ภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการใช้แนวทางบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน

  • photo  , 960x640 pixel , 63,911 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 40,419 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 50,814 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 42,151 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 26,264 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 37,473 bytes.
  • photo  , 960x859 pixel , 66,244 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 54,011 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 57,266 bytes.
  • photo  , 960x592 pixel , 72,729 bytes.
  • photo  , 960x649 pixel , 69,023 bytes.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

จัดการประชุม “เพื่อขับเคลื่อนการใช้แนวทางบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 09.00-12.00 น.  ณ ห้องประชุมเก็ตโฮ่ ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (สนส.ม.อ.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการประชุมภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่่อนแนวทางสุขภาพพหุวัฒนธรรมในสถานบริการของรัฐและเอกชนในพื้นที่ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยมีสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการที่ให้บริการสุขภาพ รวมทั้งสมาคมที่เกี่ยวเนื่องจากการท่องเที่ยว อาทิเช่นโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต สมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันอ่าวไทย สมาคมสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต  โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวนกว่า 50 คน 


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่าสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พัฒนาแนวทางการบริการสุขภาพพุหวัฒนธรรม เพื่อให้การบริการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนที่มาเข้ารับบริการ  โดยได้ดำเนินการไปแล้วกับสถานพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ผลการประเมินโครงการพบว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัย ฯ จึงขยายโครงการมาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามัน ซึ่งเป็นแหล่งพื้นที่สำคัญ โดยเริ่มที่จังหวัดภูเก็ตเป็นอันดับแรก การประชุมในวันนี้จะหารือกับสถานพยาบาลและสถานประกอบการ ที่จะร่วมดำเนินการเป็นพื้นที่ต้นแบบ  โดยมหาวิทยาลัย ฯ จะประยุกต์กระบวนการที่ได้ดำเนินการมาแล้วในสถานพยาบาล 5 จังหวัดชายแดนใต้  ใช้ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย ฯ และในพื้นที่ ช่วยกันจัดทำกระบวนการที่สอดรับกับสถานพยาบาลหรือสถานประกอบการนั้น  และคาดหวังว่า กระบวนการที่ได้จัดทำขึ้นใหม่นี้ จะยกกระดับและเพิ่มมูลค่าการบริการของสถานพยาบาลและสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 


รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ ทองชุมนุม  รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานการใช้แนวทางการบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม สอดคล้องกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ที่ได้ดำเนินการสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่อันดามันให้มีองค์ความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ โดยดำเนินการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ไม่ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จนทำให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดตั้ง Andaman Wellness Corridor (AWC) ระเบียงเศรษฐกิจสุขภาพอันดามัน ในอนาคต  ในปี 2565 วิทยาเขตภูเก็ต ได้ดำเนินการศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนพื้นที่จังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาตำบลกะรน (Karon Wellness Tourism City) หนึ่งในผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการมีความต้องการจะเพิ่มมูลค่าการบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลให้สถานประกอบการมีรายได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่อันดามันที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สวยงาม ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หลากหลายประเทศและหลากหลายวัฒนธรรมให้เข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับรัฐบาลมีความร่วมมือกับประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งผู้ประกอบการของกลุ่มจังหวัดอันดามัน ยังไม่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ อาจทำให้สถานประกอบการ ให้การบริการไม่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มเหล่านี้ได้

โครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้สถานประกอบการและสถานพยาบาล โดยระยะแรกจะจัดทำต้นแบบจำนวน 5 พื้นที่ ในจังหวัดภูเก็ตและจะขยายผลต่อไปยังพื้นที่อันดามันอื่น ๆ ในอนาคต สำหรับการประชุมครั้งนี้ จะมีการวางแผนร่วมกันกับสถานพยาบาลและสถานประกอบการในจำนวน 5 พื้นที่  ใช้ผู้เชี่ยวชาญนำข้อเสนอแนะในวันนี้ ออกแบบปรับปรุงกระบวนการและการบริการด้านพหุวัฒนธรรม  โดยมีการฝึกอบรมบุคลากรของสถานพยาบาลและสถานประกอบการ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการที่ออกแบบไว้ และทดลองดำเนินการกับผู้เข้ารับการบริการหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง  โดยโครงการนี้จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2566 และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ อีกต่อไป มหาวิทยาลัย ฯ คาดหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้สถานพยาบาลและสถานประกอบการเพิ่มมูลค่าการบริการด้านพหุวัฒนธรรม และสร้างรายได้ได้มากขึ้นในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สื่อสร้างสุขภาคใต้

Relate topics