ประชุมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พื้นที่ สพป.นราธิวาสเขต 1
สพป.นราธิวาส เขต 1 โรงเรียนแกนนำ และคิดดีคิดเป็น สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำผลการพัฒนาจากโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ส่งต่อสู่ 10โรงเรียนร่วมพัฒนา เร่งฟื้นฟูการเรียนรู้ ช่วยเหลือ กลุ่มนักเรียนมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สพป.นราธิวาส เขต 1
มีการจัดเวทีการประชุมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นช่วงที่นักเรียนปรับตัวจากการเรียนแบบอนุบาลสู่การเรียนแบบประถมศึกษา ซึ่งการจัดการเรียนรู้ทางไกลในปีการศึกษา 2564 ทำให้นักเรียรระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไม่ได้เรียนแบบพบหน้ากับครูโดยตรงทั้งปี
จากการเก็บข้อมูลของโรงเรียนประถมศึกษาในเครือข่าย ม.อ. พบว่า ผลการไม่ได้เรียนกับครูกว่าหนึ่งปี ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้มากกว่าระดับชั้นอื่น การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีสัดส่วนค่อนข้างมาก ประมาณ 50-90% เนื่องจากผู้ปกครองไม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้มีสมรรถนะทั้ง 4 ด้านไปพร้อมๆ กัน สอดคล้องกับข้อมูลการสุ่มตรวจวัดแรงบับมือ พบว่า นักเรียนระดับชั้นป. 2 จากทุกโรงเรียน มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือเฉลี่ยต่ำกว่าค่ามาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าเด็กได้รับการกระตุ้นสมรรถนะทั้ง 4 ด้าน น้อยกว่าปกติ จึงส่งผลต่อความสามารถในการอ่านออกเขียนได้
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนฐานวิจัยของ ม.อ.ที่สังกัดสพป.นราธิวาส เขต 1 ได้จัดกิจกรรมฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นป.2 ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้และการปรับพฤติกรรมนักเรียน ซึ่งพบว่านักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีรูปแบบการคัดกรองด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และชุดประสบการณ์การจัดการกิจกรรมการฟื้นฟูที่ส่งผลต่อการพัฒนาการของนักเรียน ทางสพป.นราธิวาส เขต 1 จึงเห็นต้นทุนที่ดีที่จะนำมาขยายผลต่อแก่โรงเรียนอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างหลักประกันให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ผ่านกำลังความร่วมมือหลัก คือ โรงเรียนแกนนำ สพป.นราธิวาส เขต 1 และ ม.อ.ร่วมเป็นทีมขับเคลื่อนระดับพื้นที่ นางสาวสุธิภรณ์ ขนอม รอง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต 1 กล่าว
เวทีครั้งนี้มีครูจากโรงเรียนแกนนำ 2 โรงเรียน คือโรงเรียนบ้านค่าย โรงเรียนบ้านบูเกะบากง มาถ่ายทอดประสบการณ์ เป็นทุนตั้งต้นในการขยายผลต่อ โดยนายอมร นาคปก ผอ.โรงเรียนบ้านค่าย 1 ในโรงเรียนแกนนำ เล่าว่า การขับเคลื่อนพัฒนาของโรงเรียนตน ได้รับการแนะนำจากทีมโค้ชม.อ. ซึ่งม.อ.ไม่มีรูปแบบตายตัวมีแต่ให้หลักการของการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ และโครงงานฐานวิจัย เนื่องจากโรงเรียนมีความชำนาญและบริบทไม่เหมือนกัน ผลที่ได้รับจากการพัฒนาตนเอง คือนักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้น
จากการประชุมครั้งนี้ทางทีมขับเคลื่อนทาง (รร.แกนนำ สพป.นธ.เขต 1 และ ม.อ.) จะสร้างสรรค์การขับเคลื่อนโครงการนี้ต่อไป คือ
ขั้นแรก วัดแรงบีบมือนักเรียน ป.2 ทั้ง 10 โรงเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลตั้งต้น จุดประกายความคิด
ขั้นที่สอง ออกแบบกิจกรรมพัฒนาฐานกาย ในช่วงปิดเทอม ให้ นร.ไปปฏิบัติที่บ้าน พร้อมจดบันทึก
ขั้นที่ 3 วัดแรงบีบมืออีกครั้งตอนเปิดเทอม เพื่อวิเคราะห์หา ตัวอย่างที่ดี
ขั้นที่ 4 ชวนครูคิดต่อ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม - OMS
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”