"จะนะเกษตรอินทรีย์ วิถีบ้านนา"
"จะนะเกษตรอินทรีย์ วิถีบ้านนา"
อีกหนึ่งโมเดล ใน "สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์" ที่การขับเคลื่อน สู่ การพัฒนาผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง ในระดับพื้นที่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และ ครัวเรือน เกษตรอินทรีย์
ในหลักการ 25-25-25 (ผู้นำแต่ละระดับ) ของการขับเคลื่อนเชิงรุก โดยวันนี้ เป็นอีก 1 วัน ที่ทีมสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เทศบาลตำบลบ้านนา และภายใต้การสร้างการมีส่วนร่วม จากหน่วยงานในห่วงโซ่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในจังหวัดสงขลา ซึ่งเริ่มกิจกรรมที่หลากหลาย
ช่วงเข้า
พิธีเปิด โดย กล่าวต้อนรับโดย นายฮ่าหรน หมันหลอ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านนา กล่าวเปิดโดย นางสาวปรินดา ปาลาเร่ รองนายก อบจ สงขลา
เริ่มต้นโดย..การเรียนรู้ฉากทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs SEP&SDGs ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และ ทำ Workshop การทำ SWOT ชุมชนเกษตรที่เกษตรกรทำกิน เพื่อนำมาวิเคราะห์ ศักยภาพขุมชนเกษตรกรในอำเภอจะนะ
ช่วงบ่าย ต่อด้วย ระบบ PGS การรับรองแบบมีส่วนร่วม BCG ยุทธศาสตร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน จากเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสึเขียว ที่เป็นการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากการจัดการทรัพยากรในชุมขน หลังจากนั้น เข้าสู่การเรียนรู้ข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ปิดท้ายของวัน โดย แขกรับเชิญ คนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ SDGsPGS และความมั่นคงทางอาหาร คือ จ่าชม (ร.ต.อ. เจษฏาวุธ เพ็งลาย) ผจก ฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของสะบ้าย้อยโมเดล
เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา วิทยาลัยชุมชนสงขลา ทีมพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ภาคใต้/สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา และศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา
#เกษตรกรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
#องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้