"ทิศทางเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ อำเภอเทพา

  • photo  , 1477x1108 pixel , 126,730 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,258 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 145,010 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,255 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 149,945 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,372 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,496 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 179,884 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,886 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 141,308 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 142,322 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 142,745 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 261,846 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 223,291 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 228,598 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 227,562 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 219,335 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 322,308 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 342,353 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 160,485 bytes.
  • photo  , 1478x1108 pixel , 162,672 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 130,668 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,457 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,438 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,438 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,985 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,795 bytes.
  • photo  , 1027x1595 pixel , 107,432 bytes.
  • photo  , 1065x1537 pixel , 109,687 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 198,700 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 268,217 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 470,500 bytes.

"ทิศทางเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ อำเภอเทพา"  ด้วยการพัฒนาผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ 25-25-25

ระหว่างวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2565 ณ วิทยาลัยชุมชนสงขลา

Day1

ผู้เข้าอบรมกับการเรียนรู้ กลไก SDGsPGS ในการขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ในอำเภอเทพา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคน ที่จะบริหารจัดการพื้นที่ และสร้างคุณค่าให้ผลผลิต ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านกิจกรรม กระบวนทัศน์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และอบรมผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

ภาพรวม การมองฉากทัศน์ การปรับกระบวนทัศน์ เริ่มจากภาพรวมวิกฤต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม/โรคระบาด การเมือง/ธรรมาภิบาล จากมิถิลาไม่สิ้นคนดี ต่อด้วย ปริศนาต้นมะม่วง และปฏิทิน 2547 ของในหลวง ร.9 นำมาถอดปริศนา..... โดยพาทุกคนไปเมืองมิถิลา ถอดรหัส ปริศนา มิถิลาไม่สิ้นคนดี มาช่วยกันประคับประคอง กอบกู้วิกฤติทรัพยากร ด้วยช้างตัวที่ 3 คือ ภาคประชาสังคม

แนวทางกอบกู้ ด้วย สัมมาชีพชุมชนเตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง SDGsPGS เป็นกลไกและเครื่องมือในการกอบกู้ทรัพยากร เศรษฐกิจฐานราก สังคมที่เอื้ออาทร วัฒนธรรมที่อุดมไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เข้ากันได้กับนวัตกรรมชุมชน สิ่งแวดล้อมที่จากการขับเคลื่อน SDGsPGS ใช้หลัก SEP & SDGs, BCG + ESG ให้เกษตรกรในพื้นที่เกิด พลังคน พลังชุมชน พลังสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อน

ปูพื้น SEP & SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 17 ข้อ ด้วยศาสตร์พระราชา ซึ่งต้องเข้าใจบทบาทของการเป็นผู้ตรวจแปลง (นักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นนักสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาร่วมกันในพื้นที่) ซึ่งทุกคนได้เรียนรู้

(หลังจากพิธีเปิด การให้ขวัญกำลังใจของ อบจ และ วิทยาลัยชุมชนสงขลา แก่เกษตรกร)

เริ่มด้วยเนื้อหาการอบรม

1.ฉากทัศน์การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และการเป็น Hub of Asian ของสงขลา

2.SDGsPGS กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ เกษตรกรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs

3.แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่ใช้กลไกครบห่วงโซ่ ของกระบวนการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

4.ระบบมาตรฐาน PGS ในสากล และไทย

5.กลไก SDGsPGS

6.SWOT ระดมความคิด แต่ละคนแต่ละกลุ่มของผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งมีประเด็นจากการระดมความคิดมากมาย ที่เป็น Pain Point ในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม อยู่ 10 ประเด็น  ได้แก่

1.ต้นทุนการเกษตร 

2.การมีตลาดที่ต่อเนื่อง

3.การจัดการทรัพยากรขยะอินทรีย์ด้วย/Zero waste

4.การประกันคุณภาพสินค้าเกษตร/มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

5.ไม่มีเครือข่ายและเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่

6.ไม่มีกลไกเชื่อมโยงต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

7.การเชื่อมโยง ผู้ผลิต-ผู้บริโภค

8.การส่งเสริมจากภาครัฐ ที่ต่อเนื่องครบห่วงโซ่

9.ขาดการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาร่วมกัน

10.ขาดความรู้

Day2  เรียนรู้ ข้อกำหนดมาตรฐาน SDGsPGS และโครงสร้าง 25-25-25 เพื่อการเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนโดยพื้นที่เป็นตัวตั้ง

"ชุมชนกับการจัดการตนเอง" นำมาสู่แนวทางการจัดการ Pain Point ด้วย แนวทาง

1.พัฒนา "คน" อบรมเกษตรกรในชุมชนให้เข้าใจกระบวนกระทัศน์ในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์อินทรีย์ร่วมกัน

2.สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่

3.สร้างครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ พัฒนาเครือข่าย 7 ครัวเรือนในชุมชน

4.จัดการให้มีการทำ แผนต้นทุน แผนการผลิต แผนการตลาด คุณภาพ การทำประชาสัมพันธ์

5.การนำระบบข้อมูล Big Data ที่เป็นนวัตกรรมกระการมาช่วยจัดการ ((Process Innovation)

6.จัดการแบบห่วงโซภาคี ที่มีแผนยุทธศาสตร์ของสมาพันธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ หน่วยงานต่าง ๆ ในระดับจังหวัด ทั้งงานวิชาการ/วิจัย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่อยู่ในห่วงโซ่ และกลไกการขับเคลื่อน เช่น วิทยาลัยชุมชุมสงขลา  คณะเทคโนโลยีการเกษตร ม. ราชภัฏสงขลา  อบจ สงขลา ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา  ยุทธศาสตร์เกษตรชาติ ยุทธศาสตรกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และวิจัย ยุทธศาสตร์กรมการค้าภายใน เป็นต้น ที่เจ้าภาพขับเคลื่อนคือ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา จาก สมาพันธ์อำเภอ 16 อำเภอ โดยภาครัฐภาควิชาการ หนุนเสริม


ปิดท้ายของวัน คือ การจัดตั้ง เจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับอำเภอ ด้วยการจัดตั้ง สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับอำเภอ ของอำเภอเทพา ที่มีภาคีจากทุกหน่วยงาน***

DAY 3  ของการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อนำสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  โดยผ่านกิจกรรมอบรมนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ และผู้ตรวจแปลง ที่แบ่งกลุ่ม ลงพื้นที่ 22 แปลง ในพื้นที่ตำบลท่าม่วง ตำบลลำไพล ตำบลวังใหญ่ ตำบลเกาะสะบ้า รวม พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกคนได้เรียนรู้ และลงพื้นที่ทั้ง 22 แปลง ที่มีกระบวนการเรียนรู้เกษตรกรรม 5 รูปแบบ ทั้ง สวนผสมผสาน เกษตรทฤษฏีใหม่ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ และเกษตรอินทรีย์ ตามบริบทชุมชน โดยการนำเครื่องมือ SDGsPGS ไปใช้ในพื้นที่ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำมาสู่แนวทางการพัฒนา สู่มาตรฐานของ SDGsPGS ที่จะเกอดจากการพัฒนา คน พื้นที่ ผลผลิต ที่จะช่วยพัฒนาแปลงให้เป็นเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS และกลับมาทำ Workshop ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดิบ สู่ข้อมูลวิทยาศาสตร์ และนำลงสู่ระบบ OAN เพื่อรอทำกระบวนการกลั่นกรองผ่าน Platform OAN เป็น Big Data กลไกที่พัฒนาเพื่อการจัดการฐานข้อมูลให้เป็นระบบ ที่มีความโปร่งใส่ และผ่านการวิเคราะห์ ร่วมกันของกลุ่มและเครือข่ายในจังหวัดสงขลา เพื่อกลั่นกรองออกมาเป็น 2 แบบคือ ระยะปรับเปลี่ยน และอินทรีย์ และรอการรับรอง จากคณะกรรมการพิจรณารับรองระดับจังหวัด ในการประชุมใหญ่ ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ที่กำหนดไว้ในแผนและในระบบ OAN ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ทั้งนี้ ผู้ตรวจแปลง ที่ผ่าน Certify รับปัญญาบัตร เพื่อนำความรู้ ไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ เป็นนักส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ จำนวน 45 คน ที่มาจากหลากหลายตำบล ในอำเภอเทพา ซึ่งในพิธีมอบปัญญาบัตร โดย นายไพเจน มากสุวรรณ นายก อบจ สงขลา ให้เกียรติ มามอบปัญญาบัตรและพิธีปิด ซึ่งมีผู้สำเร็จตามหลักสุตร และได้จัดตั้งโครงสร้างการทำงานสมาพันธ์อำเภอเทพา เพื่อเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ที่จะนำกลไก และเครื่องมือ ไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่ในอำเภอเทพา และอำเภออื่นๆ ต่อไป ขอแสดงความยินดี กับชุดกรรมการ SDGsPGS อบจ รุ่น 2 โดย มีคุณพิเชษฐ จันทร์ต้น ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ  SDGsPGS เทพา

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา วิทยาลัยชุมชนสงขลา ทีมพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ภาคใต้/สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

#SDGsPGS

#SDGs

#BCG

#การพัฒนาที่ยั่งยืน

#เกษตรกรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

Relate topics