รมณีย์จัดสรรทรัพย์แบ่งปันสุข เครือข่ายพังงาแห่งความสุข

  • photo  , 1000x750 pixel , 177,484 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 134,108 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 127,183 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 129,477 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 150,496 bytes.

รมณีย์จัดสรรทรัพย์แบ่งปันสุข  เครือข่ายพังงาแห่งความสุข

ทำไม..ต้นแบบต้องเป็นรมณีย์

หนี้สินของเกษตรกรคือปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจและพยายามแก้ไขมาอย่างยาวนาน  อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่อาจพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อหาช่องทางผสานความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเข้าด้วยกัน  อุปสรรคของกระบวนการปลดหนี้ผ่านการจัดตั้งกองทุนคือการขาดประสบการณ์ในการระดมคนเพื่อวางเป้าหมายอย่างมีส่วนร่วม ขาดองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการทรัพยากรและองค์กรเพื่อสร้างความโปร่งใสเป็นธรรมอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างเสถียรภาพและอำนาจต่อรองกับกลไกการตลาด  การส่งต่อประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติงานจริงของท้องถิ่นที่สามารถดำเนินงานแก้ปัญหาหนี้สินและสร้างระบบสวัสดิการประสบความสำเร็จจะเป็นช่องทางสร้างการเรียนรู้สู่ชุมชนอื่นต่อไป มางานนี้แล้วคุณจะได้อะไร..?

1.เรียนรู้เข้าใจแนวทางการจัดตั้งกองทุนในชุมชนเพื่อปลดหนี้และยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อให้เข้าใจกระบวนการบริหารจัดการกองทุนในชุมชน กองทุนต่างๆ ในชุมชน การทำปุ๋ยขี้ช้าง การจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน  การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย)

2.เรียนรู้เข้าใจกระบวนการการสร้างอำนาจการต่อรองและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม  การขายผลผลิตทางการเกษตร (ยางก้อนถ้วย, มังคุด)

3.เรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการทุนในชุมชนของตนเอง

ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา (นายเอกรัฐ หลีเส็น) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วย ผู้จัดการ ธกส. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต มูลนิธิชุมชนไท ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นําท้องที่ ประธาน สภาองค์กรชุมชนตําบล เข้าร่วมงาน

นางกัลยา โสภารัตน์ ประธานสภาองค์กรชุมชนตําบลรมณีย์ กล่าวว่า “จาก!สมัชชาพังงาแห่งความสุข” และสภาองค์กรชุมชนตําบล เป็นเครื่องมือที่สําคัญ เป็นกระบวนการสร้างพื้นที่กลางร่วมกัน ทําให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ร่วม และการทํางานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2554 เป็นต้นมา ทําให้ตําบลรมณีย์ ใช้กระบวนการสมัชชาในการขับเคลื่อนพื้นที่ โดยค้นหาความทุข์ของคนรมณีย์ พบว่า ราคาผลผลิตทางการ เกษตรตกต่ำ มีปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ ปัญหาความความยากจน ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาเรื่องระบบ การดูแลสุขภาพ และการดูแลกันในระบบสวัสดิการสังคม

ทําให้ชาวรมณีย์รวมกลุ่มกันจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ ชุมชนตําบลรมณีย์ จากการก่อตั้งถึงปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า1,500 คน ที่ดูแลสวัสดิการสังคมที่มีการแก้หนี้ นอกระบบทั้งตําบล การจัดหาเครื่องมือทางการเกษตร และยกระดับไปถึงการจัดซื้อรถมอเตอร์ไซร์ ให้สมาชิก เพื่อลดหนี้ ลดดอกเบี้ยให้สมาชิกได้ การจัดตั้งกลุ่มยางก้นถ้วย เพื่อทําเป็นตลาดกลางยางก้นถ้วยที่ขายร่วมกัน ให้ได้ราคาเพิ่มจากท้องตลาดกว่ากิโลกรัมละ 3-5 บาท เพิ่มรายได้ให้สมาชิก การจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยทั้งทําปุ๋ยหมัก และจัดหาปุ๋ยให้สมาชิเพื่อลดรายจ่าย กลุ่มแปรรูปเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ เช่นการทําขนมกล้วย กล้วยฉาบ จําหน่ายเพิ่มรายได้ให้สมาชิก และยกระดับมาทําผลิตภัณฑ์สบู่ล้างจานในครัวเรือนจากน้ํามันเหลือใช้ กระบวนการทั้งหมด ใช้สภาองค์กรชุมชนตําบลรมณีย์ เป็นพื้นที่กลางในการขยับขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน”

จากการดําเนินการขององค์กรชุมชนตําบลรมณีย์ ได้จัดซื้อที่ดินและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้องค์กรชุมชน ให้ สอดคล้องกับกิจกรรมที่ดําเนินการ ที่มีหน่วยงานองค์กร ภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนุนช่วยมาอย่างต่อเนื่อง จึงจัดงานเปิด ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ “รมณีย์จัดการทรัพย์แบ่งปันสุข” เและระดม ทุนในการปรับปรุงศูนย์และพัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน  โดยมีวัตถุประสงค์

1.เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้หน่วยงาน ภาคี องค์กรพัฒนาเอกชน ร่วมกับองค์กรชุมชน เพื่อยก ระดับการเรียนรู้ขององค์กรในพื้นที่และหน่วยงานภาคีในการขยายผลไปสู่การพัฒนาพังงาแ่งความสุข

2.เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีพัฒนาในพื้นที่ จังหวัด และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมใน การขับเคลื่อนการพัฒนสและขยายผลได้

3.เพื่อการระดมทุนในการพัฒนาองค์กรชุมชและศูนย์การเรียนรู้องค์กรชุมชนตําบลรมณีย์ต่อไป

ไมตรี จงไกรจักร  บันทึกเรื่องราว

Relate topics