปลูกข้าว เพื่อให้ได้เพียงข้าวแต่เรากำลังช่วยกันสร้างกระแสสังคม"

หนึ่งในข้อคิดทิ้งทายของ คุณหมอสุภัทร ฮาสุววรณกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.

เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics