"เตรียมฐานข้อมูลเด็กสงขลากับสมาคมอาสาสร้างสุข"
"เตรียมฐานข้อมูลเด็กกับสมาคมอาสาสร้างสุข"
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลาและการประชุมทางไกล
สมาคมอาสาสร้างสุข นัดหารือมูลนิธิชุมชนสงขลากับโปรแกรมเมอร์ พัฒนาข้อมูลเด็กและเยาวชนที่สมาคมอาสาสร้างสุขกับเครือข่ายจะลงเก็บ และใช้สำหรับการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.ดำเนินการผ่านแบบสอบถาม โดยเพิ่มเติมหัวข้อด้านการศึกษาในแบบฟอร์มเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มยากลำบากและเปราะบางทางสังคมในแอพฯ iMed@home โดยม.ราชภัฎฯกำลังยกร่างเพิ่มเติม โปรแกรมเมอร์แนะนำให้เพิ่มหัวข้อเพื่อความสะดวกและไม่กระทบกับการใช้งานเดิม
2.สำหรับการใช้งาน เน้นการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นจะเพิ่มการประมวลความต้องการด้านการศึกษาที่จำเป็น ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วนของ ความต้องการเรียนต่อในระบบ/นอกระบบ/ตามอัธยาศัย ความต้องการเงินทุนการศึกษา ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าบำรุงฯ(ในส่วนอุปกรณ์) อุปกรณ์การศึกษา เครื่องแต่งกาย และการมีผู้ดูแล ผู้อุปถัมภ์
โดยเชื่อมโยงกับเมนูสำรวจความต้องการในระบบเยี่ยมบ้านของแอพฯ พร้อมระบุความเร่งด่วน...ในส่วนนี้จะมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน พร้อมระบบแจ้งเตือนความต้องการใหม่ไปยังอีเมล์ทีมงาน(เขียนเพิ่ม) และระบบรายงานเฉพาะ...เพิ่มแทปหัวข้อ "้เด็กและเยาวชน" ในแอพฯ แยกออกมาเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
ให้มีรายละเอียด
1)จำนวนเด็กและเยาวชน....คน/พื้นที่(ตั้งแต่ระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล)
2)ความต้องการความช่วยเหลือ....ประเภทความต้องการ/ระดับความเร่งด่วน... คน/พื้นที่(ตั้งแต่ระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล)
3)ความช่วยเหลือที่ดำเนินการไปแล้ว....คน/พื้นที่(ตั้งแต่ระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล)
4)จำนวนเด็กและเยาวชนและภารกิจที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ....คน/พื้นที่(ตั้งแต่ระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล)/หน่วยงาน
3.การทำงานจะมีพื้นที่นำร่อง ทน.สงขลา ที่มีเด็กนอกระบบจำนวนมาก ร่วมกับเครือข่ายชุมชนเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนในพื้นที่ บูรณาการงานกับสมาคมสxส. มีวงกลางระดับผู้ปฏิบัติที่มาจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแก้ปัญหาระยะสั้น และวางระบบระยะยาว ผ่านงบกสศ.
สมาคมอาสาสร้างสุขมีแผนตั้งวงกลางระดับอำเภอ ประชุมทุกเดือน(ระดมแผนการแก้ปัญหารายคน/การรายงานผล/การติดตามผล) มีการจัดตั้งกองทุนฯและระดมทุนเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และจัดการศึกษาแบบ "ศูนย์การเรียน" เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับการประเมินวุฒิผ่านการทำงานจริง หรือฝึกอาชีพในโรงเรียนวิชาชีพ
ข้อมูลและปฎิบัติการนี้เพื่อสร้างความรู้จากการลงมือทำนำไปกระตุ้นการทำงานกับกลไกรับผิดชอบเชิงนโยบายระดับจังหวัด ได้แก่ กลไกกศจ. และจังหวัดนวตกรรมการศึกษา รวมถึงอนุกรรมการเด็กและเยาวชน(พมจ.)ต่อไป
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”