ประชุมปรึกษาหารือแนวทางจังหวัดปลอดภัยด้วยนโยบายแอลกอฮอล์ (SAFFR Province) นำร่องจังหวัดปัตตานี
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้กำกับภูธรจังหวัด หารือทิศทางแนวทาง การทำแผนบูรณาการจังหวัดปลอดภัยด้วยนโยบายแอลกอฮอล์ (SAFFR Province)
ผู้เข้าร่วม ผอ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค ผอ.สคร12 เครือข่ายสคล.ภาค ปัตตานี สงขลา สตูล ตรัง และหน่วยงานสรรพสามิต ศึกษาธิการจังหวัด กลุ่มงาน ncd จังหวัด
ผู้ว่าปัตตานีพาตีเมาะ สะดียามู ทำงานภาคประชาสังคมกับเครือข่ายผู้หญิงมาก่อน ทำเรื่องเหล้า โดยไม่พูดเรื่องเหล้า
-ปัตตานี ไม่มีโฆษณาเหล้า (เป็นเมืองอิสลาม จำหน่ายและบริโภคตามกฎหมายได้ แต่ขอความร่วมมือไม่มีโฆษณาทั้งโดยตรงและโดยแฝงเร้นผ่านตราเสมือน)
-ป้องกันเด็กและเยาวชนจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ใข้มาตรการชุมชน การขอความร่วมมือจากโรงเรียน ผู้ปกครอง การชวนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้เยาวชนหลีกหนีจากเหล้าและสิ่งเสพติด)
-สร้างความรู้ความตระหนักเรื่องกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยกเคส ร้านชำ (718) งานเลี้ยงในสถานที่ราชการ (ที่ว่าการอำเภอ)
กัลยา เอี่ยวสกุล บันทึกเรื่องราว
แนวคิดออกแบบการสื่อสารเพื่อเสนอนโยบายอย่างย่อ (policy brief)
1.พิจารณา บทบาทประเด็นสถานการณ์ปัญหา ข้อมูล บทบาทและความสนใจของผู้เสนอกับผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
ในที่นี้คือ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดปัตตานี ซึ่งมีการบริโภคต่ำสุดของประเทศ แต่ยังมีความเสี่ยงเรื่องการทำผิดกฏหมายห้ามจำหน่ายเยาวชน การโฆษณาสินค้าตราเสมือน การจัดงานเลี้ยงเหล้าในสถานที่ราชการ
2.ผู้นำเสนอ คุณกัลยา เอี่ยวสกุล เป็นภาคประชาสังคมที่โดดเด่นในการทำงานเชื่อมประสานกับกลไกภาครัฐ มีกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ "สมัชชาสร้างสุข" ที่ช่วยระดมข้อเสนอจากภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัด และมีพื้นที่รูปธรรมที่ทำงานชัดเจน
ในขณะที่ ผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย คือ คุณพาตีเมาะ สะตียามู เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมุสลิมะฮ์คนแรกของประเทศไทย ทำงานสายพัฒนาชุมชนและการช่วยเหลือส่งเสริมบทบาทสตรีมาโดยตลอด
3.นำมาสู่ประเด็นที่เลือกนำเสนอ คือ ปัญหาต่อเด็กและเยาวชน ปัญหาต่อมุสลิม และปัญหาต่อการบริหารรัฐกิจในสังคมพหุวัฒนธรรมที่วัฒนธรรมอิสลามปฏิเสธเรื่องเหล้าอย่างชัดเจน และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนต่อและนำมาสู่การออกแบบข้อความและภาพเพื่อใช้ในการสื่อสาร เช่น สีเขียว สอดคล้องกับศาสนาอิสลาม ปัตตานีมหานครแห่งสุขภาวะ คือ สมัชชาสร้างสุข สุขภาพ สุขภาวะ และดารุสสลาม ที่เอามาย้ำอีกทีกับคำว่า สันติธรรมและสันติสุข เพื่อให้ inception ว่า สุขภาวะกับสันติสุข คือ สิ่งเดียวกัน
และเลือกใช้รูปที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่นำเสนอ เช่น มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ป้ายโฆษณาสินค้าเหล้าเบียร์ในปัตตานี แม่ลูก (ฮัยฟา กับ ยู อนุญาตให้ใช้ภาพแล้ว)
ทั้งนี้ การทำเอกสารนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับย่อนี้ เป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการสื่อสารเพื่อผลักดันให้เกิดการตัดสินใจเชิงนโยบายเท่านั้น ยังมีอีกหลายเครื่องมือและวิธีการที่จะทำงานเรื่องนี้ และที่สำคัญที่สุดคือ การมีข้อมูลรูปธรรมจริง เพื่อสนับสนุนข้อเสนอเสมอ
ขอขอบคุณ ศ.ดร ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา ดร.ชะเอม พัชนี ดร.บุษบง วิเศษพลชัย นพ.นิพนธ์ ชินานนทเวช คุณกัลยา เอี่ยวสกุล คุณศทิชา รัตนเดช คุณธีร์ธรรม วุฒิวัตรชัยแก้ว คุณคอลีเยาะ ตือบิงหม๊ะ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
เจริญพงศ์ พรหมศร นักวิชาการอิสระ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”