ล้อมวงคุยว่าด้วยเรื่อง "สายน้ำแห่งพัทลุง"

  • photo  , 1000x750 pixel , 115,386 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 232,472 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 312,548 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 339,791 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 272,243 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 229,152 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,551 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 237,898 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 236,468 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 267,178 bytes.

วันที่ 6 มิถุนายน 2565  วงล้อมคุยที่บรรยากาศผ่อนคลาย และมากมายไปด้วยของกินวงนี้ กระจายไปทีละพื้นที่ ทีละพื้นที่ เพื่อคุยเรื่องน้ำในจังหวัดพัทลุง กับคนพัทลุงเอง

เราที่ก็อยู่กับน้ำ มีคลองอยู่หลังบ้าน และน้ำหลากทุกปี แต่เอาเข้าจริงๆ เรารู้จักความสัมพันธ์ของสายน้ำในบ้านตัวเองน้อยมากๆ น้อยจนมันใกล้จะหายนะ โดยฝีมือของคนที่ทำให้น้ำที่ประชาชนเคยเข้าถึงง่ายๆ กลายเป็นของรัฐ ที่ต้องขออนุญาติเปิดปิด หรือเป็นของเอกชน ที่ต้องซื้อหาในที่สุด ในขณะที่ความเป็นจริง จังหวัดพัทลุง มีน้ำอย่างเพียงพอที่ทุกคนเข้าถึงได้ และประชาชนในพื้นที่เองก็จัดการน้ำนั้นได้ด้วยตัวเอง ในงบประมาณอันน้อยนิด

นั่งฟังตาปริบๆ รู้สึกมีพลังมากนะ อย่างน้อยๆ คิดว่าถ้าคนได้รู้ความจริงเรื่องน้ำ เรื่องการจัดการน้ำของภาครัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้รู้ถึงหายนะในรูปแบบที่ล่อด้วยคำว่า “เรามาเพื่อแก้ปัญหา” คนรุ่นใหม่แบบพวกเราไม่เอาแน่ และการอุ๊บอิ๊บด้วยวิธีการเดิมๆ คนรุ่นใหม่ก็ไม่เอาด้วย มันเชยจัง

พวกเขาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่ารัฐคิด เมื่อไหร่ที่พวกเขาลุกขึ้นสู้ด้วยข้อมูล และเทคโนโลยี ไม่ใช่เพียงการตะโกนอย่างมีอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแน่นอน “ถ้าจังหวัดพัทลุง จะเป็นโมเดลจังหวัดแรกของประเทศ ที่ประชาชนจัดการน้ำด้วยตัวเอง และรักษาสายน้ำที่เหลือไว้ได้....”

1.ที่พูดกันว่าเราจะเป็นเมืองรองท่องเที่ยวอันดับ 1 จะขายภูมินิเวศ ขายธรรมชาติ ขายอากาศ ขายความบ้านๆ ทั้งหมดเป็นภาพฝันเท่านั้น ถ้านิเวศเรื่องน้ำถูกทำลาย ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

2.เขื่อนคือความทุกข์ซ้ำเติมพวกเรามาตลอด ตั้งแต่มีมา 3 เขื่อน ช่วงหน้าแล้ง เขื่อนเองก็ไม่มีน้ำ ต้องกักน้ำไว้ในปริมาตรที่กำหนด ไม้ใหญ่บนเขื่อนถูกตัดไปหมดแล้วตั้งแต่ตอนสร้าง เหลือแต่ไม้อ่อนไว้ 30% ไม่ช่วยอะไร พอหน้าฝน น้ำฝนก็เยอะฉิบหายอยู่แล้ว น้ำในเขื่อนล้น ก็ปล่อยมาให้ประชาชนอีก เธอไม่มีตัวตนอยู่จริงในวันที่ฉันต้องการเธอ

3.โครงการที่จะสร้างทั้งหมด 21 เขื่อน บนแนวเขาบรรทัด เฉลี่ยแล้วตก 4 กม. ต่อเขื่อน WTF!!!! แข่งขันทำเขื่อนชิงถ้วยเหรอ

4.หากการจัดการน้ำไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนจริงๆ เราจะออกแบบเมืองสีเขียว ตามที่อยากจะไป อยากจะเป็นไม่ได้เลย

5.การสร้างเขื่อนที่เกิดขึ้นเป็นการใช้วิศวกรรมนำหน้านิเวศมาตลอด ถ้าเราเอานิเวศเป็นที่ตั้งก่อน แล้วใช้วิศวกรรมตามหลัง เราจะไม่สูญเสียงบประมาณเยอะแยะมาก ตั้งงบสร้างเสร็จ เปิดเอกสารดูต่อ อ่อ งบซ่อมเลย!! แต่ก็นะ ถ้างบ 20 ล้าน ซอยย่อยให้ประชาชนจัดการเองได้หลายร้อยโครงการ มันไม่หวาน ไม่อิ่มละซี้ รู้นะ อิอิ

6.ปีนี้คุยกันเรื่องน้ำ อาจเข้าใจยากสักนิด เพราะฝนเยอะ ยังมองไม่ออกว่าหายนะตอนมันแล้งเป็นยังไง ปีหน้าเราเจอแน่ๆ เกียมตัวเลยแม่

7.เราต้องเลิกมองเป็นจุดๆ เป็นส่วนๆ แล้วมาดูภาพใหญ่ร่วมกันก่อน แล้วจะแยกไปทำส่วนๆ ก็ค่อยว่ากัน  อย่างเช่นถ้าไม่มีน้ำจากเขา นั่นก็หมายความว่าคนทางเลก็จะไม่มีน้ำ น้ำเค็มก็รุก มันต่อเนื่องกันโดยธรรมชาติ อย่ามองแยกเขตการปกครอง ให้มองธรรมชาติองค์รวม

8."ทำนาแล้วเหนื่อยมากตอนนี้” ช่วงเราต้องการน้ำ น้ำไม่มีเลย พอหว่านข้าวปลูกเสร็จ ข้างบนระบายน้ำมาจมหมดทุกรอบ เฉพาะค่าข้าวปลูกปีนี้พื้นที่ 6 ไร่ จ่ายไป 6 พันแล้ว

9.เราจะต้องเก็บข้อมูลกันเองในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด ปัจจุบันเก็บง่าย มีตัวช่วยเยอะ ใครจะมารู้ดีเรื่องน้ำบ้านของเรา มากกว่าตัวเรา ที่สำคัญมันเป็นยุคสู้รบกันด้วยข้อมูลด้วยสิ บริษัทที่ปรึกษาก็กลัวนะ วิจัยจากคนในพื้นที่อ่ะ เมื่อเราชนะด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง แล้วสาธารณะจะช่วยเรา ช่วงแรกอาจโดดเดี่ยว แต่ถ้าเป้าหมายชัดให้ทำไป แล้วถ้าเรื่องมันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอื่นๆ เราจะมีคนช่วย

10.สายน้ำเขาดีไซน์ตัวเขาเองให้มีความโค้ง ความคดเคี้ยว มีลึก ตื้น เพื่อลดความรุนแรงของน้ำ เพื่อให้มีที่เก็บน้ำ เพื่อให้นิเวศพืชพรรณ สัตว์น้ำได้อยู่ การทำสายน้ำให้ตกแน่ว ด้วยเหตุผลว่าระบายน้ำไว แน่ใจนะ?​ ช่วงน้ำแล้ง เราได้แต่ยืนเกาะขอบคันคลองซีเมนต์ คลองอยู่หลังบ้านก็ไม่รู้จะไปใช้น้ำยังไง ท้อใจ

11.ความหายนะเรื่องน้ำในพัทลุง ตอนนี้ถือว่าเป็นช่วงที่เรายังจะปกป้องได้ทัน ถ้าร่วมกัน ในขณะที่หลายๆ ที่ หายนะไปเรียบร้อยแล้ว เรื่องน้ำไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ลองเพิกเฉยดูสิ ได้เห็นหายนะแน่ คนที่จ้องจัดการเรื่องน้ำ เขาก็ทำอะไรงุบงิบอยู่นะ บีบมือเพื่อนฝูง

12.การที่เราลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องน้ำในจังหวัดเล็กๆ เพื่อเป็นโมเดลการจัดการน้ำโดยประชาชนก่อน ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เห็นแก่พื้นที่อื่นๆที่กำลังหายนะเช่นกัน แต่เรื่องนี้ต้องมีนำร่องสักจังหวัดให้ได้ พัทลุงทำได้ ที่อื่นก็พร้อมลุย หรือจะลองลุยไปพร้อมๆ กันก็ได้

13.เรานั่งฟังรุ่นใหญ่ที่เขาต่อสู้รักษาทรัพยากรไว้ให้พวกเราด้วยใจจริงแล้ว บางครั้งก็ถามเขาได้อะไรคุ้มเสี่ยงคุ้มตายไหม มันก็สะกิดความเป็นตัวตนลึกๆ ของเราว่า เราช่วยเรื่องน้ำในจังหวัดเราอย่างไรได้บ้าง ในวิถี ในมุมมองของคนรุ่นใหม่นี่แหละ พวกเราสายหวาน สายชิล สายสวย สวยประหาร555

14.คนพัทลุงดีไซน์เมืองด้วยตัวเองได้ เราโชคดีมากที่ระบบนิเวศยังไม่พัง (แม้จะมีคนจ้องหาผลประโยชน์อยู่) ถ้ารักษาระบบนิเวศไว้ได้ก่อน คนพัทลุงก็ดีไซน์เมืองอย่างที่อยากเป็นได้ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเราตั้งใจเป็นเมืองเงียบๆ ที่ขายธรรมชาติ ขายอากาศ ขายสายน้ำ ขายภูมิปัญญา ฯลฯ

15.วันนี้ได้รู้ความจริงว่า อบต. ก็น่าเห็นใจมากนะ โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง เงินก็มีอยู่น้อยนิด บางที่ได้ 3 ล้าน เป็นงบเก็บขยะไปแล้ว 2.5 ล้าน ไหนจะงานวันเด็ก งานกีฬาหมู่บ้าน หมดละ แต่ชาวบ้านไม่รู้จะลงกับใครก็ลง อบต.ก่อน ภาคเอกชน ภาครัฐไม่รู้จะชนใครก็ อบต. รับไป โถถัง!! คราวนี้เรื่องน้ำ เราสู้กับตัวใหญ่กว่า อบต.เยอะ

มีข้อมูลเชิงลึก เชิงสถิติอีกมากมายที่พี่ๆ น้องๆ แลกเปลี่ยนอย่างน่าสนใจ ขอให้กำลังใจพี่ๆ น้องๆ ที่ทำงานนี้เพื่อคนพัทลุง ขอบคุณที่ชวนไปรับฟังแลกเปลี่ยนนะคะ

เราเองเป็นตัวน้อยๆ  แต่เราจะไม่ปล่อยให้คนต่อสู้ เขาสู้อย่างโดดเดี่ยวแน่นอน ไม่ได้มีอุดมการณ์แน่วแน่อะไรหรอกนะ เราต่างก็เห็นแก่ตัว และเห็นว่าหากไม่รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ภัยก็มาถึงตัวเราเอง ง่ายๆ เท่านี้เลย

หรือใครอยากรู้จักสายน้ำบ้านตัวเองก็ชวนพี่ๆ น้องๆ ไปล้อมวงเล่าได้

ขอบคุณข้อมูลจาก Facebooke Jariya Chuchuay  ผู้บันทึกเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง

Relate topics