สัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จชต.รุ่นที่ 2
วันที่ 14-15 ธันวาคม 2565 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และจังหวัดสตูล ได้นำกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อขับเคลื่อนเมืองปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จชต.รุ่นที่ 2
ศึกษาดูงานกลุ่มแพะแปลงใหญ่ปากพนัง ณ ฟาร์มแพะชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มใช้แนวคิด "ร่วมกันคิด แยกกันผลิต ร่วมกันขาย" กลุ่มนี้เข้มแข็งด้วยตนเอง เลี้ยงแพะเอง ขายเอง รัฐหนุนเสริม
การขับเคลื่อนงานของกลุ่มประมาณ 7 ปี การรวมกลุ่มสำคัญอย่างยิ่งในการต่อยอด เชื่อมโยงตลาด และสร้างความยั่งยืน สมาชิกต้องเสียสละ อดทน เมื่อเจอปัญหาอุปสรรค ทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ ไม่นำเงินเป็นตัวตั้ง จะเน้นกลุ่มเป็นหลัก ตลาดหลักๆ มาเลเซีย ซึ่งความต้องการแพะ จำนวน 250,000 ตัว/ปี สิ่งสำคัญในการส่งออก มาเลเซีย ต้องควบคุมโรคต่างๆ แพะต้องสมบูรณ์ น้ำหนัก 25-35 กิโลกรัม/ตัว สายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ คือ แพะพันธุ์บอร์ แองโก คาลา แพะอายุแพะ 6 เดือนครึ่งขึ้นไป
กลุ่มเกษตรกรต้องยกระดับฟาร์ม GFM (Good Farming Management) ระบบการป้องกันโรคและเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม และฟาร์มปลอกโรคบรูเซลลาและการเคลื่อนย้าย
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”