โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และขับเคลื่อนการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา

  • photo  , 1000x667 pixel , 84,000 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 60,648 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 50,028 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 50,023 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 49,290 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 61,568 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 82,795 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 58,303 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 70,908 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 57,605 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 51,054 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 83,089 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 73,531 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 85,788 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 51,130 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 69,483 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 63,502 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 52,955 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 92,355 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 61,890 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 90,752 bytes.

สถานการณ์และความต้องการการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลาในปัจจุบันเป็นอย่างไร และรูปแบบแผนงานและกิจกรรมในการขับเคลื่อนเพื่อเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการเป็นอย่างไร ?

เป็นคำถามที่ หลายภาคส่วนมาร่วมกันระดมความคิด เติมข้อมูล ประสบการณ์ และวิเคราะห์สถานการณ์และขับเคลื่อนการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา เพื่อวางแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผ่านเวทีเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์สถานการณ์และขับเคลื่อนการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00-15.00 น. ณ โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา  อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และขับเคลื่อนการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา ดำเนินงานโดย สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผลลัพธ์จากวงพูดคุยวันนี้จะเป็นฐานการออกแบบ แผนกลยุทธ์ (Roadmap) การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา เสนอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในพื้นที่นำไปดำเนินการร่วมกันและเป็นไปในทิศทางการพัฒนาเดียวกัน และเสนอต่อหน่วยงานระดับนโยบายที่ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับทราบและมีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่

รายชื่อหน่วยงานที่ร่วมเวที :

โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์),โรงเรียนแจ้งวิทยา,โรงเรียนกลับเพชรศึกษา,โรงเรียนกิตติวิทย์,โรงเรียนชุมชนวัดควนมีด,โรงเรียนบ่อเกดวิจิตรวิทยา,โรงเรียนบ้านปากบาง,โรงเรียนบ้านลำชิง,โรงเรียนมิฟตาฮุดดีน (บ้านพลีใต้),โรงเรียนวรพัฒน์,โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ,โรงเรียนวัดคงคาสวัสดิ์,โรงเรียนวัดชะแล้,โรงเรียนสงขลาวิทยาคม,โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์/วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส้มจุกจะนะ,โรงเรียนหวังดี,โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาคาร,ร.ร.บ้านทรายขาว,ร.ร.สาธิต ม.ราชภัฏสงขลา

Teach For Thailand สอนเพื่อประเทศไทย,Thaipbs,กลุ่มมานีมานะ,กลุ่มริทัศน์หาดใหญ่

เทศบาลเมืองคอหงส์,เทศบาลนครหาดใหญ่,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรมฯ,อพม.ต.คลองแห

ร้านเจริญล่ำซ่ำ,ศูนย์การเรียนพอเพลินวอลดอร์ฟ,ศูนย์ประสาน อพม.จังหวัดสงขลา,ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา,สช.สงขลา,สมาคมอาสาสร้างสุข

สพป.สงขลา เขต 1,สพป.สงขลา เขต 2,สพป.สงขลา เขต 3,สพม.สงขลา สตูล,สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล,สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี,สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา,สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยะลา

สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา,สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา,สำนักงานการศึกษาเอกชน,สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา,สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา,สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา,องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และขับเคลื่อนการเป็นเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสงขลา

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพันธกิจสังคม - OMS

Relate topics