"Hatyaicare"
"Hatyaicare"
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 ประชุมทีมคณะทำงาน 4 องค์กรความร่วมมือ และพอช. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและกำหนดแนวทางดำเนินการต่อไป
1.ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำกิจกรรมกับ 6 ชุมชนริมทางรถไฟใน 3 ด้าน คือ การศึกษา จัดครูอาสา 15 คนจากสถานศึกษาในสงขลาลงไปช่วยให้การเรียนรู้แก่เด็กในชุมชน 30 คน มีการจัดอบรมส่งเสริมอาชีพทำยาหม่อง และดูแลกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ปรับสภาพบ้าน
2.มูลนิธิชุมชนสงขลา สนับสนุนงบการปลูกผักในเขตเมืองระดับครัวเรือน 13 คนใน 2 ชุมชนคือ สถานีอู่ตะเภา สัจจะกุล ประสานแก้ปัญหากลิ่นเหม็นในบ่อเลี้ยงปลาดุก และนำแกนนำไปร่วมเรียนรู้การเข้าถึงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา สร้างช่องทางสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังอุทกภัยในหน้าฝนนี้ และปี 65 ต้องการสร้างผู้ดูแลที่บ้านในพื้นที่หาดใหญ่ในการใช้ iMedCare ดูแลผู้ป่วยที่บ้านสร้างธุรกิจเพื่อสังคม
3.สมาคมอาสาสร้างสุข จัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาแต่เด็กที่อยู่นอกระบบ ลดความเหลื่อมล้ำ ปรับสภาพบ้านร่วมกับกองทุนฟื้นฟูฯ ประสาน CSR เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ประสานงาน node โควิดให้ชุมชนสถานีอู่ตะเภาส่งเสริมการทำปลาดุกร้า กำลังจะทำพวงหรีดข้าวสาร
4.เทศบาลนครหาดใหญ่ กองสวัสดิ์ฯได้นำเสนอแผนงานโครงการที่จะดำเนินการปี 65 ภายใต้งบ 12.9 กว่าล้านบาท กองสาธารณสุขฯ กองศึกษา ก็เช่นกัน มีกิจกรรมเด่นๆ อาทิ ได้มีการเปิดตลาดนัดสุขภาพ สนับสนุนผู้ผลิตอาหารสด อาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ การพัฒนากลไกกรรมการชุมชน/แผนชุมชน การฝึกนวด การสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ การดูแลคนพิการ/กลุ่มเปราะบาง การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น
แนวทางดำเนินการต่อไป เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การทำงาน 3 ปี เป้าหมาย :ทำให้ชุมชนเปราะบางเป็นชุมชนเข้มแข็ง บนฐานการมีส่วนร่วม
ดำเนินการกับ 10 ชุมชนริมทางรถไฟประกอบด้วยปัญหาสำคัญ
• พื้นฐานการทำงานของชุมชน/ความสัมพันธ์ในชุมชน คุณภาพกรรมการชุมชน/การทำแผนชุมชน
• ความต้องการวัสดุสิ้นเปลืองสำหรับผู้ป่วย/คนพิการ
• ความต้องการด้านการศึกษาของเยาวชนนอกระบบ/ยาเสพติด
• รายได้ของกลุ่มวัยทำงาน/หนี้สิน ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย/การเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน
• ปัญหาขยะ
• การรองรับสถานการณ์ในภาวะวิกฤต/ภัยพิบัติ
ดำเนินการ 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1)การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน
2)การพัฒนาระบบสนับสนุน
3)การพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.1 ด้านการศึกษา
3.2 ด้านอาชีพ
3.3 ด้านสุขภาพ
3.4 ด้านที่อยู่อาศัย
3.5 ด้านสิ่งแวดล้อม
โดยมี 2 ชุมชนนำร่องที่จะให้ 4 องค์กรทำงานร่วมกันได้แก่ สถานีอู่ตะเภา และป้อมหก ควบคู่กับกิจกรรมตามแผนงานโครงการปี 65 ขององค์กรความร่วมมือกระจายไปยังชุมชนต่างๆ
ให้มีคณะทำงานชุดเล็ก หารือแนวปฎิบัติ/แปลงนโยบายสู่การปฎิบัติ โดยขอเพิ่มทีมของทน.หาดใหญ่ กองสาธารณสุข กองศึกษา และกองช่าง ประชุมทุกเดือน สลับกับการประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ทุก 2-3 เดือน รายงานความก้าวหน้่าและหนุนเสริมการทำงาน
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”