“เข้าใจ เป้าหมาย กระบวนการ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ปัตตานี”
“เข้าใจ เป้าหมาย กระบวนการ ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่”
สถานการณ์ด้านการศึกษาของปัตตานี
1 ในกลุ่มจังหวัดที่มีค่าดัชนีย่อยด้านการศึกษาน้อยที่สุดในประเทศ
มีจำนวนเด็กยากจนมากเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศ
จำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษในระบบทุกสังกัด ทุกระดับชั้น 40,864 คน
เด็กพิการที่มีข้อจำกัดในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ 1,382 คน
เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษามากถึง 19,787 คน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่
1.ครอบครัวยากจน ครอบครัวแหว่งกลาง เด็กอยู่กับปู่ย่า ตายาย ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เกิดภาวะทุพโภชนาการ
2.หน่วยงานจัดการศึกษา และความพร้อมของโรงเรียน มีคุณภาพและความพร้อม ไม่สอดคล้องกับความสามารถและคุณภาพของเด็ก
3.สังคม
ค่านิยมของสังคมและครอบครัว ไม่ใส่ใจเรื่องการศึกษา ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
ความเอาใจใส่ของสังคมด้านการศึกษา และมิติที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีน้อย
สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เร่งให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำรอบด้าน ทั้งการศึกษา สังคมและเศรษฐกิจ
ปัจจัยความสำเร็จและจุดคานงัด
1.เป้าหมายชัดเจน
การตั้งเป้าหมายชัดเจนร่วมกัน ตั้งเป้าหมายเดียวกันว่า 15% ล่างของเด็กปัตตานีต้องหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ จะเป็นกระดุมเม็ดแรกที่ทำให้งานขับเคลื่อนได้
2.หาวิธีการที่ใช่ เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้ต้นทุนพื้นที่ และต้นทุนของเครือข่ายที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนหรือสร้างขึ้นมาใหม่จากกระบวนต่าง ๆ เช่น การประชุม เป็นต้น
3.ทีม Spirit ที่ดี ทุกคนมีความรู้สึกร่วมกันว่า ใคร ๆ ก็ทำงานร่วมกันได้ และมีแกนนำของทีม Spirit ที่ช่วยยึดโยงหัวใจคนทำงานร่วมกัน
#กสศ
#การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”