"วงสานฝันเด็กและเยาวชนสงขลา"
"วงสานฝันเด็กและเยาวชนสงขลา"
ชวน ทีมคนทำงาน สนง. พมจ.สงขลา ตั้งวงคุย แนวทางการช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และครอบครัวอย่างเป็นระบบ
สมาคมอาสาสร้างสุข ชวนเจ้าหน้าที่ สนง. พมจ.สงขลา ที่ดูแลงานเด็กและครอบครัว คนพิการ ผู้สูงอายุ และงาน CSR เข้าร่วมหารือวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อบูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา
ภาระงานหลักของ สนง.พมจ.สงขลา คือการช่วยเหลือคนยากลำบากและประชากรกลุ่มเปราะบาง โดยมีการช่วยเหลือในหลายรูปแบบ ได้แก่
-เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน
-เงินอุดหนุนค่าช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมป์
-เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด้กแรกเกิด
-เงินอุดหนุนสงเคราะห์ครอบครัว
-เงินอุดหนุนสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อการจัดสวัสดิการและพัฒนาอาชีพ
-เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก
-เงินสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
-เงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
-เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ
-เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว
-เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง
-เงินอุดหนุนสงเคราะห์คนไทยตกทุกข์ได้ยากในประเทศกลับภูมิลำเนาเดิม
-เงินอุดหนุนช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
-ข้อมูลรับเรื่องราวร้องทุกข์ 1300
-เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม กรณีฉุกเฉิน
-ข้อมูลสนับสนุนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย
จะเห็นได้ว่า สนง.พมจ. มีงบประมาณในการช่วยเหลือคนลำบาก แต่ที่ผ่านมี เป็นการตั้งรับ รอให้มีการขอความช่วยเหลือเข้ามา และดำเนินการให้ความชช่วยเหลือเฉพาะรายบุคคล สมาคมอาสาสร้างสุขจึงชวนสรร้างกลไกการทำงาน "วงสานฝันเด็กและเยาวชน" โดยใช้กลุ่มเป้าหมายเด้กและเยาวชนเป็นตัวตั้ง พัฒนาระบบ CM (Case Manager) ให้สามารถเก็บข้อมู ออกแบบความช่วยเหลือได้เอง และนำข้อมูลความช่วยเหลือเข้าวงมาหาแนวทางความช่วยเหลือในแต่ละเดือน ผ่านกลไกตำบลคุ้มครอบเด็ก ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสงขลาปันสุขระดับตำบลที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว โดยสมาคมอาสาสร้างสุขจะชวนนำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองสงขลา
สิ่งที่ต้องดำเนินการร่วมกัน
-การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของพื้นที่ โดยใช้ Application imed@home ที่เพิ่มฐานข้อมูลด้านเด็กและเยาวชน และระบบการแจ้งเตือนให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่
-การพัฒนาศักยภาพ CM ในการออกแบบความช่วยเหลือ เป้นการทำงานแบบ "ชี้เป้า เฝ้าระวัง ค้นหา กลุ่มเปราะบางในพื้นที่"
-การสื่อสารสังคม สร้างการรับรู้ การให้ข้อมูล การใช้บริการของประชาชนที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล
-การออกแบบการเขียนคำร้องที่ประชาชนสามารถเขียนได้เอง ไม่ยุ่งยาก
เส้นทางนี้อีกยาวไกล การสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชน และคนเปราะบางจึงต้องอาศัยหลายฝ่ายช่วยกัน สงขลาเดินหน้า ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ด้วยข้อมูลและกลไกการทำงานในพื้นที่
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้
Relate topics
- "จังหวะก้าวโรงเรียนรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา"
- "อบรมการใช้ iMed@home เทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล"
- "ประชุม กขป.เขต 12 ครั้งที่ 2/2566"
- สสส. หนุนพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิสู่องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ
- "กขป.เขต 12 on air ครั้งที่ 1: รองรับสังคมสูงวัย"
- ความร่วมมือในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางประชากรในพื้นที่จังหวัดสตูล
- เครือข่ายสื่อสุขภาวะเพื่อประชาชน เขต 12
- "ประชุมทีมประธานและเลขาฯ กขป.เขต 12"
- พิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี พ.ศ.2570
- กลุ่มรักจังสตูลและภาคีพัฒนา จัดเสวนาสมัชชาคนสตูล ครั้งที่ 10 “สุขสตูล 10 ประการบนแผ่นดินอุทยานธรณีโลก”