“เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อนงานและนโยบายสู่การพลิกโฉมระบบอาหารแลการเกษตรในท้องถิ่นภาคใต้ชายแดน”
UNDP Workshop ภาคใต้ ระหว่าง ภาคส่วนต่างๆ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และหน่วยงานหนุนเสริม
ร่วมระดมความคิด เพื่อจัดการความมั่นคงทางอาหาร ที่เป็นห่วงโซ่ ตามบทบาทของแต่ละภาคส่วน เพื่อสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “เชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการขับเคลื่อนงานและนโยบายสู่การพลิกโฉมระบบอาหารแลการเกษตรในท้องถิ่นภาคใต้”
วันที่ 28-30 มิถุนายน 2565
เพื่อนำมาสู่โครงการนำร่องแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงระบบจังหวัดชายแดนใต้
ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากการทำโครงการเชิงเดี่ยวไปสู่การขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มนวัตกรรม แบบเปิด (รวมองค์กร วิธีการและกิจกรรมที่เชื่อมต่อกันและหลากหลาย) ด้วยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบอาหารท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง การทบทวน รับฟังประสบการณ์ถอดบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการแพลตฟอร์มนวัตกรรมทางสังคม เพื่อมองหาโอกาสในการต่อยอดและเชื่อมโยงขบวนการ
ขับเคลื่อนในท้องถิ่นสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่าง Thailand Policy Lab
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในการจัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ 3 วัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการขับเคลื่อนงาน การเรียนรู้ ยกระดับศักยภาพในระดับท้องถิ่น สู่การสนทนาและออกแบบนโยบายสาธารณะที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายได้อย่างแท้จริง
Thailand Policy Lab - UNDP
การทำ Workshop ร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งสภาพัฒน์ เกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์ สสจ ศอบต. มหาวิทยาลัย หน่วยงานเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน เพื่อกำหนดออกมา และมีผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1.การทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแผนปฏิบัติการร่วม ผลักดันสู่กระบวนการแผนและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
2.เกิดไอเดียที่ร่วมสร้างสรรค์ นำสู่การพัฒนาข้อเสนอโครงการและการสนับสนุนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.เกิดชุมชนนวัตกรและผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื่นในระดับท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้
4.สร้างกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในท้องถิ่น และการออกแบบหลักสูตรการอบรมอย่างมีส่วนร่วมและ สอดคล้องตามความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในภาคส่วนต่างๆ
ซึ่งทั้ง 4 ประเด็น มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การสร้างการมีส่วนร่วม ที่จะสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
Thailand Policy Lab
เน้นการระดมความคิดเพื่อร่วมออกแบบนโยบายไทย ที่เข้าใจมนุษย์ เป็นสำคัญ
โดยทั้งภาครัฐ เอกชน วิชาการ ภาคประชาสังคม และ สภาพัฒน์ จับมือกันปรับวิธีคิด และการทำงานออกแบบนโยบายไทยในหัวข้อการคุ้มครองทางสังคมและความมั่นคงทางอาหาร ใช้เครื่องมือในออกแบบนโยบาย ตั้งแต่
ความหวังของคน (Hopes & Fears) : ถอดรหัสความความหวังของประชาชน เพื่อนั่งเข้าไปอยู่ในชีวิตของผู้ใช้นโยบาย
กลุ่มคนเปราะบาง (Personas) : การซูมอินเข้าไปที่กลุ่มคนเปราะบาง เพื่อเข้าใจความต้องการของพวกเขาและออกแบบนโยบายแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ถอดรหัสความเชื่อมี่ซ่อนยั่งลึก (Causal Analysis) : การใช้ภูเขาน้ำแข็งแยกและถอดให้เห็นคุณค่า ความเชื่อ ทัศนคติที่ส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ อย่างฝังรากลึก
เครื่องมือเหล่านี้ ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกลงไป เป็นชั้นๆ เพื่อเข้าถึง Pain Point ที่แท้จริง ที่จะได้ถึงแนวทางการแก้ ปัญหาที่ยั่งลึกนั้นๆ จากโจทย์ ที่ให้สวมบทบาทการคิดเชิงสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวก และการคิดในเชิงลบ
ขอบคุณข้อมูล อ.เชน บ้านภูลิตา
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”