"iMed@homeกับเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
"iMed@home กับเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
วันที่ 7 มิถุนายน 2565 สมาชิกเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา 10 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนภราดร ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวช ชุมชนมิตรสัมพันธ์ ชุมชนกุโบร์ ชุมชนสนามบิน ชุมชนนอกสวน ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ ชุมชนพัฒนาใหม่ ชุมชนชัยมงคล
ร่วมอบรมการใช้งานแอพพลิเคชั่น iMed@home เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลสมาชิกของตนในชุมชน
iMed@home
คือแอพพลิเคชั่น จัดทำระบบข้อมูลกลางช่วยสนับสนุนการทำงานดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางทางสังคม อย่างมีส่วนร่วม พัฒนาโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาและโปรแกรมเมอร์ภาณุมาศ นนทพันธ์ โดยงบประมาณจากรัฐบาลผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)เมื่อปี 2560 และความร่วมมือผ่านการ MOU ร่วมกันระหว่างกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา พมจ.สงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา ฯลฯ รวม 11องค์กรความร่วมมือ
-จัดเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางทางสังคม ทั้งผ่านแบบสอบถามหรือผ่านระบบเยี่ยมบ้าน นำข้อมูลรายบุคคลไปประกอบการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต พร่อมรายงานเชิงสถิติเชิงพื้นที่/ประเภท
-ระบบเยี่ยมบ้านเพื่อรายงานกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลประชากรกลุ่มเปราะบางสำรวจความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ วัดADL ฯลฯ ลดความซ้ำซ้อน ส่งต่อเชื่อมโยงการช่วยเหลือ พร้อมรายงาน
-มีระบบจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล การทำงานจะต้องได้รับความยินยอมจากกลุ่มเป้าหมาย
-การทำงานมีทั้งระบบ Admin ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ สามารถดูและแก้ไขข้อมูลรายบุคคล และการสมัครสมาชิกเพื่อให้สามารถใช้ระบบการเยี่ยมบ้าน หรือบันทึกนำเข้าผู้ป่วยรายใหม่ ผู้นำเข้าคนแรกจะสามารถดูและแก้ไขข้อมูลบุคคลนั้น
-การทำงานผ่านระบบกลุ่ม สามารถจัดทำ care plan คุณภาพชีวิตรายบุคคล
การทำงานด้านข้อมูลมิได้หวังแค่ได้ข้อมูล แต่การทำข้อมูลจะนำเราไปสู่การปรับระบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจแก้ปัญหา ลดช่องว่าง ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ ฯลฯ
สมาชิกที่เข้าร่วมเห็นด้วยที่จะให้มีการเก็บข้อมูลผ่านระบบเยี่บมบ้านที่สามารถสนองตอบปัญหาได้รวดเร็วมากกว่าเก็บผ่านแบบสอบถามหรือวิธีอื่นๆ ระบบเยี่ยมบ้านทำได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์หรือเดือนตามความเหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปสู่การประสานหน่วยงานและร่วมกันแก้ปัญหาให้กับสมาชิกต่อไป
แนวทางการทำงานต่อไป
1)ร่วมกับอำเภอเมือง/พช. แก้ปัญหาความยากจน ค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยงบความร่วมมือจากมูลนิธิชุมชนสงขลาในการอำนวยความสดวกในการลงเก็บข้อมูล และร่วมแก้ปัญหาแบบครบวงจร รอประสานหลังวันที่ 15 มิย.นี้
2)วางรากฐานการทำงานในชุมชนระยะยาว พัฒนาระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกับชุมชน เบื้องต้นหาชุมชนนำร่องเพื่อสร้างการเรียนรู้กับเครือข่ายพัฒนาเมือง
-จัดเวทีประชาคมร่วมรับรู้ ร่วมตัดสินใจ
-จัดตั้งคณะทำงานแต่ละโซน/ซอย กลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ ลงเก็บข้อมูลสร้างช่องทางสื่อสาร กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน
-เก็บข้อมูล/ทบทวนข้อมูล/จัดระบบข้อมูล นำไปสู่การทำแผนชุมชนและพัฒนากรรมการชุมชน
-ประกาศใช้ข้อตกลงเป็นธรรมนูญชุมชน
พื้นฐานการทำงานอย่างมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาลจะช่วยยกระดับการทำงานให้กับเครือข่ายต่อไป
คลิปแนะนำ app iMed@home
Relate topics
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"
- “สช. สานพลังกลไกคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาภัยคุกคามจากบุหรี่ไฟฟ้า ในพื้นที่เขตสุขภาพเพื่อประชาชน”
- ”นครศรีธรรมราชโมเดล ปกป้องเด็กและเยาวชน“
- ตรังเดินหน้า ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ”รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ”
- เหลียวหลัง แลหน้า ต่อยอดพัฒนางานสร้างสุขภาคใต้
- คนรุ่นใหม่ร่วมสร้างนิเวศน์ชุมชนในการลดปัจจัยเสี่ยงชุมชนบ้านบือแรง ต.ลาโละ อ.รือเสาะ นราธิวาส
- ประชุมทีม กขป.เขต ๑๒ ชุดเล็ก
- "ประชุมทีมเลขาร่วมกขป.เขต 12"
- นครศรีธรรมราชพร้อม พร้อมขยายความสุข ให้ทั่วจังหวัด