อับดุลปาตะ ยูโซะ สมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS) กับภารกิจตัวแทนเสียงจากชายแดนใต้
"BKK-เรนเจอร์ @ ศูนย์เยาวชนดอนเมือง
ตัวแทนเด็กและเยาวชน 4 คน จากเวที Talk อยากบอกอะไรกับเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 เป็นวันแรกของเทศกาลเด็กและเยาวชน BKK-เรนเจอร์ ตามนโยบายของกทม. ที่อยากเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในการคิด แสดงความคิดเห็น ออกแบบและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครไปด้วยกันกับผู้ใหญ่ เพราะเด็กและเยาวชนนี่แหละที่จะอยู่กับเมืองนี้ยาวนานที่สุด
Talk#4 | ปาต๊ะ อับดุลปาตะ ยูโซะ สมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด (PPS)
“เพื่อน ๆ ชาวกรุงเทพมหานครครับ เพื่อน ๆ เคยรู้สึกไหมครับว่า เสียงของพวกเราบางครั้งแทบจะไม่มีความหมายในสายตาผู้ใหญ่เลย เคยรู้สึกไหมครับ ว่าเวลาเรามีศักยภาพมีความสามารถและอยากแสดงความคิดเห็นอะไรออกไป แต่ปรากฎว่าเราไม่ได้รับการยอมรับและความเข้าใจจากคนในสังคม เคยรู้สึกไหมครับว่าพื้นที่ในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน พัฒนาเมือง สังคม ประเทศไปด้วยกัน เราแทบจะมีความหมายในสายตาผู้ใหญ่น้อยมาก ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับพวกเราเยาวชนคนรุ่นใหม่มาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการณ์ทางการเมือง การออกแบบระบบการศึกษา เสียงของเรามักถูกนำไปใช้ในการพัฒนาหรือนำไปสู่การแก้ปัญหาน้อยมากจริง ๆ
“ผมไม่ใช่คนกรุงเทพ ผมมาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นั่นเรามีความขัดแย้งที่หลายคนทราบกันดี แต่ที่นั่นเรากำลังขับเคลื่อนสังคมสีขาวให้เด็กได้เติบโต ผ่านการบูรณาการ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของเยาวชนคนรุ่นใหม่ แม้แต่เสียงของเด็กตัวเล็ก ๆ ตัวน้อย ๆ”
“เพื่อน ๆ ครับ ในแคนาดา ในโปรตุเกส เวลาต้องพัฒนาเรื่องใดในสังคม เขาจะใช้คนทุกอณูในสังคม เพราะการพัฒนาจำเป็นต้องรับฟังเสียงคนทุกช่วงวัย หรือประเทศเล็ก ๆ อย่างโมแซมบิกทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแอฟริกา พื้นที่ต่าง ๆไม่ปลอดภัย เด็ก ๆ ที่นั่นถูกห้ามไม่ออกมาเล่นนอกบ้านด้วยปัญหาอาชญากรรม แต่เทศบาลเมืองหลวงของโมแซมบิกได้เรียกกลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน มารับฟัง และเกิดกระบวนการ public space for children เพื่อรับฟังเสียงเด็กในเรื่องต่าง ๆ เพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ปลอดภัยให้เด็กที่นั่น สิ่งนี้สะท้อนชัดว่าเสียงของเด็ก เสียงของพวกเรามีความหมาย”
“ครั้งหนึ่ง ประธานาธิบดีซูการ์โนของอินโดนีเซียเคยพูดว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้คนแก่เฒ่ามาสัก 100 คน เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงเมืองจาการ์ต้าได้ทั้งเมือง แต่ถ้าเราได้เสียงและพลังของคนหนุ่มสาวได้สัก 10 คน เราจะเขย่าเกาะชวาได้ทั้งแผ่นดิน เป็นอีกเสียงที่จะบอกว่า ถ้าผู้ใหญ่ในสังคมบ้านเมืองนี้เห็นเสียงของพวกเรามีความหมายว่าจะพัฒนาสังคมไปได้ เราต้องร่วมกันแสดงพลังส่งเสียงผ่านการพูดคุยในวงเล็กๆ จากระดับครอบครัวไปสู่โรงเรียน จากโรงเรียนสู่ชุมชน จากชุมชนไปสู่สังคม และระดับประเทศต่อไป ภาครัฐก็ต้องมีกลไกบางอย่างให้เสียงของพวกเรานำไปใช้ได้จริง แล้ววันนั้น ความคิดความเชื่อความหวัง คงจะได้เกิดขึ้น”
เสียงของเด็กและเยาวชนทั้ง 4 คน เป็นส่วนหนึ่งของก้าวเล็กๆ ของนโยบายกทม. ในประเด็นเด็กและเยาวชน ที่ไม่ใช่เพียงการสร้างสรรค์และแก้ไขสิ่งที่ผู้ใหญ่เชื่อว่าดีสำหรับเด็ก แต่คือการสร้างพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ซึ่งนั่นหมายถึงการเอื้ออำนวยให้เด็กและเยาวชนใช้ศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ มีพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นโดย “ต้องมีกลไก” ที่ผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนเชิงนโยบายมา “รับฟังอย่างใส่ใจ” และ “นำสิ่งที่เด็กและเยาวชนเสนอไปพิจารณาอย่างจริงจัง” และ “จัดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้ขับเคลื่อนเมืองกทม.” ได้อย่างแท้จริง นโยบายกทม. นี้จะออกมาในรูปแบบของ การสร้าง “สภาเมืองคนรุ่นใหม่” ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไป
ชมคลิปย้อนหลัง
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”