สนทนาเพื่อร่วมพัฒนาการขับเคลื่อนงานประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร -สวนยางยั่งยืน- ธนาคารต้นไม้ - เกษตรผสมผสาน ฯ
วงสนทนากับ ลุงประยงค์ รณรงค์ ผู้ทรงภูมิปัญญาการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น/สภาผู้นำแห่งชาติ/รางวัลแมกไซไซ ฯ
โดยเฉพาะเกษตรกรรมยั่งยืน : วนเกษตร -สวนยางยั่งยืน- ธนาคารต้นไม้ - เกษตรผสมผสาน ฯ
คนใต้ต้องมีหลักประกันทางชีวิต มีอาหารและอาชีพ เกษตรยั่งยืนแท้จริง
มีรายได้รายวัน จากยางพารา และพืช-สัตว์ที่เป็นอาหารในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย = เพิ่มรายได้
รายได้รายเดือน จากปาล์มน้ำมัน
รายได้รายปี(ฤดูกาล) จากไม้ผล
แถมด้วยมีบำนาญชีวิต ด้วย ไม้เศรษฐกิจ...จำปาทอง ยาง ตะเคียนทอง พะยอม กันเกรา มะฮอกกานี ฯลฯ
และชวนตั้งวงคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทีมงานของ พี่สุมิตร ศรีสุทธ์ วิสาหกิจชุมชนธนาคารต้นไม้บ้านพรุจูด ม.1 ตำบลคลองเส อ.ถ้ำพรรณราย จ.นครศรี ฯ
ว่าด้วยสวนยางยั่งยืน และการส่งเสริมเศรษฐกิจป่าไม้ระดับชุมชน (พื้นที่นำำร่องของ สถาบันป่าไม้ยุโรป)
พร้อมดูรูปแบบการจัดการแปลงสวนยาง ทั้ง 4 รูปแบบ 1)ปลูก 3×9 ม. ยาง 59 /ไม้ 22 ต้น,รูปแบบ 2) ปลูก 4×10 ม. ยาง 40/ ไม้ 20 ต้น และแซมเสริมด้วยพันธุพืชท้องถิ่นที่เป็นอาหารและยาที่ทดลองแล้วได้ผลพอเหมาะพอดีกับพื้นที่
การดำเนินงานของ วสช. มีสมาชิกกว่า 50 ราย และที่เป็นแปลงตัวอย่าง 30 ราย มีต้นไม้ที่บันทึกข้อมูลสารสนเทศแล้ว(App) เข้าระบบเครดิตคารบอน 5,520 ต้น อายุตั้งแต่ 3 - 16 ปี หากแปลงเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 55,200,000 บาท (ต้นละ 10,000 บาท)
ความมั่นคงทางอาหาร = เกษตรกรรมยั่งยืน
วนเกษตร
สวนยางยั่งยืน
กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้ลด-หมดไป = สร้างสุขภาคใต้
ขอบคุณข้อมูลจากทีมงานสมาคมประชาสังคมชุมพร
Relate topics
- “20 องค์กรสุขภาพภาคใต้” ร่วมสานพลังขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะส่งเสริมสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน
- บพท.-กทม.-พอช. ผนึกกำลังร่วมนำร่อง 3 เขตกรุงเทพมหานคร แก้จนแบบเบ็ดเสร็จ
- ระบบข้อมูลกลางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนสงขลา
- พม. ขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายการคุ้มครองทางสังคมด้านเด็กในระดับพื้นที่ ณ จังหวัดพัทลุง
- บันทึกความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่พังงาแห่งความสุข
- "ความร่วมมือกับ พอช.ภาคใต้"
- "การพัฒนาระบบข้อมูลกลางคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง เขต 12"
- ความคืบหน้า "ความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลและภาคีเครือข่าย"
- "คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า"
- กิจกรรมถอดบทเรียนกลุ่มโครงการ MIDL for Inclusive cities 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้