"U2T ม.อ."
"U2T ม.อ."
วันที่ 24-26 มิถุนายน 2565 ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ นำทีม U2T ในตำบลรับผิดชอบมาให้มูลนิธิชุมชนสงขลาช่วยให้ข้อเสนอแนะ พร้อมเรียนรู้การทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม iMedCare ในระดับพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมบริการดูแลฟื้นฟูสุขภาพพื้นฐาน และบริการเสริม โดยเฉพาะบริการเสริมที่ทีมจะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมา และการจัดทำคู่มือหลักสูตรการบริการ HCG
สื่อที่จะต้องออกแบบประกอบด้วยไวนิล โปสเตอร์ แผ่นพับ แนะนำบริการและผลิตภัณฑ์ ซึ่งทีม U2T แต่ละตำบลจะต้องดำเนินการ อาทิ ต.คู เพิ่มบริการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อนคลายเหงา ป้องกันโรคซึมเศร้า ต.ควนโดน พัฒนาโจ๊กธัญพืชพร้อมทานด้วยวัตถุดิบในพื้นที่ ต.จะโหนง เพิ่มกิจกรรมพาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ
ตัวแทนทีมอาศัย canva ในการออกแบบ อาศัยเวลา 3 วันมาช่วยกันทำ มูลนิธิฯเข้าไปแนะนำ iMedCare ถึงแนวคิดแนวทางดำเนินการ และให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำในการผลิตสื่อ เพื่อให้สามารถดึงคุณค่าของระบบออกมาสู่สาธารณะ และหาวิธีสื่อความหมายคุณค่านั้นแปรผลเป็นสื่อนำเสนอสู่สังคม
1)นำเสนอโดยดึงคุณค่าของระบบบริการ ที่มีความสดวก ใช้งานง่ายแค่ปลายนิ้ว ความครอบคลุมบริการ ราคาที่ย่อมเยาว์
2)นำเสนอผลิตภัณฑ์เสริม เพิ่มมิติทางสังคมในการเป็นเพื่อน เป็นญาติ การนำวัตถุดิบในชุมชนมาแปรรูป การเพิ่มคุณค่าและมูลค่า การพัฒนาอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพ นำเสนอผ่านคำถาม คำพูด คำโฆษณาโดนใจ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”