สุราษฎร์ธานีเมืองนำร่องด้านสุขภาวะสู่การเป็นภาคใต้แห่งความสุข สานความร่วมมือยึดหลัก 5 อ. ตอบโจทย์สร้างนำซ่อม

photo  , 800x510 pixel , 174,867 bytes.

“สุราษฎร์ธานี” เมืองนำร่องด้านสุขภาวะ สู่การเป็น “ภาคใต้แห่งความสุข” สานความร่วมมือ อบจ.สุราษฎร์ธานี - สสส. - ม.สงขลานครินทร์ ยึดหลัก “5 อ.” ตอบโจทย์ “สร้างนำซ่อม”
จ.สุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่นับว่ามีการเติบโตอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มีความหลากหลายทางอาชีพ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ชาติพันธุ์ อาหาร ฯลฯ ที่สืบเนื่องมาจากอดีต แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนชาวสุราษฎร์ธานีได้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความสะดวกสบายที่เปลี่ยนผ่านเข้ามา ส่งผลให้พฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนไป เกิดภาวะเจ็บ ป่วย อันมีสาเหตุหลักจากโรคเรื้อรัง (NCDs)

เหตุนี้เอง จ.สุราษฎร์ธานี จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับการผลักดันให้ประชาชนในจังหวัดสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ใน 3 ประเด็น คือ 1. เป็นเมืองเกษตรสุขภาพ 2. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ 3. สังคมเป็นสุข ซึ่งเป็นการดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในจังหวัดด้วยประเด็นของความมั่นคงทางด้านมนุษย์และสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก

บูรณาการกลไกความร่วมมือ จ.สุราษฎร์ธานี นำร่องสู่การเป็น “ภาคใต้แห่งความสุข”

กิจกรรม "บูรณาการกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี" ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ณ โรงแรมนิภาการ์เด้นท์  อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธี และมีภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม รวมทั้งตัวแทนชุมชนต่างๆ และสื่อมวลชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า  “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อบจ.)  ได้ร่วมทุนดำเนินการ โดยมีสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ร่วมดำเนินการสนับสนุนวิชาการ ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นจังหวัดหนึ่งในต้นแบบการพัฒนาความมั่นคงทางด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเป็น “ภาคใต้แห่งความสุข”ต่อไป

โดยภาคีเครือข่ายในภาคใต้ทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน โดยทำให้เกิด ความมั่นคงทั้ง 4 ด้าน คือความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางด้านมนุษย์ ความมั่นคงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางด้านสุขภาพ ดังนั้น การนำร่องปักหมุดสุขภาวะที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของชาวสุราษฏร์ ในรูปแบบการรวมทุนจาก สสส.และ อบจ.สุราษฎร์ธานี โดยมีภาคีเครือข่ายภาควิชาการที่เข้มแข็งอย่าง ม.สงขลานครินทร์ เป็นหัวแรงในการร่วมขับเคลื่อน พร้อมกับเกิดองคาพยพในการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในจังหวัด เช่น เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน

“สมัชชาสร้างสุขภาคใต้” ดันข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อคนใต้มีความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ

ดร.ปรเมษฐ์ จินา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ได้จัดงานสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ มาแล้ว 12 ครั้ง ในแต่ละปีจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนงานร่วมกัน มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ ที่จะทำให้คนใต้มีความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ คือ การผลักดันให้เกิด “คณะกรรมการสุขภาวะระดับจังหวัด” และ ผลักดันให้เกิด “กองทุนส่งเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด” ที่เป็นการร่วมทุนกันระหว่างภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งองค์การบริหาร

“จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้การนำของนายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว นายก อบจ.สุราษฎร์ธานี ได้จับมือกับ สสส. ร่วมสนับสนุนทุนเพื่อดำเนินการสนับสนุนงานสร้างเสริมสุขภาพ โดยมี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (สนส.ม.อ.) และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ร่วมดำเนินการ” ม.สงขลานครินทร์ กำลังสำคัญหนุนภาควิชาการ ขับเคลื่อนโครงการฯ ดันหลักการ “สร้างนำซ่อม”

ขณะที่ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงประเด็น บูรณาการเพื่อสร้างนำซ่อมสุขภาวะ ด้วยกองทุนเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี ที่ควรต้องเป็น? ว่า ภาคีทุกภาคส่วนต้องเห็นสอดคล้องกันในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยยึดหลัก 5 อ. คือ อ1 อาหาร อ2 อุบัติเหตุ อ3 ออกกำลัง อ4 อโรคยา และ อ5 อนามัยสิ่งแวดล้อม

เป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพต่างๆ ทั้ง เหล้า บุหรี่ การพนัน อุบัติเหตุบนท้องถนน โรคเรื้อรัง ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่ดี และสร้างอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี จะส่งผลต่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน และเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ชาวสุราษฎร์ธานีมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นการ “สร้างนำซ่อม” สุขภาพ ซึ่งเป็นหลักการที่ สสส. มุ่งเน้นมาตลอดในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส.มั่นใจ “สร้างนำซ่อม” ส่งเสริม ชาวสุราษฎร์ฯ มีสุขภาวะดีครบ 4 มิติ

ด้าน สสส. โดย นายประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ นักวิชาการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ภารกิจของ สสส. ยังคงเป็นเรื่องการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญา  เพราะปัจจุบันพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนไปจากการดำเนินชีวิต จึงนำมาสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญอันนำมาสู่ผลกระทบเชิงลบ คือ ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม ยาสูบ แอลกอฮอล์ อาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ มลพิษ เป็นต้น
“และงานครั้งนี้ ภาคีเครือข่ายทั้ง สสส.- ม.สงขลานครินทร์ และภาคีเครือข่ายได้ปักหมุดนำร่องการสร้างเสริมสุขภาวะที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีความเห็นพ้องต้องกัน มีข้อตกลงและอยู่ภายใต้การมาตราการเดียวกันที่มีความพร้อมในการร่วมกองทุน เพื่อนำมาสู่การสร้างสุขภาวะที่ดีให้พี่น้องชาวสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีใจที่พร้อมในการขับเคลื่อนงาน และมีทรัพยากรบุคคลทั้งในภาควิชาการและพี่น้องในพื้นที่ที่มีคุณภาพ การขับเคลื่อนด้วยการ “สร้างนำซ่อม” สอดคล้องกับภารกิจ สสส. เชื่อว่าจะทำให้ชาวสุราษฎร์ธานีทั้งจังหวัดมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนแน่นอน” 


ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมที่

Facebook Page : https://www.facebook.com/partnershipbuddy

https://www.facebook.com/thaihealth.buddy

Website : https://www.thaihealth.or.th/partnership/

โทรศัพท์ : 02-343-1500

Line :  TH_Buddy

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ Thaihealth Buddy

Relate topics