การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เข้าร่วม ประชุมวิชาการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้โครงการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้เพื่อรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร (CCFS) จัดโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ณ โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ลาดพร้าว บาย ยูเฮชจี โดยเชิญภาครัฐ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และองค์กรพันธมิตร ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแนวทาง และค้นหาจุดคานงัดในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม
ผลจากการวิจัยพบว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครัวเรือนร้อยละ 0.3 หรือ 468/ครัวเรือน/ปี หรือ 9 พันล้านบาท/ปี สัดส่วนของรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ และนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญคือ
1)ปรับปรุงมาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและขยายผลมาตรการ
2)ผลักดันมาตรการที่ win-win เพิ่มเติม และ 3) ผลักดันชุดมาตรการลดการเผ่าอย่างเป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าวยังมีการนำเสนอสถานการณ์ ข้อท้าทาย และจุดคานงัด ที่สำคัญ ดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การลดผลกระทบและการปรับตัวรับมือความท้าทายและจุดคานงัด โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม – กล่าวถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อระบบเกษตรและอาหาร เช่น ฤดูกาลเพาะปลูกแปรปรวน ภัยแล้ง โรคระบาดในสัตว์ พร้อมนำเสนอแผนแม่บทระดับชาติและแนวทางปรับตัว
ความท้าทาย: ปัญหามีความซับซ้อนและเชื่อมโยงหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และกลุ่มเปราะบางที่ยากต่อการเข้าถึงโอกาส
จุดคานงัด: การผลักดันร่าง พ.ร.บ. Climate Change, การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคาดการณ์และติดตาม
2.เกษตรกรยุคใหม่: การรับมือ Climate Change ด้วยการทำเกษตรแบบ CSA โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร – ชี้ให้เห็นว่าแม้ภาคเกษตรจะเป็นทั้งผู้ก่อและผู้ได้รับผลกระทบจาก Climate Change แต่ก็สามารถปรับตัวได้ผ่านการทำเกษตรแบบ Climate-Smart Agriculture (CSA) เช่น การจัดการมูลสัตว์ ปรับวิธีใส่ปุ๋ย และลดการเผา เพื่อสร้างความยั่งยืนและรายได้ที่มั่นคง
ความท้าทาย: ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตลดลง และเกษตรกรบางกลุ่มยังไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
จุดคานงัด: การส่งเสริมเกษตรแบบ CSA การสนับสนุนภาครัฐในการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม และมาตรการจูงใจผู้ผลิต-ผู้บริโภคให้หันมาเลือกสินค้าคาร์บอนต่ำ
3.การบริหารจัดการน้ำ: ทางรอดของภาคเกษตรและระบบนิเวศ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ – นำเสนอแผนบริหารจัดการน้ำใน 3 กลุ่มพื้นที่หลัก ได้แก่ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่มีศักยภาพ และพื้นที่เกษตรน้ำฝน พร้อมแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำผ่านเทคโนโลยี
ความท้าทาย: ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพจำกัด การสูญเสียน้ำสูง และการวางแผนเพาะปลูกที่ไม่สอดคล้องกับแหล่งน้ำ
จุดคานงัด: การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการวางแผน (Dual Process), การสนับสนุนเทคโนโลยีใช้น้ำน้อย และการเปลี่ยนแนวคิดว่าเกษตรกรคือ "ผู้ร่วมออกแบบนโยบาย"
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้
- คสช.รับทราบผลการขับเคลื่อนนโยบายปกป้องและคุ้มครองเด็ก-เยาวชนจาก “บุหรี่ไฟฟ้า” ของ สช.-หน่วยงานภาคี
- พลังงานวิจัย “เรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมต่อการสร้างสันติภาพของสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
- เครือข่ายร่วมหารือการจัดทำแนวทางขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ ต.วิชิต ภูเก็ต
- "กขป.เขต 12 เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ"
- "กขป.เขต 12 บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง"
- กขป.เขต 12 สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม
- "กขป.เขต 12 ประเด็นสุขภาวะแม่และเด็ก"