"กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,095 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 177,061 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 201,316 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 137,926 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 159,114 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 202,578 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 195,328 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 171,307 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 211,896 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 177,440 bytes.
  • photo  , 750x1334 pixel , 92,428 bytes.
  • photo  , 750x1334 pixel , 79,053 bytes.
  • photo  , 750x1334 pixel , 96,128 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 145,124 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 106,065 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 91,136 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 84,578 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 94,850 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 116,238 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 105,952 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 117,846 bytes.

"กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม"

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565  ช่วงเช้า    กขป.เขต 12 ประสานภาคีเครือข่ายภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ ประชาสังคมร่วมเรียนรู้ เติมเต็มแผนปฎิบัติการ 4 ปี พร้อมกำหนดแนวทางความร่วมมือในการทำงานประเด็นสุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม

เป้าหมายร่วม

1)ทำให้เข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน คุ้มครองสิทธิเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษา

2)ให้สามารถเข้าถึงปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้

3)มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

แนวทางความร่วมมือ เน้นกลุ่มเปราะบางทางสังคม คนพิการ สตรี ผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองไม่ได้ อยู่ในภาวะพึ่งพิง เด็กในระบบและนอกระบบ แรงงานนอกระบบ มีการสร้างต้นแบบเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้การทำงานร่วมกันและนำไปผลักดันนโยบายในพื้นที่เฉพาะมากขึ้น เช่น ตำบล อำเภอ เมือง เกาะ โรงเรียน และบูรณาการแผนงานโครงการ พัฒนาระบบสนับสนุน ข้อมูล การสื่อสารทางสังคม การจัดการความรู้

โดยมีการเติมเต็มประเด็นที่น่าสนใจ

1.ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และสรุปบทเรียนเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันเริ่มมีการติดเชื้อที่มีการขยายพันธุ์ใหม่ BA.4,BA.5 ที่สามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วระดับเดียวกับโอไมครอนแต่มีความรุนแรงมากกว่าจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น กลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาที่จะพบการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้เร็ว ในส่วนบทเรียนที่ผ่านมา การมีโครงสร้างการทำงานในแต่ละระดับโดยประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาทำงานด้วยกัน เป็นประเด็นร่วมที่ถูกกล่าวถึงมาก กล่าวคือ เพิ่มองค์ประกอบเครือข่ายเข้าไปเสริมกลไกปกติ อาทิ กรรมการหมู่บ้าน พชต./กองทุนระดับตำบล/กลไกระดับตำบล หรือพชอ.ในระดับอำเภอ หรือกรรมการระดับจังหวัด องค์ประกอบที่สมดุล หลากหลายมีตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นกลไกสำคัญในการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การสื่อสารที่มีเอกภาพ และมีการช่วยเหลือกันภายใน ขณะเดียวกันก็มีรูปแบบเฉพาะที่ควรให้ความสำคัญ อาทิ ความเป็นเมือง เมืองชายแดน พื้นที่เฉพาะเช่น เกาะ โรงเรียน โรงงาน เรือนจำ ควรมีการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ เพื่อนำไปปรับใช้กันต่อไป

พื้นฐานโครงสร้างองค์กรที่ดี พร้อมระบบสนับสนุน(ข้อมูล การสื่อสาร กองทุนกลาง หรือการพึ่งตนเองด้วยธุรกิจเพื่อสังคม)ที่สอดคล้องกับบริบท จะเป็นปัจจัยเอื้อรองรับปัญหา และความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นโรคอุบัติใหม่ ภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย

นอกจากนั้นยังพบช่องว่างในการช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้า กรณีถุงยังชีพ หรืออื่นๆที่ไม่สอดคล้องความต้องการ ไม่ตรงจุด

2.ประเด็นเด็กในสถานศึกษาและอื่นๆ ยังพบช่องว่างด้านข้อมูลเด็กที่มีทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ควรมีเจ้าภาพในการติดตาม ดูแล นอกจากนั้นยังเสนอให้ดูไปถึงปัญหาเด็กจมน้ำ ที่เขต 12 มีตัวเลขสูงในระดับที่ควรให้ความสำคัญ

3.การรองรับสังคมสูงวัย ปัจจุบันจังหวัดตรังกำลังนำร่องกิจกรรมดังกล่าวผ่าน Node Flagship สสส.และสมัชชาสุขภาพจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการประสานช่วงวัยตั้งแต่่อายุ 35-59 มาร่วมเตรียมความพร้อมใน 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ การออม การปรับสภาพแวดล้อม และด้านสังคม

4.นโยบายแก้จนของรัฐบาล และในส่วนของพม.ที่ให้มีศูนย์ช่วยเหลือทางสังคมในระดับตำบล นำข้อมูล TPMap มาคัดกรองคนจน กลไกระดับตำบลนี้สามารถบูรณาการกับงานของภาคีอื่นๆได้อีก

5.การสร้างเครือข่ายกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด ในพื้นที่เขต 12 ที่ปัจจุบันมีครบทั้ง 7 จังหวัดแล้ว ในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ ส่งต่อบทเรียนการทำงาน และเชื่อมโยงการทำงานกันและกัน มีกรณีการจัดทำฐานข้อมูลกลางคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพักพิง ที่นำข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการให้บริการ และข้อมูลความต้องการมาเข้าสู่ระบบกลาง กำลังดำเนินการในจังหวัดสงขลา สามารถนำไปปรับใช้ในจังหวัดอื่นต่อไป

6.ที่ประชุมเสนอให้มีการผลักดันเชิงนโยบายการสร้างระบบสวัสดิการมารองรับในระยะยาว โดยร่วมกับม.ทักษิณ พัฒนาต้นแบบตำบลสวัสดิการถ้วนหน้า หรือการออมในภาคประชาชนในรูปแบบสมทบ หรืออื่นๆ พร้อมสื่อสารทางสังคมเพื่อให้เป็นกรณีศึกษา ขยายผลเชิงนโยบายต่อไป

องค์กรความร่วมมือ

ภาครัฐ  ได้แก่สคร. 12 สนง.เขตสุขภาพที่ 12 ศอบต. ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้ สปสช.เขต 12 สสว.11 สนง.จังหวัดสงขลา สสจ./สสอ.หาดใหญ่ ศึกษาธิการภาค 7

ภาควิชาการและวิชาชีพ ได้แก่ สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบำบัด วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรัง คณะแพทย์ศาสตร์ ม.อ.

ภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง/สงขลา/ยะลา/ปัตตานี/นราธิวาส พชอ./สสจ. สมาคมอาสาสร้างสุข สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ เครือข่ายประชาคมงดเหล้าใต้ล่าง สมาคมผู้บริโภคสตูล ปัตตานี สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ สมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด เครือข่ายสื่อชุมชนชายแดนใต้ อบจ.ปัตตานี/สงขลา อบต.ท่าข้าม

Relate topics