เรียนรู้โมเดลตลาด 4 ร. นครยะลาจะเข้มข้นด้วยพลังคนพลังชุมชนพลังการมีส่วนร่วม
จาก Workshop สู่การนำการอบความคิด โครงสร้าง 3 โครงสร้าง ที่เป็นโครงสร้างการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของพันธมิตร ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาสู่การจัดการด้วยกระบวนการนำสู่การแก้ปัญหาเดิม ที่จะเป็นนวัตกรรมทางสังคม สู่โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม 3 โครงสร้าง
1.โครงสร้างภาคีความมั่นคงทางอาหารจังหวัดยะลา
2.โครงสร้างกลไกพื้นที่ 4 กลไก ที่มีสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลาเชื่อมโยงกลไกทั้ง 4 กลไก
3.โครงสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ที่ยกระดับการพัฒนาจาก วิสาหกิจกลุ่มที่จัดการปลายน้ำเดิม ให้เป็นโมเดลธุรกิจ
จบ Workshop ท่านนายกเทศบาลนครยะลา ได้นัดคุยแผนยุทธศาสตร์ที่จะเดินร่วมกัน โดยมีพื้นที่ 94 ไร่ ในเขตเทศบาลนครยะลา ให้เป็น แหล่ง ผลิต Organic Agriculture/ wellness ให้มีครบห่วงโซ่ โดย เน้น การผลิตเพื่อคนเมือง แหล่ง KM เป็นเสมือน Hub รวมด้านเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ และสิ่งแวดล้อม ในยุทธศาสตร์
4.วางนโยบายให้ กลุ่ม 4 ร. รับผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากเกษตรต้นน้ำของสมาพันธ์ในนาม SE ยะลา
5.การทำ Zero waste จากขยะครัวเรือน จากตลาด ผัก ต่างๆ ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อนำกลับมาใช้ด้านการเกษตรอินทรีย์
6.นำ Platform มาจัดการด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
7.ให้สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา ทำแผนเกษตรอินทรีย์ นำเสนอเพื่อขับเคลื่อน
8.นำเทคโนโลยีและดิจิทัล ในการทำเกษตรอินทรีย์
9.ทำนวัตกรรมจากเปลือกทุเรียนมาใช้ประโยชน์
10.การชูอัตลักษณ์ของกล้วยหิน ทำการแปรรูปใช้นวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ มาสร้างมูลค่า
11.ทำลองกอง ฟรีเมียม เพื่อเพิ่มมูลค่า
12.ทำทุเรียนฟรีเมียมที่มีความโดดเด่น 1 เดียวภาคใต้ ด้วยกลิ่น รส ที่เน้น เงาะถอดรูป เป็น สังข์ทอง เนื้อทองที่ล้ำค่า
นี้คือ น้ำจิ้ม การขับเคลื่อน นครยะลา มหานครเกษตรอินทรีย์/สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
การจัดการโครงสร้างการทำงาน และเน้นพันธมิตรในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในแนวราบ ร่วมคิดและสร้างคุณค่าสินค้า บริการ และการทำความเข้าใจ ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ Supply-Demand การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน วางแผนผลิต แผนการตลาดล่วงหน้า ระหว่าง ผู้ผลิต กับผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
มีการลงเยี่ยมแปลงผลิตของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ มีการเยี่ยมกิจการของผู้ประกอบการการตลาด มีการนำกลุ่มผู้บริโภคจากตลาด 4 ร. ลงไปเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจ การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม
มีเวทีพูดคุยกัน ทั้ง Focus group เวทีเสวนาทิศทางการขับเคลื่อน โดยมีองค์ประกอบทั้ง วิชาการ เอกชน ราชการ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาคีต่างๆ ในห่วงโซ่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และเชื่อมโยง ทำ MOU ร่วมกันเพื่อให้ดำเนินไปตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
การวางแผนการผลิต นับ 1 จากนี้ไป 5 ปี ใน โมเดล ตลาด 4 ร. นครยะลา จะเข้มข้น ด้วย พลังคน พลังชุมชน พลังการมีส่วนร่วม ของห่วงโซ่ใน โมเดล ตลาด 4 ร. นครยะลา
เรียนรู้ไปด้วยกันเพื่อการพัฒนที่ยั่งยืน กับเรา เทศบาลนครยะลา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมภาคใต้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ พื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราขทานภาค 4 และสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”