ความคืบหน้าปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง

  • photo  , 1000x750 pixel , 124,123 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 143,111 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,123 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 106,233 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 127,363 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 137,133 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 92,090 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 115,634 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 199,441 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 169,266 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 89,240 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 131,443 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 114,522 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 90,731 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 97,441 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 143,511 bytes.
  • photo  , 959x720 pixel , 198,767 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 182,113 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,227 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 133,017 bytes.
  • photo  , 843x843 pixel , 179,698 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,727 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 201,806 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 189,892 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 195,229 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 103,367 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,590 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 193,145 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,752 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 170,005 bytes.

โอกาสดีที่บางดี

1 ใน 11 พื้นที่ชุมชนชวนกันสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง ร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง

ต.บางดี อ.ห้วยยอด มีกลุ่มเกษตกรที่พยายามรักษาและสืบสานการปลูกข้าวไร่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  มีน้าซุปเปอร์ ที่เป็นตัวจริงแกนนำสำคัญในเรื่องนี้
ศุกร์ที่ผ่านมาจึงเป็นโอกาสที่ทีมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวไร่  ได้ชักชวนภาคีเครือข่ายให้มาร่วมรับรู้ในการแผนงานโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารฯที่ได้รับการสนับสนุน  โดยได้รับการอนุเคราะห์สถานที่ห้องประชุมของ อบต.บางดี

ผู้เข้าร่วมประชุม มีสมาชิกเกษตรกร มีเจ้าหน้าที่เกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ ต.บางดี มีผอ.สปก.ตรัง  กยท.ห้วยยอด  มีตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาที่ดิน ความน่าตื่นตาตื่นใจคือมี ผอ.โรงเรียน 3 โรงเรียนในพื้นที่เข้าร่วมทั้งโรงเรียนควนอารี โรงเรียนบ้านซา โรงเรียนวัดบางดี  มีตัวแทนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

กระบวนการชวนกันเรียนรู้การขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง กรณีข้าวเบายอดม่วง ที่มีการขับเคลื่อนปฏิบัติทั้งระดับพื้นที่ การหนุนเสริมของภาคีและยกเป็นวาระของจังหวัด
ต่อด้วยการอธิบายรายละเอียดโครงการ ผลลัพธ์สำคัญ กิจกรรม ตัวชี้วัด โดยมีตัวชี้วัดสำคัญที่ท้าทาย อาทิ การเพิ่มพื้นที่การผลิตข้าว 20 % การเพิ่มจำนวนผู้บริโภคข้าวในชุมชน 10%
ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยน

-ได้ข้อมูลจาก กยท.ว่า ทาง ต.บางดี ปีนี้มีล้มยาง 1,053 ไร่ ซึ่งสามารถเป็นพื้นที่เชิงกลุ่มเป้าหมาย

-ทางผอ.โรงเรียน / ตัวแทนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เสนอให้พื้นที่ของโรงเรียนสำหรับปลูกข้าวไร่ และจะเชื่อมโยงการนำเด็กมาเรียนรู้

-มีข้อเสนอให้ดึงผู้ปกครอง ชุมชนเข้ามามีส่วนในกิจกรรมการปลูกข้าวไร่

-สำหรับฤดูการปลูกข้าวไร่ เริ่มจากมิถุนายน - สิงหาคม

-ทางพื้นที่มีข้าวพันธุ์หอมดง ที่คัดเลือกอยากเป็นตัวชูของบางดี

เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่น่าสนใจ จากจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรที่ภูมิปัญญา ชุดประสบการณ์การปลูกข้าวไร่ การมีภาคีเครือข่ายเข้ามาหลากหลาย การมีสถานศึกษาให้ความสนใจเข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน

ปิดท้ายการประชุมด้วยการเก็บภาพร่วมกันเป็นจุดเริ่มต้นชวนกันขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรังในตำบลบางดี

#ตรังเมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน


ok อ่าวตง แฮ

ไม่แน่ใจว่าจะมีคน get กับมุกนี้ของผมไม่นะครับ

ถ้า get ก็แสดงว่าอายุอานามน่าจะไล่เลี่ยกัน

วันนี้เก็บตกบรรยากาศการลงพื้นที่ บ้านเก่าขนุน  ม.5 ต.อ่าวตง อ.วังวิเศษ จ.ตรัง  1 ใน 11  พื้นที่ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง  โดยมีจุดเน้น คือ "ข้าวไร่" ซึ่งสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรมสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ลุงเที่ยง ในฐานแกนนำกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ จึงนัดหมายคณะทำงาน และประสานภาคีเครือข่ายในตำบลให้มารับทราบทิศทางแนวทางและกิจกรรมภายใต้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก Node Flagship จังหวัดตรัง มีตั้งแต่ ท่านกำนัน  รองนายกอบต.อ่าวตง ผอ.รพ.สต. ผญ.บ้านในพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีภาคีที่แม้ไม่ได้เข้าร่วมประชุมวันนี้แต่เป็นภาคีการทำงานของกลุ่มพื้นที่ ทั้ง สำนักงานปฏิรูปที่ดิน มี กยท. มีสภาเกษตรกร

กระบวนการชวนกันให้เห็นภาพใหญ่เรื่องความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง โดยเอาเรื่องราวข้าวเบายอดม่วง ที่มีกระบวนการผลิต การพัฒนาสายพันธุ์ การตลาด และการเชื่อมโยงกับแผนงานนโยบายของจังหวัด

เนื่องจากที่ผ่านมาเรื่องราวของข้าวไร่ ไม่ค่อยมีข้อมูลการทำงานที่ชัดเจน มีข้อมูลเพียงบางกลุ่ม การทำงานความเป็นเครือข่ายไม่ชัดเจนมากนัก ทำให้ยังขาดการหนุนเสริมหรือเชื่อมต่อกับแผนงานระดับจังหวัด พร้อมจุดประกายว่า กรณี ข้าวไร่ถ้าเรามีรูปธรรมชัด เครือข่ายชัด ภาคีหน่วยงานที่ชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้ที่อนาคตจะมีแผนงานสนับสนุนในระดับจังหวัดต่อไป

กระบวนการชวนกันคลี่บันไดผลลัพธ์ให้เห็นทั้งผลลัพธ์ ตัวชี้วัดสำคัญ ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง 10 เดือนต่อจากนี้  ได้แก่

1)การมีกลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารที่เข้มแข็งระดับตำบล

2)การเกิดข้อตกลงในการดำเนินการความมั่นคงทางอาหาร

3)การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการฟื้นฟูข้าวตรังปลอดภัย(การผลิต)

4)ประชาชนสามารถเข้าถึงข้าวปลอดภัย (การตลาด)

5)ประชาชนบริโภคข้าวตรังปลอดภัยมากขึ้น

และพิจารณาตัวชี้วัดสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ผลิตข้าวไร่ 20% จากเดิม

ซึ่งพื้นที่ปลูกปีที่ผ่านมา 752 ไร่ เพิ่ม 20 % คือ 150 ไร่ คือความท้าทาย

และการทำให้คนอ่าวตงบริโภคข้าวของคนในตำบลเพิ่มขึ้น 10 %

มีการให้ลองยกมือว่าใครได้กินข้าวไร่ในตำบลบ้างปรากฎว่าท่านที่ไม่ได้กินคือเหล่าผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นอีกโจทย์น่าคิดของตำบล

ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการ

-ท่านกำนันกำลังล้มยางก็ปวารณาตัวให้พื้นที่ 30 ไร่สำหรับการปลูกข้าวไร่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตข้าวไร่

-มีข้อเสนอแนะอยากให้ประชาสัมพันธ์และขยายเพิ่มสมาชิกที่เข้าร่วม

-อยากให้มีการเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ เด็กเยาวชนให้มาเรียนรู้

ปิดท้ายมีการมอบข้าวเบายอดม่วง แก่ท่านผู้นำชุมชน กำนัน รองนายกอบต. ผอ.รพ.สต. และท้าทายว่าอนาคตได้มีข้าวแบรนด์ของคนอ่าวตงต่อไป


เกลอกรีนตรัง  พร้อมส่งต่อ "ข้าวนาบ้านเรา"

รู้หรือไม่ว่าจังหวัดตรังมีพื้นที่ผลิตข้าวเพียงหมื่นกว่าไร่ ผลผลิตคิดเป็นเพียงประมาณ 5 % ของการบริโภคของคนตรังทั้งจังหวัด
แต่เชื่อหรือไม่ว่าข้าวท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกลับตั้งค้างอยู่กับครัวเรือนชาวนา แม้จะจัดแบ่งสำหรับเก็บไว้กินแล้ว

ทั้งผู้บริโภคคนตรังเองที่หลายคนก็คุ้นชินกินข้าวสารที่ขายตามท้องตลาด มากกว่าการกินข้าวบ้าน และไม่รู้แหล่งผลิตข้าวบ้านเราที่ปลอดภัย รวมทั้งจากชาวนาเองที่ไม่ถนัดด้านการขายด้านการตลาด

หลายครั้งชาวนาต้องจำใจขายข้าวเปลือกในราคาถูกให้กับพ่อค้าคนกลาง ก่อนที่จะถึงรอบการผลิตใหม่ที่จะมีข้าวใหม่มาทดแทนในที่จัดเก็บ
จะดีไม่ถ้าทำให้คนตรังได้กินข้าวนาบ้านเรา  กินข้าวจากชุมชนที่ยังพยายามรักษาวิถีชีวิตวิถีนา ทำนาแบบปลอดภัย

เกลอกรีนตรังพร้อมเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสนับสนุนให้คนตรังได้กินข้าวตรัง

ทั้งเป็นตัวกลางส่งต่อข้าวนาบ้านเรา และช่วยชี้ช่องแนะนำพื้นที่กลุ่มชาวนาในจังหวัดตรังต่อไป

รับประกันความปลอดภัย "มดก็มา มอดก็มี" 55


ข้าวตรังคืนถิ่น

๑.ข้าวรากแห้งหรือข้าวเบารากแห้ง

กว่าร้อยปีก่อนนโยบายส่งเสริมปลูกยางพาราในตรังส่งผลให้ทวดเหียม สุขสง ย้ายถิ่นฐานจากหน้าวัดพระงามในลุ่มน้ำคลองนางน้อยมาจับจองพื้นที่เบิกสวนเบิกไร่บริเวณต้นน้ำคลองห้วยยางในเขตตำบลบ้านโพธิ์ ทวดขุดนาบนควนหัวนาท่วมหัวยื่นมือเด็ก ๆ ยายเคยเล่าว่าทวดปลูกข้าวสายพันธุ์หลัก คือ ข้าวเบารากแห้ง ที่ปลูกข้าวชนิดนี้เพราะเป็นข้าวทนแล้ง บางปีฝนออกไม่ตกแต่บรรพบุรุษเราก็ได้กินข้าวเช่นเดียวกับคนในลุ่มน้ำ การนำข้าวกลับมาปลูกในแผ่นดินทวดครั้งนี้เราต้องการยีนทนแล้งของข้าวเพื่อนำมาพัฒนาสร้างข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามยุคสมัยนิยมของคนรุ่นเรา

๒.ข้าวสายบัว

ข้าวที่เคยปลูกอยู่ใกล้จวนผู้ว่าฯ มากที่สุดในแถบชุมชนสังขวิทย์ ด้วยความต้องการนำไปทำเส้นขนมจีน จนกูรูทำเส้นขนมจีนของตรังแถวบางรักและพี่น้องชาวสตูลยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าเส้นขนมจีนจากข้าวสายบัวตรังอร่อยที่สุด...ยังไม่เคยลอง แต่ปีนี้จะปลูกขั้นต่ำที่ ๑ ไร่ แล้วนำไปแปรรูปเป็นเส้นขนมจีนตามคำร่ำลือดูสักที

๓.ข้าวกันตัง

ข้าวตรังที่เหลือแต่ชื่ออำเภอในตรังแต่ไปดังที่สุราษฎร์ธานี เพชรบุรีและนราธิวาส ข้าวกันตังปลูกในสภาพน้ำกร่อยได้ เป็นข้าวทนเค็ม แป้งมีคุณสมบัติที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลายอย่าง ที่สำคัญคือเขามียีนทนเค็มสามารถนำมาปรับปรุุงพันธุ์ข้าวตัวใหม่ขึ้นมาได้

๔.ข้าวดอกมุด

เป็นสายพันธุ์ข้าวไร่ตรังและเป็นคู่หูกับข้าวเบายอดม่วงที่ได้รับการพัฒนาก่อนหน้าแล้ว คนตรังสมัยก่อนไม่นิยมปลูกข้าวดอกมุดเพราะนุ่มอร่อยเกินไป ลูกหลานกินหมดเร็วจึงไม่พอกินตลอดทั้งปี ข้าวดอกมุดนำกลับมาเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การเพิ่มพื้นที่ข้าวไร่ให้ได้เกิน ๒๐,๐๐๐ ไร่ต่อปี ผ่านโครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตต่อไป . ก่อนที่ภูมิปัญญาข้าวตรังจะสาปสูญไปปีนี้มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาได้มากขึ้นกว่าเก่า รวมไปถึงข้าวอีก ๑๖ สายพันธุ์ก็จะตามกลับคืนมาสู่แผ่นดินตรังอีกครั้ง ขอบคุณคุณเอกราช แก้วนางโอและทีมงาน ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ที่สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวกลับคืนถิ่นมาตุภูมิ


ที่นี่โคกสะบ้า

1 ใน 11 พื้นที่ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกระบวนการขับเคลื่อนการทำงานของหน่วยจัดการจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) จังหวัดตรัง

จันทร์ที่ 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม อบต.โคกสะบ้า พี่สุพรรณพิษ แกนนำคณะทำงานจึงประสานนัดหมายคณะทำงาน ทีมภาคีเครือข่าย ท้องที่ท้องถิ่น ทีมสนับสนุนทั้งจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และสำนักงานเกษตรอำเภอนาโยง  และตัวจริงเสียงจริงคนทำนาในพื้นที่  มาทำความเข้าใจทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางการดำเนิน โครงการ "ส่งเสริมผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตำบลโคกสะบ้า" ที่จะขับเคลื่อนต่อจากนี้ไปอีก 10 เดือน

ภายหลังจากกำนันจวน ในฐานะเจ้าบ้านเปิดการประชุมแล้ว อุ่นเครื่องช่วงต้นด้วยการชี้แจงทิศทางแนวทางการทำงานของ Node Flagship และความเป็นไปเป็นมาที่ทีมตรังเลือกประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง มาเป็นประเด็นขับเคลื่อนการทำงานสำคัญครั้งนี้ จาก พี่สุวณี สมาธิ และเสริมข้อมูลความสำคัญกับการช่วยกันส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัย การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จาก พี่ทวี สัตยาไชย ที่ปรึกษา Node Flagship จังหวัดตรังแล้ว

พี่สุพรรณพิษ ผู้ประสานงาน ก็ชี้แจงถึงแผนงานกิจกรรมที่จะดำเนินการภายใต้โครงการฯ อาทิ  การจัดทำข้อตกลงชุมชนเรื่องข้าว  การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน  การพัฒนาอัตลักษณ์ข้าวโคกสะบ้า ที่จะพัฒนาเพื่อช่วยกันออกแบบแบรนด์ข้าวของตำบลที่ผ่านมาตรฐาน

สำหรับโจทย์ท้าทาย ได้แก่ การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว นอกจากหาผ่านพื้นที่เพิ่งล้มยางเชิญชวนปลูกข้าวไร่เพิ่ม  ก็มีแผนสองคือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เพิ่มขึ้น  อีกทาง คือ จะมีกลุ่มแนวหน้าทำนาปรังเพื่อเพิ่มรอบการผลิตสำหรับแปลงที่เหมาะสม  อีกโจทย์การหาฐานคนกินข้าวในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มหาลูกค้า เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่อบต.ดูแลอยู่ ก็ได้สอบถามฝากเป็นประเด็นหารือถึงความเป็นไปได้กับท่านรองนายกที่ได้เข้าร่วมด้วย

ยังมีหลายโจทย์ที่ท้าทายต่อการผลิตข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ที่ผู้เข้าร่วมช่วยกันสะท้อน เช่น การหาคนรุ่นใหม่มาสานต่อการทำนา  และเรื่องระบบน้ำ ระบบชลประทานที่สนับสนุนการทำนา

เพียง ยกแรก แต่เน้น ๆ กับชวนกันทำความเข้าใจ สร้างฝันร่วม และเห็นแผนที่ทางเดินเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกสะบ้าร่วมกัน เชื่อว่าครั้งแรกคงไม่ง่ายที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจเท่ากัน ยังต้องมีการทำซ้ำ สำคัญคือเรียนรู้ผ่านปฏิบัติร่วมกัน แต่ปิดท้ายถ่ายรูปร่วมกัน รอยยิ้ม แววตา ความเป็นกันเองชัดเจน

#ตรังเมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

#ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง

#NodeFlagshipTrang

#สสส


กลุ่มเกษตรนาข้าว-นาพละ พร้อม..จัดข้าวเบายอดม่วง

ข้าวสารปลอดภัย สู่ครัวเรือนคนตรัง  10,000 ก.ก.

ในเดือน ก.ค.,ส.ค. นี้

อปท.,กยท.,กอช.,กทบ.,กชช,รคช.,สอช.ต.,อสม.ฯ

ออเดอร์  กันมาได้เลยครับ


เชภาดร จันทร์หอม / สำราญ สมาธิ / ชัยพร จันทร์หอม  ทีมบันทึกเรื่องราว

Relate topics