ความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา

  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,522 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 132,226 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 202,261 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,532 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 173,560 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,060 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 157,887 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,435 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,961 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,751 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 172,660 bytes.
  • photo  , 1000x462 pixel , 97,663 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 163,108 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 145,738 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 192,159 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 174,495 bytes.
  • photo  , 1883x870 pixel , 189,796 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 141,722 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 187,035 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 107,535 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 96,575 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 102,544 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 79,316 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 75,451 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 74,232 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 161,929 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 156,550 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 161,120 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 147,601 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 158,823 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 153,117 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 151,566 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 202,319 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 113,398 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 122,885 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 171,420 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 97,577 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 105,221 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 112,673 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 104,313 bytes.
  • photo  , 672x389 pixel , 41,683 bytes.
  • photo  , 718x398 pixel , 78,310 bytes.
  • photo  , 720x820 pixel , 103,353 bytes.
  • photo  , 720x723 pixel , 105,563 bytes.
  • photo  , 720x887 pixel , 116,083 bytes.
  • photo  , 1279x1169 pixel , 161,238 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 98,714 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 97,577 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 115,470 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 159,890 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 183,782 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 154,915 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 143,106 bytes.

ความร่วมมือขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสงขลา

สหกรณ์การเกษตรอำเภอนำร่องร่วมกับเครือข่ายพลเมืองสงขลาสร้างวาระร่วมเป็นคู่ค้าคนกลางประสานความร่วมมือเครือข่ายเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ รพ. โรงแรม ร้านอาหาร และหน่วยงานสนับสนุนร่วมขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัย(มาตรฐาน GAP เป็นอย่างน้อย)ในจังหวัดสงขลาส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เครือข่ายพลเมืองสงขลาโดยการประสานงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา ประสานผู้เข้าร่วมกว่า60 คนจากภาครัฐ ประกอบด้วย สนง.เศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 ธกส.สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนง.สหกรณ์จังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด รพ.หาดใหญ่/จะนะ สถานีพัฒนาที่ดินสงขลา ท้องถิ่น ลูกค้า/รพ. คู่ค้าคนกลาง(สหกรณ์การเกษตร 10 อำเภอ/วิสาหกิจ/บริษัท) และเครือข่ายเกษตรกร สมาพันธฺเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดสงขลา เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา YSF ร่วมหารือความร่วมมือ ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรหาดใหญ่จำกัด

โดยมีแนวทางความร่วมมือดังนี้

1.สร้างความร่วมมือการส่งเสริมตลาดเกษตรสุขภาพ ผัก ผลไม้ ข้าว และอื่นๆในมาตรฐาน GAP,PGS เกษตรอินทรีย์ไปสู่โรงครัว โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร และผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในพื่้นที่ระดับอำเภอ หรือระดับองค์กรความร่วมมือ โดยจับคู่ส่งเสริมให้ครบกระบวนการตั้งแต่การผลิต/มาตรฐานไปจนถึงการตลาด เป้าหมาย ได้รูปแบบตลาดที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ อาทิ

1.1 ตลาดกรีน/ตลาดชุมชน แต่ละชุมชน mapping แหล่งผลิต ส่งเสริมการบริโภคในพื้นที่เป็นรากฐานของเครือข่าย

1.2 ตลาดโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก

1.3 ตลาดเคลื่อนที่/ตลาดรถเขียว ส่งตรงให้สมาชิก หรือเคลื่อนที่ไปยังจุดสำคัญ รองรับผลผลิตจากเครือข่าย

1.4 ตลาดออนไลน์

1.5 ตลาดโรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร เรือนจำ โรงงาน

1.6 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซื้อถึงสวน

เป้าหมายย่อย : เกษตรอินทรีย์ หรือ PGS เน้นในกลุ่มตลาดกรีน ตลาดร้านอาหาร/โรงแรม ที่ต้องการวัตถุดิบไม่มาก สามารถจัดส่งได้โดยไม่เป็นภาระการเก็บรักษา

เกษตรหรืออาหารปลอดภัย มาตรฐาน GAP ร่วมลดทอนข้อจำกัด อาทิ ด้านงบประมาณ ํธกส.มีนโยบายสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.001(ล้านละร้อยบาท)ให้กับกลุ่มหรือเกษตรกร หรือคู่ค่าที่จะต้องนำไปใช้เป็นเงินหมุนเวียนให้กับสมาชิกเกษตรกร

ด้านการผลิต องค์กรความร่วมมือขยายการรับรู้ให้กับสมาชิกเกษตรกร พร้อมกับใช้แนวทางตลาดล่วงหน้า นำการผลิตเพื่อสร้างแรงจูงใจ พร้อมกับลดต้นทุุนการผลิต สามารถใช้ platform ที่แต่ละองค์กรมี อาทิ iGreenSmile เชื่อมโยงผู้ผลิต/คู่ค้า ผู้บริโภค/ลูกค้า เกษตรกร และหน่วยงานสนับสนุน

สหกรณ์จังหวัดนำตัวแบบที่ทำได้สำเร็จไปขยายผล เป็นกรณีตัวอย่างให้เกิดการรับรู้ต่อไป

ผลักดันนโยบายส่งเสริมระดับจังหวัดพัฒนารูปแบบการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ อาทิ ผักยกแคร่ โรงเรือนระบบเปิด

ปี 66 จัดเวทีระดับโซน โดยนำร่อง ณ อำเภอที่มีความพร้อม อาทิ รัตภูมิ/บางกล่ำ หาดใหญ่/คลองหอยโข่ง สะบ้าย้อย/จะนะ สทิงพระ/กระแสสินธ์ คู่ขนานกับการนำร่องในส่วนของเกษตรอินทรีย์กับร้านอาหาร โรงแรม

2.พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งเสริมเกษตรและอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ในส่วนของข้อมูล การประสานงาน การประชุม และแผนปฎิบัติการเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน

2.1 ระบบสารสนเทศกลาง ผ่าน www.communeinfo.com (มูลนิธิชุมชนสงขลา/สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด/สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนและเครือข่ายเกษตรกรร่วมดำเนินการ)

-ข้อมูลรายชื่อเกษตรกรมาตรฐานต่างๆ เชิงพื้นที่/มาตรฐาน/ขนาดแปลง/ชนิดผลผลิต กลุ่มองค์กรต่างๆ

-ข้อมูลความต้องการผลผลิตจากเมนูอาหารสุขภาพ จากรพ. โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียน ฯลฯ ชนิดผลผลิต จำนวน ราคาในแต่ละมาตรฐาน

-ข้อมูลปัจจัยการผลิตของเกษตรกร

ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลนี้จะทำให้เห็นจำนวนเกษตรกร จำนวนพื้นที่ จำนวนผลผลิต และความต้องการวัตถุดิบ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมต่อไป

2.2 เชื่อมโยงผู้ประสานงาน ของแต่ละองค์กรความร่วมมือผ่านกลุ่มไลน์ "เครือข่ายเกษตรวาระอาหารปลอดภัยสงขลา"

โดยหวังว่าการทำงานพื้นฐานสองอย่างนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนสร้างวาระร่วมสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ต่อไป


ข้อมูลสำคัญจากสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา โดยคุณสนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม ผู้รวบรวมและสื่อสารประชาสัมพันธ์

แผนและกรอบแนวทางของแต่ละอำเภอ ที่นำร่อง ที่เกิดจากความร่วมมือของบทบาทภาคีในห่วงโซ่คุณค่า โดย ทางสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสังคมสงขลา Biz Club สงขลา และ บริษัทสงขลาออแกนนิกวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้เชื่อมต่อและปักหมุดเริ่มขับเคลื่อน ร่วมกับ สหกรณ์การเกษตร ทั้ง 16 อำเภอ โดยมีประเด็นหลัก

1.กลไกการจัดการในห่วงโซ่คุณค่า ต้นร้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

2.การจัดการด้านข้อมูลมูล ใน OAN Platform  เพื่อการเชื่อมโยง Supply-Demand

3.การส่งเสริมเพื่อที่เกษตรสุขภาพ การเน้นให้ความรู้ การจัดการแปลง การวางแผนต้นทุน แผนผลิต แผนรายได้ แผนกำลังคน การจัดการความเสี่ยง การทำปฏิทินแปลง

4.อบรมการทำข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลง ผ่านออนไลน์ ที่จะเชื่อมโยง ในสงขลา และ 60 จังหวัด

5.การลงตรวจแปลง เพื่อรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมมาตรฐาน SDGsPGS พร้อมออกใบรับรองให้ 2 ภาษา (ไทย และอังกฤษ)
เริ่มตามลำดับ

6.อบรม และทำเวที VOC และ ทำ BMC workshop ร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในห่วงโซ่ ของตลาดเขียว ตลาด 4-6 ร. ตลาดออนไลน์

7.การสร้างกระบวนทัศน์ในการพัฒนาที่ยังยืน จากการจัดการระบบอาหารท้องถิ่น และความมั่นคงทางอาหารสงขลา

8.การเปิด code และ QE code ร้านค้า ในการเชื่อมโยง Supply-Demand

9.ธรรมาภิบาลกับคู่ค้า

10.การยกระดับวิสาหกิจชุมชนสู่ SE

โดยมีสหกรณ์การเกษตรได้ประสานทางสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา มาแล้ว และมีกำหนดการลงพื้นที่ ดังนี้

วันที่ 29 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้ สหกรณ์การเกษตรบางกล่ำ จัดประชุมและวางแผนยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน

วันที่ 19 มกราคม 2566 ณ สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ

ติดต่อประสานได้ที่  088-3999396, 063-9691916 หรือผู้นำอำเถอ

รายชื่อเกษตรกร และแปลงอำเภอเทพา ที่ใบรับรองหมดอายุ หากประสงค์จะต่ออายุ ให้ติดต่อประธานอำเภอ หรือเลขา อำเภอเทพา

1.นายเผิน จันทรจิตร 170 ม.3  ต.เกาะสะบ้า อ.เทพา แปลงผักเกาะสะบ้า พื้นที่ปลูก : 1 ไร่

2.นางอาภรณ์ จันเพ็ชรสี 313 หมู่ 3  ต.เกาะสะบ้า อ.เทพา โรงเรียนวัดนิคมประสาทมิตรภาพที่ 149 พื้นที่ปลูก : 2 ไร่

3.นายฮาหรุน เหมมาน 157 ถ.ประธานสุขา ต.เทพา อ.เทพา บ้านสวน กรีนการ์เด้น แอนด์ ฟาร์ม พื้นที่ปลูก : 1.75 ไร่

4.นายเสรี คงยัง 207/1 ม 8  ต.เทพา  อ.เทพา สวนลูกหว้าพื้นที่ปลูก : 5 ไร่

5.นายสุพล เตชะพันธ์ 44 ม.5  ต.วังใหญ่  อ.เทพาสวนของแม่ พื้นที่ปลูก : 40 ไร่

6.นายสมนึก สุวรรณโณ 173 ม.14  ต.ท่าม่วง  อ.เทพา สมนึกสุวรรณโณ พื้นที่ปลูก : 7 ไร่

7.นางสาววรรณา เกื้อก่อแก้ว 75 ม.2  ต.วังใหญ่  อ.เทพา สวนไผ่สำลี พื้นที่ปลูก : 40 ไร่

8.นายพันธ์ อรุณศรี 2  ต.วังใหญ่  อ.เทพา  สวนอรุณศรี พื้นที่ปลูก : 2 ไร่

9.นายประชุม ช่วยอินท ร์ 99 ม.2  ต.วังใหญ่  อ.เทพา สวนช่วยอินทร์ พื้นที่ปลูก : 5 ไร่

10.นายบรรหาร แสงงาม หมู่ 4 บ้านใหม่  ต.วังใหญ่  อ.เทพา สวนมะนาวแสงงาม พื้นที่ปลูก : 1 ไร่

11.นายเซี่ยง สีสุวรรณ์ หมู่4  ต.วังใหญ่  อ.เทพาสวนลุงเซี่ยง พื้นที่ปลูก : 4 ไร่

พื้นที่สงขลาลงตรวจแปลงระหว่างวันนี้ ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2566

ประชุมกลั่นกรอง 10 รอบ คือ

มกราคม 66  ประชุม 7 รอบ

กุมภาพันธ์ 66 ประชุม 3 รอบ

ประชุมรับรองจังหวัด 24 กุมภาพันธ์ 2566

ซึ่งจะมีจังหวัดสตูล นคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส มาร่วมประชุมรับรองด้วยรวมสงขลา 110 แปลง อีก 5 จังหวัด ประมาณ 80 แปลง

Relate topics