หนุนเสริมพื้นที่การเกษตร ตำบลเกาะลันตาน้อยให้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร และร่วมผลักดันสู่ปฏิญญาอ่าวลันตา

  • photo  , 1000x563 pixel , 147,549 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 132,294 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 163,397 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 164,571 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 146,794 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 168,782 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 165,724 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 154,300 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 121,057 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 116,346 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 123,022 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 142,921 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 130,829 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 88,714 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 122,153 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,275 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 109,427 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 86,299 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 96,832 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 117,070 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 118,616 bytes.

สนส.ม.อ.ร่วมกับ อำเภอเกาะลันตา หนุนเสริมพื้นที่การเกษตร ตำบลเกาะลันตาน้อยให้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร และร่วมผลักดันสู่ปฏิญญาอ่าวลันตา

วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 13.00 น.  ณ ศูนย์การเรียนรู้นาตำมู่ บ้านหลังสอด ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่

นายนพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับนักวิชาการจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตัวแทนภาคเอกชน ประชาสังคม และชุมชนในพื้นที่

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรในตำบลเกาะลันตาน้อยให้เป็นครัวลันตา เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารควบคู่กับความมั่นคงด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจ และจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดปฏิญาญาอ่าวลันตา

นอกจากนี้ เวทีการประชุมยังได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านหลังสอด และตำบลเกาะลันตาน้อยให้เป็นพื้นที่ “กินดีอยู่ดี” ทั้งนี้ ผลจากการประชุมในครั้งนี้ นักวิชาการจะนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนได้นำสู่การปฏิบัติต่อไป และเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการร่วมผลักดันให้เกิดปฏิญญาอ่าวลันตา จะนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

สนับสนุนโดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.)

อำเภอเกาะลันตา

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ เอาข่าวมาบอก สื่อสร้างสรรค์ เพื่อ พัฒนาสังคม

Relate topics