สงขลาเดินหน้า เรียนรู้การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เดินตามรอยรุ่นพี่ "ยะลาพื้นที่เสมอภาคทางการศึกษา"

  • photo  , 1000x748 pixel , 118,597 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 123,408 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 107,376 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 128,020 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 119,199 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 93,074 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 113,988 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 134,179 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 130,208 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 124,193 bytes.

สงขลาเดินหน้า เรียนรู้การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เดินตามรอยรุ่นพี่ "ยะลาพื้นที่เสมอภาคทางการศึกษา"

สมาคมอาสาสร้างสุขนำทีมศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สถาบันปฏิบัติการชุมชนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยทักษิณ สมาคมสภาการศึกษาภาคประชาชนจังหวัดสงขลา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ครูสอนเด็กด้อยโอกาส เทศบาลนครสงขลา และครูผู้สอนคนพิการ กศน.สงขลา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ "ยะลาพื้นที่เสมอภาคทางการศึกษา" ณ อบจ.ยะลา

นายมุขตาร์ มะทา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ให้เกียรติเป็นประธานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นางสาวรุ่งกานต์ สิริรัตน์เรืองสุข รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เป็นแกนนำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดนมีภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลา ได้แก่ อบจ.ยะลา เทศบาลตำบลยะหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา และบ้านบุญเต็ม ให้เกียรติร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานเพื่อลดความเหลือ่มล้ำด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนในจังหวัดยะลา

สิ่งสำคัญที่ทางยะลาเสนอแนะให้ทางสงขลากลับมาดำเนินการ ได้แก่

1.ฐานข้อมูล ต้องมีระบบฐานข้อมูลเริ่มต้น

-ทะเบียนราษฎร์

-ข้อมูลเด็กนักเรียนจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

-ข้อมูล chidren dropout จาก กศน.

-ข้อมูล social map จาก พมจ.

-health data center จาก สสจ.

2.การสำรวจข้อมูล

-คนในพื้นที่

-แบบสำรวจที่มีเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น เก็บข้อมูลเชิงลึกพร้อมภาพถ่าย

-ระบบฐานข้อมูลที่แยกประเภทชัดเจน ประทวลผลได้

3.กระบวนการ

-พัฒนากลไก

-พัฒนาข้อมูล

-พัฒนาวิธีการช่วยเหลือ

4.คณะทำงาน 5ส

-สรรหา คนเก่ง คนมีใจ

-ส่งเสริม ความรู้ ประสบการณ์

-สนับสนุน

-สังสรรค์ สร้างพลัง

-สรุปบทเรียน

5.การแยกปัญหาตามประเภท

-เศรษฐกิจ

-ครอบครัว

-สังคมและสภาพแวดล้อม

-พฤติกรรม

-สุขภาพ

-ระบบการศึกษา

6.ทำพื้นที่นำร่อง

-พื้นที่ที่ทีมงานพร้อม

-พื้นที่มีปัญหาความยากลำบาก

ยังมีเรื่องราวดี ๆ จาก อบจ.ยะลาอีกมากมาย ที่เป็นบทเรียนและแนวทางในการทำงานให้กับทีมจังหวัดสงขลาเพื่อนำมาทำงานลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ยะลาทำงานมา 3 ปี ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้เข้าถึงระบบการศึกษาได้กว่า 4,000 คน สงขลาเพิ่งเริ่มก้าวเดินเป็นปีแรก มุ่งหวังที่จะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลาให้ได้มากที่สุด


"สมัชชาการศึกษา พื้นที่ร่วม พื้นที่กลางทางการศึกษา เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ"

21 มกราคม 2566 สมาคมอาสาสร้างสุขนำทีมศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา สถาบันปฏิบัติการชุมชนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยทักษิณ สมาคมสภาการศึกษาภาคประชาชนจังหวัดสงขลา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ครูสอนเด็กด้อยโอกาส เทศบาลนครสงขลา และครูผู้สอนคนพิการ กศน.สงขลา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาในพื้นที่ภาคใต้กับภาคีเครือข่ายจังหวัดสตูล ในประเด็น "สมรรชาการศึกษาจังหวัด และพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา"

คนสตูลให้นิยาม "สมัชชาการศึกษา" คือ

-พื้นที่ร่วม พื้นที่กลาง

-สนามที่รวมคนที่มีเป้าเหมือนกัน มีรากเชื่อมโยง

-สนามที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วม มีอิสระทางความคิด ไม่มีความคิดชี้นำ

-เป็นพื้นที่เรียนรู้ ใครอยากอยู่ อยากไปก็ได้

-มีกิจกรรมร่วม ที่คัดกรองคนโดยธรรมชาติ

-ทำงานบนระบบเครือข่ายทางใจ ไม่ใช่คำสั่ง
ข้อเสนอจากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-สร้างตนเองให้มีของดีโชว์ แล้วเครือข่ายจะเข้ามาเอง

-หาคนที่มีความคิดต่าง คิดนอกกรอบการทำงานของตนเอง นอกระบบ

-ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ทำงานคนเดียว

-ต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง

-การเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่แยกส่วน เน้นการบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ชีวิต ไม่ใช่การเรียนรู้หนังสือ

-การเรียนรู้ด้วยตนเอง

-เป็นกระบวนการบอกกล่าว ดึงมือทำ พาทำ

-ให้จัดลำดับความสำคัญของงาน คน

สมัชชาการศึกษา กับกระบวนการมีส่วนร่วม "JUNGKAB MODEL"

  • Joy

-Unity

-Nature

-Good

-Knowladge

-Attitude

-Bland Stome

สงขลากำลังเรียนรู้ และรวมพลเพื่อนำไปสู่การจัดสมัชชาจังหวัดสงขลา โดยมีภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมด้วยช่วยกัน หวังว่าจะเกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ด้านการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลาในโอกาสต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ  ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้

Relate topics