การพัฒนาผู้นำชาวเลเกาะหลีเป๊ะร่วมพัฒนาระบบสุขภาพประชาชนกลุ่มเฉพาะ ชาติพันธุ์ (ชาวเล เกาะหลีเป๊ะ)

  • photo  , 1000x750 pixel , 214,328 bytes.
  • photo  , 600x450 pixel , 59,772 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 176,737 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 207,454 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 160,385 bytes.

การพัฒนาผู้นำชาวเลเกาะหลีเป๊ะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำนัก 9 มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบสุขภาพประชาชนกลุ่มเฉพาะ ชาติพันธุ์ (ชาวเล เกาะหลีเป๊ะ) โดย มูลนิธิชุมชนไท ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่

การลงมาเกาะหลีเป๊ะ ของทีม มูลนิธิฯ มีเป้าหมาย การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ จึงเริ่มต้นด้วยกระบวนการวิเคราะห์ ปัญหาระบบสุขภาพ ประกอบด้วย

1.สุขภาพทางกาย ได้แก่ ปัญหาโรคความดัน เบาหวาน โรคผิวหนัง โรคน้ำหนีบ และเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นต้น รวมทั้งบางคนเข้าไม่ถึงการบริการสุขภาพ

2.สุขภาพทางใจ ได้แก่การสูญเสียพื้นที่ทางจิตวิญญา พื้นที่ประกอบพิธีกรรม พื้นที่ฝังศพ ที่ถูกรุกราน ปิดทางลงทะเล พบกับความหดหู่ ความเครียด เพราะชีวิตถูกตัดตอน

3.สุขภาพทางสังคม  ที่อยู่บนความเสียงในความมั่งคงของที่อยู่อาศัย และที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับชุมชนดั้งเดิมส่งผลกระทบในเรื่องน้ำเสีย ขยะ สิ่งแวดล้อม ฝุ่น และพัฒนาสุขภาวะชุมชนชาวเลบนเกาะไม่ได้

4.สุขภาพทางปัญญา  ด้วยความห่างไกลและต้องดิ้นรนเพือความอยู่รอด ทำให้ชาวเลเข้าไม่ถึงการศึกษามาตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็เรียนได้เพียงการศึกษาภาคบังคับ เท่านั้น เพราะไม่มีโอกาส ด้วยความจน ความห่างไกล ไม่สามารถไปเรียนต่อได้ กอบกับต้องช่วยหาเลี้ยงครอบครัว ให้ก้าวข้ามความยากจน ในขณะเดียวกันการขาดความรู้เรื่องระบบราชการ กฎหมาย และนโยบาย ทำให้เกิดความกลัว เป็นเหตุให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอก ถูกโกงที่ดินจนหมดสิ้น เป็นคนไร้บ้าน ไร้ที่อยู่อาศัย และไร้ตัวตนในพื้นที่เกาะ

กระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้นำ คนรุ่นใหม่ และเยาวชน ให้เรียนรู้ปัญหา ค้นหาทางออก และการสร้างทีมขึ้นมาขับเคลื่อน จึงเป็นภาระกิจหลัก ที่ต้องใช้เวลาและทุ่มเทกระบวนการ ค่อยเป็นค่อยไป

การสร้างทีมเยาวชนขึ้นมาทำข้อมูลชุมชน เพื่อมาออกแบบกระบวนการปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประกอบกับการขับเคลื่อน ให้เกิดรูปธรรม จากเรื่องที่ทำได้ก่อน เช่น ปัญหาการส่งต่อเร่งด่วนที่มีข้อกำหนดว่า  เดือนละ 3 เที่ยว การไม่เข้าใจการป้องกันโรค การดูแลผู้ป่วย คนพิการ การลดปัจจัยเสียง การเข้าถึงระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น
การลงพื้นที่ครั้งนี้ ทำให้เกิความเข้าใจของชุมชน และเกิดทีมทำงานเบื้องต้น เพื่อสำรวจข้อมูล และการขับเคลื่อนในพื้นที่ได้

ไมตรี จงไกรจักร์  มูลนิธิชุมชนไท บันทึกเรื่องราว

Relate topics