สงขลา "ร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิต เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ"
"ร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายหลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิต เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ"
เวทีชวนคิดชวนคุยเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ เรื่อง หลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิต เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จังหวัดสงขลา
จัดขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมเซาทเทอร์นการ์เด็น เอ โรงแรมเซาท์เทอร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
มีผู้เข้าร่วม 50 คน มาจากเครือข่ายผู้สูงอายุ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา ชุมชนควนลัง พะตง แค กลุ่มเยาวชน
เวทีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะเข้่าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้และปีถัดไป
โดยรับฟังความเห็นผู้เข้าร่วมตามกลุ่มวัย ที่มีการคละเครือข่าย 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 วัยสูงอายุ (อายุ 59-80 ปี)
กลุ่มที่ 2 วัยใกล้สูงอายุ (อายุ 44 – 58 ปี)
กลุ่มที่ 3 วัยทำงาน (อายุ 26 – 43 ปี)
กลุ่มที่ 4 วัยเรียนจบทำ งานใหม่ (อายุ 14-25 ปี)
โดยมีนายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินกิจกรรม โดย ผอ.สมเกียรติ พิทักษ์กมลพร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
ระดมความคิดในกลุ่มย่อย แบ่งเนื้อหาเป็น 5 เรื่องสำคัญ
1)ทบทวนชีวิตของตนเองและครอบครัว ในปัจจุบัน (ครอบครัว การงาน รายได้ รายจ่าย หนี้สิน เงินออม สวัสดิการ สุขภาพ ฯลฯ)
2)ภาพอนาคตของฉัน ชวนมองภาพอนาคตชีวิตของตนเอง ในวัยสูงอายุ ชีวิตหลังจากอายุ 60 ปี
3)สิ่งที่เราต้องการและสิ่งที่ขาดหายไปในสังคม ช่วยกันระดมสมองเปรียบเทียบ สถานการณ์ชีวิตปัจจุบันและภาพอนาคตที่ควรจะเป็นในแต่ละประเด็น และวางแผนเส้นทางชีวิตของตามแต่ละช่วงวัย
4)สิ่งที่ฉันต้องการเมื่อชรา แต่ละคนประเมินและออกแบบชีวิต เมื่อสูงวัย (อายุ 60 ปี หรือ 80 ปี)
5)ออกแบบอนาคตร่วมกัน ร่วมออกแบบภาพที่พึงประสงค์ “เสาหลักของการประกันชีวิตอย่างมีคุณค่า : หลักประกันรายได้และคุณภาพชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ”
โดยระดับบุคคลและครอบครัวให้ความสำคัญกับเรื่องงาน/รายได้ที่มั่นคง สุขภาพ การออม ด้านสภาพแวดล้อมเห็นความสำคัญของชุมชน ความสัมพันธ์ในครอบครัว/ช่องว่างระหว่างวัย ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง
ข้อเสนอแนะภาพรวมสงขลาให้น้ำหนักกับการสร้างชุมชนจัดการตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน บนฐานทุนทรัพยากรในพื้นที่ นำมาต่อยอดสร้างรายได้ มีการวางแผนการออมตั้งแต่เกิด รวมถึงการพัฒนาคนให้สามารถวางแผนชีวิต สร้างบำนาญสีเขียว(ธนาคารต้นไม้ประจำชีวิต) มีช่องทางสร้างรายได้ที่หลากหลาย พัฒนาคนสร้างทรัพย์สินทางปัญญา เน้นการฟื้นฟูครอบครัวขยายมาเติมเต็มความเสี่ยงในชีวิต มากกว่าเน้นความเป็นครอบครัวเดี่ยว พร้อมเสนอแนะเพิ่มคุณภาพการให้บริการที่มีรองรับอยู่ระดับหนึ่ง ให้ทำงานเชิงรุกมากขึ้น และผลักดันแนวคิดจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชน ขยายผลแนวทางลดรายจ่ายวันละบาทนำมาทำสวัสดิการภาคประชาชน 9 ด้านให้รัฐร่วมสมทบกับประชาชนและท้องถิ่น และร่วมกันสร้างธุรกิจชุมชนรองรับสังคมสูงวัย
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”