ก้าวย่างสำคัญภาคีเครือข่าย Node Flagship ตรัง

  • photo  , 1000x563 pixel , 82,795 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 268,606 bytes.
  • photo  , 2048x1153 pixel , 199,855 bytes.
  • photo  , 600x338 pixel , 42,570 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 105,981 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 105,339 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 128,931 bytes.
  • photo  , 1474x1110 pixel , 198,727 bytes.
  • photo  , 1474x1110 pixel , 197,910 bytes.
  • photo  , 600x338 pixel , 47,059 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 110,005 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 120,395 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 87,193 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 269,132 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 366,288 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 296,671 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,795 bytes.

ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร (ข้าวตรัง)

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566

ยังคงแข็งขัน ขอบคุณทีมพี่เลี้ยงประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังทุกท่าน นำโดยพี่เอี้ยง Samran Samathi หมอโชค Somchok Sakunsongbunsiri  พี่เล็ก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ชนิตา บุรีรักษ์ พี่จง Pimprakai Sritrairat  เพื่อนซ้ง Pipat Jutiamonlert จากสำนักงานสภาเกษตรกร  ที่เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกันอย่างพร้อมเพียง แม้จะเป็นยามค่ำคืนช่วงเวลาพักผ่อนของทุกท่าน

ชวนกัน updateสถานการณ์พื้นที่ปฏิบัติการโครงการข้าว 11 พื้นที่  การเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ที่เริ่มเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงเชิงความสัมพันธ์ที่หลายพื้นที่ภาคีเครือข่ายที่ท้องถิ่นเข้ามาจับไม้จับมือทำงานกับกลุ่มนาข้าว  กลวิธีการไปเชื่อมกับโรงเรียน  ข้อเรียนรู้อาทิเรื่องการทำมาตรฐานข้าว  มีข้อห่วงกังวลและโจทย์ท้าทาย อาทิการจัดเก็บข้อมูลผู้บริโภค กับช่วงเวลา 2 เดือนสุดท้ายก่อนปิดโครงการของพื้นที่

ขอบคุณที่ปรึกษา พี่ทวี นายทวี สัตยาไชย  ผู้ใหญ่ใจดีที่ลงไปเยี่ยมเยียนพื้นที่ปฏิบัติการโครงการทั้งข้าวนาข้าวไร่ ช่วยเสริมพลังเสนอข้อคิดสำหรับทีมในการทำงานต่อทั้งประเด็นการทำเวทีสะท้อนผลลัพธ์กับพื้นที่ รวมถึงโจทย์การตลาดของกลุ่มทำนาทั้งระดับชุมชน และภายนอกชุมชน รวมถึงผ่านออนไลน์
ก้าวกันต่อ

กับภารกิจชวนคนตรังเพิ่มพื้นที่การทำนา และชวนคนตรังกินข้าวตรัง


ประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566

เสริมแรง "ท่าพญา" เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

อังคารที่ผ่านมาวงประชุมคณะกรรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญาที่ประกอบด้วยภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่นำโดยนายกนิรัตน์ ที่เข้าร่วมประชุมแทบทุกครั้ง ทีมเจ้าหน้าที่ของเทศบาลที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่รพ.สต.ท่าพญา ตัวแทนฝ่ายท้องที่แกนนำชมรมผู้สูงอายุ  แกนนำ อสม.

กระบวนการเป็นการทบทวนการดำเนินกิจกรรมโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยที่ผ่านมาของพื้นที่โดยพี่ชาย ชนพัฒน์ นักพัฒนาชุมชนของเทศบาล

ประเด็นต่าง ๆ เริ่มถูกขับเคลื่อน  ด้านสังคมมีโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นตัวเดินเรื่อง ประเด็นการออม เน้นการทำงานผ่านการออมต้นไม้ ด้านสภาพแวดล้อม เริ่มดำเนินการแล้วในพื้นที่วัดในพื้นที่ แต่ยังมีมีประเด็นที่ยังขับเคลื่อนดำเนินการได้น้อย ได้แก่ ด้านมิติสุขภาพ ที่มีทั้งการตรวจสุขภาพต่อเนื่องกับกลุ่มเป้าหมายและเสริมกิจกรรมกับกลุ่ม 35-59 ปี  การดำเนินการ Long Term Care(LTC) และการมีร้านต้นแบบลดหวาน มัน เค็ม

ครั้งนี้จึงมีการได้พี่อนันต์ อัครสุวรรณกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง และพี่ปราพงษ์ รองปลัดอบต.บางด้วน มาช่วยเสริมแรงให้คำแนะนำในการขับเคลื่อนงานต่อ
พี่อนันต์ให้ข้อมูลว่าสำหรับด้านสุขภาพทางกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสำคัญรองรับสังคมสูงวัย เป้าหมายเพื่อให้คนมีสุขภาพดี  "ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย"
นอกเหนือจากสุขภาพดี ทำอย่างไรจะเชื่อมไปมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งการมีรายได้มีการออม มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มีคนดูแลมีสังคมดี และมีเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทุกด้าน

กระทรวงสาธารณสุขมีการคัดกรองสุขภาพอยู่แล้วทำอย่างไรเมื่อมีการคัดกรองสุขภาพแล้ว จะทำให้เกิด wellness plan  กระบวนการคืนข้อมูลจึงสำคัญ และอีกโจทย์คือการดึงคนออกมาทำกิจกรรมซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย

สำหรับงาน LTC ก็ทางพี่ปราพงษ์ให้คำแนะนำทั้งการอธิบายให้เห็นวิธีการทำงาน และบทบาทระหว่างท้องถิ่น และรพ.สต.  ชุมชน  การมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ การจัดตั้งศูนย์ฯและออกระเบียบเพื่อกลไกในการดำเนินงานต่อไป

เมื่อหลายโจทย์ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คำแนะนำชี้ช่องพร้อม

ลุ้นกันต่อ ก้าวกันต่อท่าพญาเตรียมรองรับสังคมสูงวัย


วันที่ 30 มกราคม 2566

ก้าวกันต่อบางด้วน...เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

เว้นวรรคการประชุมคณะทำงานไปพอสมควร

จันทร์ที่ผ่านมา พี่ปราพงษ์ รองปลัดอบต.บางด้วน จึงมีการประสานนัดหมายทีมคณะกรรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบลมาปรึกษาหารือ ทบทวนสถานการณ์การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ "สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย" ที่บางด้วนเป็น 1 ใน 11 พื้นที่ในจังหวัดตรัง
การขับเคลื่อนการทำงานที่ผ่านมายังมีกิจกรรมใด ยังไม่ได้ดำเนินการ

ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดใดบ้างที่ยังต้องเร่งช่วยกันทำงานในช่วงที่เหลืออีก 2 เดือน

เสียงสะท้อนจากคณะกรรมการพบว่าประเด็นการกระตุ้นด้านเศรษฐกิจการออม และการปรับสภาพแวดล้อมยังไม่เป็นไปตามเป้า และมีปัญหาอุปสรรคที่ต้องขอความช่วยเหลือ
โดยการออมพบว่าคนที่สมัครและเปิดบัญชีการออมกับ ธกส.บางส่วนมีการออมได้ไม่ต่อเนื่องทุกเดือน และการจัดเก็บการเงินสมาชิกในบางหมู่บ้านมีปัญหาการแบ่งบาทกันระหว่างท้องที่และอสม.  บางหมู่บ้านมีข้อคำถามว่าทำไมต้องมีการออม  นอกจากนี้ยังมีประเด็นค้นหาบ้านเป้าหมายเพื่อปรับสภาพแวดล้อมปลอดภัยในแต่ละหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ข้อสรุป รวมถึงประเด็นธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัยที่ต้องมีการทบทวนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่ประชุมได้ข้อสรุปในการจะจัดเวทีระดับหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้านเพื่อที่จะได้ไปย้ำทำความเข้าใจโดยทั้งเรื่องการออม การค้นหาบ้านเป้าหมายสำหรับการปรับ และให้ความเห็นต่อร่างธรรมนูญรองรับสังคมสูงวัยก่อนประชาคมตำบลต่อไป

ในฐานะที่ไปร่วมประชุม ปิ๊งแว๊ปได้เห็นโจทย์เพื่อการถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้หลังจากนี้ไหนหลากหลายประเด็น อาทิเฉพาะด้านเศรษฐกิจการออม ก็มีโจทย์การแบ่งบาทในระดับหมู่บ้าน/ตำบลอย่างไร ใครทำอะไร อสม. ท้องที่ อบต. / กรณีสำหรับคนที่ฝากไม่ต่อเนื่อง ไม่สะดวกในการออมรูปแบบตัวเงิน คณะทำงานมีวิธีคลี่คลาย มีทางเลือกการออมอย่างไรบ้าง เป็นต้น  เชื่อว่าประเด็นเหล่านี้ล้วนมีบทเรียนการทำงานทั้งสิ้น

"ซ้ำ ย้ำ เติม" ดูจะต้องเป็นคาถาในการทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

คณะทำงาน แกนนำต้องพูดซ้ำ พูดย้ำ ในเรื่องการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจในแต่ละโอกาส  และต้องคอยเติมความรู้ความเข้าใจ การเติมเต็มเชื่อมโยงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยว่าอย่างน้อยต้องครอบคลุม 4 มิติ

อ๋อ ทุกการประชุมคณะทำงานจำเป็นต้องมีบันไดผลลัพธ์โครงการจะเป็นไวนิลหรือเอกสารก็ได้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการปรึกษาหารือได้เห็นภาพรวมร่วมกัน เก็บเล็กผสมน้อยกับ "ข้อเรียนรู้"ระหว่างทาง


ภารกิจทีมหนุนเสริม

ก้าวกันต่อ

วันที่  29 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา วันอาทิตย์สุดท้ายปลายเดือนแรกของปีนี้ ทีม Node Flagship จังหวัดตรัง มีวาระนัดหมายประชุมทีมกัน  ณ ร้านบ้านควน forestta ร้านเล็ก ๆ ในป่าลึกลับ

ห้วงเวลาก็งวดขึ้นมาทุกที โดยเฉพาะระยะเวลาดำเนินโครงการของพื้นที่เหลือระยะเวลาทำงานเพียง 2 เดือน ผนวกกับเมื่อทางทีมประเมินนำโดย อ.เชษ และอ.กิ้น ได้มีการประชุมกับทาง สสส. ก็มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับทีมคือการชวนกันสะท้อนผลลัพธ์ของทีมพี่เลี้ยง

ระบบการประชุมส่วนหนึ่งพี่เลี้ยงมาแบบพบหน้าพบตาอีกส่วนหนึ่งก็ผ่านช่องทาง zoom ออนไลน์

ครั้งนี้จึงมีวาระปรึกษาหารือเพื่อชวนกันออกแบบการทำงานในช่วงโค้งสุดท้ายของพื้นที่โครงการซึ่งเหลือเวลาทำงานเพียง2เดือน  ทั้งเรื่องราวแจ้งเพื่อทราบ วาระปรึกษาหารือ รวมถึงความก้าวหน้าการขยับงานของพื้นที่ทยอยนำมาเล่าสู่กันฟังและร่วมแลกเปลี่ยน

ได้ข้อสรุปสำคัญเบื้องต้น  สำหรับการปรับกิจกรรมของพื้นที่ให้สิทธิ์พี่เลี้ยงหารือร่วมกันกับผู้รับผิดชอบโครงการกรณีมีความจำเป็นต้องปรับแผนงานกิจกรรมในช่วงสุดท้าย    และขอนัดหมายทีมพี่เลี้ยงในการประชุมร่วมกันเพื่อชวนกันสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ.66 เพื่อได้นำผลการสะท้อนผลลัพธ์ฯไปหารือเสริมแรงพื้นที่ในการทำงานในช่วงสุดท้ายก่อนปิดโครงการ

มีการ update จาก อ.ตรีชาติ ว่าสำหรับการประเมินความพึงพอใจในการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยเฉพาะโครงการวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ที่หลายวัดโดยเฉพาะกับพื้นที่ในเขตปกครองคณะสงฆ์อ.เมืองตรังที่ได้เริ่มปรับสภาพแวดล้อมไปหลายวัดแล้ว โดยจะพัฒนาเครื่องมือและสำรวจความพึงพอใจกันซึ่งทันในช่วงเดือนมีนาคม รวมทั้งข่าวดีว่าทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่จะมีการทำงาน ศูนย์ UDC ต่อในเฟส 3 ซึ่งก็พร้อมจะทำงานสนับสนุนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยเฉพาะมิติการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อไป

ก้าวกันต่อกับการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรัง

เพื่อชวนคนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

และชวนคนตรังเพิ่มพื้นที่ผลิตข้าวและชวนคนตรังกินข้าวตรัง

เชภาดร  จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว

Relate topics