"การขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัย จ.ตรัง"

  • photo  , 1000x750 pixel , 179,264 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 118,347 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 65,138 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 107,316 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 107,122 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 151,544 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 151,305 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 147,912 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 147,474 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 161,998 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 122,394 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,911 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,673 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 172,548 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 66,098 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 177,218 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 140,131 bytes.

"การขับเคลื่อนงานรองรับสังคมสูงวัย จ.ตรัง"

วันที่ 24 มกราคม 2566 ทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง/node flagship สสส.ตรัง ชวนมาช่วยงานในฐานะผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลาและเลขานุการ กขป.เขต 12 ไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนงานสังคมสูงวัย 11 ตำบลในจังหวัดตรัง ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

นอกจากคณะทำงานของแต่ละตำบลที่มีทั้งผู้บริหารท้องถิ่น หรือทีมงานของท้องถิ่น รพ.สต. อสม. เครือข่ายผู้สูงอายุแล้วยังมีภาคียุทธศาสตร์จังหวัด ประกอบด้วย รองสสจ. ทีมงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ปรึกษานายกอบจ. พมจ. ท้องถิ่นจังหวัด ทีมพี่เลี้ยงของ node flagship สสส.ตรังเข้าร่วม

นำประสบการณ์การพัฒนาระบบข้อมูลกลางผ่านแอพ imed@home ของมูลนิธิชุมชนสงขลาไปร่วมแลกเปลี่ยน ชี้ให้เห็นแนวทางใช้ระบบดิจิตอลในการทำงานเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ใช้ข้อมูลมาเป็นเครื่องมือสานพลังความร่วมมือ รวมไปถึงการบูรณาการงานฐานข้อมูลกลางระดับจังหวัดร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา และแลกเปลี่ยนบทเรียนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเพื่อที่จะเสริมหนุนการพัฒนาธรรมนูญประเด็นรองรับสังคมสูงวัยของจังหวัดตรัง

มีความร่วมมือการทำงานกันดังนี้

1)นำระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home ไปเสริมหนุนงานรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่ 11 ตำบล โดยเริ่มต้นในส่วนของข้อมูลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงและเปราะบางทางสังคม เพื่อเริ่มต้นใช้งาน เรียนรู้ระบบงาน และเสริมหนุนบางตำบลที่ต้องการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนเชิงบูรณาการระดับพื้นที่

2)เชื่อมโยงกับทีมงานกองทุนฟื้นฟูฯจังหวัดตรัง ที่กำลังวางระบบการทำงานภายในรองรับงานทั้งกองทุนฟื้นฟูฯและการถ่ายโอนรพ.สต. เสนอให้ตั้งอนุกรรมการมาวางระบบงานฐานข้อมูลกลาง ตรวจสอบต้นทุนการขับเคลื่อนงานของแต่ละองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางเป้าหมายการดำเนินงาน และ mou ความร่วมมือเพื่อเปิดช่องให้นำข้อมูลของแต่ละองค์กรเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลางที่จะร่วมกันพัฒนาต่อไป

3)เสริมหนุนขบวนงานธรรมนูญพื้นที่และสมัชชาสุขภาพจังหวัดในประเด็นร่วมกับงานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 ตำบลเหล่านี้ยังได้เข้าแผนของจังหวัดตรังหนุนเสริมงานอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกด้วย


iMed@home เครื่องมือสานพลังความร่วมมือ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนเปราะบางในตำบล และ โอกาสในการบูรณาการงานฐานข้อมูลกลางระดับจังหวัดร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดรองรับสังคมสูงวัย ?

วันที่ 24 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 116 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง กับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการใช้ระบบ iMed@home และกระบวนการจัดทำธรรมนูญเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย

ทีมคณะทำงานจาก 11 พื้นที่โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้งฝ่ายบริหารนายก รองนายกบ้าง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่รับผิดชอบ ท้องที่ เจ้าหน้าที่รพ.สต. แกนนำชุมชน อสม. และภาคประชาชนในตำบลละ 5-6 คน

พร้อมด้วยภาคียุทธศาสตร์ระดับจังหวัดทั้ง พี่อนันต์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด พี่ประคิ่น ผอ.กองสาธาณสุข จาก อบจ.  คุณเดชฤทธิ์เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจาก พมจ. และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากท้องถิ่นจังหวัด

กระบวนนำโดยพี่ชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา และเลขานุการคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12 นำประสบการณ์การพัฒนาระบบ iMed@home มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่แนวคิด จนถึงวิธีการใช้ง่ายระบบเยี่ยมบ้าน

ใครเป็นคนใช้ข้อมูล ? ใครเกี่ยวข้อง ? ใครได้ประโยชน์ ?

ตำบลไหนบ้างที่คิดว่ามีและเป็นเจ้าของข้อมูลระดับตำบล ?

คำถามชวนคิดที่ทำให้แต่ละคนได้ทบทวนถึงที่ผ่านมาโดยเฉพาะงานในการจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านมา
แต่ละหน่วยงานก็จะมีระบบฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน สาธารณสุขก็ดี พมจ. ก็ดี / คนเก็บข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูล  /ข้อมูลอยู่ในกระดาษ
ความจริงในพื้นที่ที่หลายคนมีประสบการณ์ร่วม

หน่วยงานแต่ละส่วนก็จะมีมิติ/ด้านที่รับผิดชอบ แต่ iMed@home เอาคนเป็นตัวตั้งข้อมูลในการจัดเก็บจึงมีทั้งด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านคุณภาพชีวิตอื่น ๆ

ชวน downlodeติดตั้ง app  iMed@home และฝึกใช้การใช้ app ในการเยี่ยมบ้าน ลองบันทึกข้อมูล ใส่ภาพ บันทึกความต้องการช่วยเหลือ

ความท้าทายของพื้นที่ต่อจากนี้คือ การเริ่มนับหนึ่งในพื้นที่ โดยจะเริ่มจากนำเข้าข้อมูลคนเปราะบางในตำบลอย่างน้อยก็ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่ดูแลผ่าน Long Term Care  /  คนเปราะบาง / อื่น ๆ  และได้เริ่มระบบ เรียนรู้การใช้งานเยี่ยมบ้าน

สำหรับตำบลที่มีความพร้อมต้นทุนความร่วมมือภาคส่วนต่าง ๆ มีมากโดยเฉพาะท้องถิ่น ก็ชวนยกระดับพัฒนากลไกการทำงานระบบตำบล การพัฒนาฐานข้อมูลกลางตำบล เพื่อเชื่อมต่อไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในตำบลต่อไป

ในระดับจังหวัด การพัฒนาข้อมูลกลางก็มีโอกาสโดยเฉพาะการทำให้เชื่อมต่อกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดของ อบจ. มีข้อเสนอในการให้ตั้งอนุกรรมการในการจัดทำข้อมูลกลาง เพื่อได้เริ่มของจังหวัดตรัง

ชวนติดตามการใช้ iMed@home ในระดับตำบล และลุ้นไปกับโอกาสในการพัฒนาฐานข้อมูลกลางระดับจังหวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตรังต่อไป

#เตรียมรองรับสังคมสูงวัย
#NodeFlagshipTrang

#สมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง

เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics