"การส่งเสริมตลาดอาหารปลอดภัย สงขลา ยะลา"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 183,392 bytes.
  • photo  , 1000x1414 pixel , 243,305 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,655 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 137,381 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 110,760 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,988 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 159,707 bytes.

"การส่งเสริมตลาดอาหารปลอดภัย สงขลา ยะลา"

วันที่ 7 มกราคม 2566  Node flagship สสส.ยะลา นำทีมมาดูงานการส่งเสริมตลาดอาหารปลอดภัยจ.สงขลา โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาแล ะรพ.หาดใหญ่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำประสบการณ์การส่งเสริมงานตลาดกรีน และการส่งผักเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาล

มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ

การตลาดมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ตลาดนัดในชุมชน ซื้อขายกันเองในกลุ่มเกษตรกรและชุมชน เงื่อนไขเช่นนี้เหมาะสำหรับรายย่อย หรือการผลิตที่ยังไม่มากพอ หรือจะยกระดับไปสู่การเป็นตลาดกรีน ตลา่ดสุขภาพร่วมกับหน่วยงานต่างๆ หรือร่วมกับโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ท้องถิ่น ฯลฯ ในส่วนการส่งผลผลิตเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาลนั้น กรณีรพ.หาดใหญ่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เฉพาะเจ้าหน้าที่ก็มีกว่า 3 พันคนแล้ว การส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัย เฉพาะผัก ผลไม้ปัจจุบันมีคนกลางมาจัดส่งอยู่ 2 เจ้า มีการตัดออร์เดอร์ทุกสัปดาห์ แต่ก็มีปัญหาเรื่องเงินหมุนเวียนให้เกษตรกรที่เป็นภาระของคู่ค้า เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้าง กว่าจะเบิกจ่ายเงินได้ก็ใช้เวลาราว 30-45 วัน

คุณมนุชาธิป วรกาญจนานนท์ อดีตสหกรณ์จังหวัดสงขลาและยะลา เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะ ให้ประสานความร่วมมือกับร้านค้าสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า(สกต.) เพื่อช่วยเป็นหน่วยประสานงานกลางระหว่างเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร กับโรงพยาบาล ร้านอาหาร หรือลูกค้าในการเสริมหนุนทั้งในด้านงบประมาณที่จะต้องมีหมุนเวียนให้เกษตรกร ด้วยสกต.ทำงานร่วมกับธกส.อย่างใกล้ชิด และมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขการเป็นหน่วยงานที่สามารถจัดส่งผลผลิตให้กับหน่วยงานรัฐต่างๆได้อย่างสดวกกว่าการเป็นคู่ค้าภาครัฐแบบอื่น

มูลนิธิชุมชนสงขลา เสนอให้ร่วมใช้ platform igreensmile และร่วมกับกขป.เขต 12 ที่จะเชื่อมประสานลูกค้า คู่ค้า และกลุ่มเกษตรกรให้สามารถบริหารจัดการวัตถุดิบ ผัก ข้าว ผลไม้ร่วมกันทั้งในมาตรฐาน Gap และอินทรีย์ โดยเบื้องต้นให้มีวิสาหกิจกลางทำหน้าที่รวมกลุ่มเกษตรกร ทำแผนการผลิตร่วม และร่วมมือกับ สกต.ในการเป็นหน่วยงานแม่ช่วยเหลือในด้านเงินลงทุน และการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนลูกค้าจะลงข้อมูลความต้องการวัตถุดิบล่วงหน้า และเปิดออร์เดอร์ในแต่ละช่วงเวลาให้กับคู่ค้าแต่ละราย

โดย node flagship สสส.ยะลา จะนำร่องในส่วนโรงพยาบาลรามัน ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก พอจะรองรับผลผลิตของสมาชิกโครงการ

Relate topics